กระบี่นักเรียนนายเรือ หัวช้าง ยุคปลาย ร.5-ร.6 ผลิตที่ญี่ปุ่น มีฮาม่อน
และ ฮาบากิ ถ้าเทียบขนาดเท่ากับดาบตันโตะ ถ้าใบดาบเห็นฮาม่อนจะเป็นใบดาบที่มีการตีตามลักษณะของขนบญี่ปุ่น
Navy Dirk (มีดเหน็บ)
แต่เดิมเป็นอาวุธของนักเรียนนายเรืออังกฤษ (Midshipman) ในยุคเรือใบ
ซึ่งบรรดานักเรียนนายเรือจะต้องพกมีดเหน็บติดตัวตลอดเวลา ในเวลาที่คลื่นลมแรงจนเก็บใบเรือไม่ทัน
(เสาอาจจะหักได้) จะต้องกรีดใบเรือเพื่อลดแรงลมที่มากระทำต่อผืนผ้าใบ
ซึ่งจะต้องทำได้ทันท่วงที รวมทั้งในเวลารบตะลุมบอน
มีดเหน็บก็สามารถใช้เป็นอาวุธได้อีกด้วย
จุดเริ่มต้นที่มีดเหน็บหรือกระบี่สั้น ที่นำมาใช้ในราชนาวีสยาม
โดยพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ "เสด็จเตี่ย"
ได้ทรงเดินทางไปศึกษาวิชาทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ
ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ในปี พ.ศ. 2439
ต่อจากนั้นทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทหารเรือ โรงเรียนปืนใหญ่ และโรงเรียนตอร์ปิโด
จนได้เลื่อนยศเป็นเรือเอก รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ในราชนาวีอังกฤษ 6 ปีเศษ และเสด็จกลับประเทศไทย
ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2443 จึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท
(ปัจจุบันเทียบเท่า นาวาตรี)
ทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่
"กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
และทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2449
พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ
ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ ทรงจัดเพิ่มเติมวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ
เพื่อให้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้
คือวิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ พีชคณิต อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต
จึงได้นำประเพณีการพกพามีดเหน็บของนักเรียนนายเรืออังกฤษมาใช้ที่โรงเรียนนายเรือของไทย
|