รูปถ่ายซีเปียสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต
ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหารขนาด 4*6 นิ้วไม่รวมการด์ การด์กระดาษจิตร มีเครื่องกำกับงานลึกลงไปในกระดาษมีคำว่า
F. Chit & Son
Siam
Bangkok
F ย่อมาจากคำว่า Francis
ซึ่งเป็นชื่อนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาโทลิก
ใช้เป็นชื่ออยู่หน้าชื่อผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก
Chit หมายถึง นายจิตร จิตราคนี และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอัคนีนฤมิตร
ช่างภาพหลวง
Son หมายถึง บุตรของนายจิตร ลูกชายที่ชื่อทองดี
ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนฉายาสาทิศกรเช่างภาพหลวง เมื่ออายุประมาณ ๑๗-๑๘
ปีก่อนนายจิตรจะถึงแก่กรรมสองสามปี
ใต้รูปมีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯใต้รูป
ว่ากรมวชิรญาณ ให้พระสำเริงพฤปการ ผู้ว่าราชการในคราวมาถึงเมืองอ่างทอง วันที่ ๒๓
ธันวาคม ๒๔๕๖ สัณนิษฐานได้ว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเสด็จตรวจคณะสงฆ์ที่จังหวัดอ่างทอง
คุณูปการของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ที่มีต่อพระพุทธศาสนาและการศึกษานั้นมากมาย อธิเช่น
การตัดสินเรื่องอธิกรณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยได้อย่างเที่ยงธรรม และเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส
ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้
ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง
จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า
สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง
และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง
จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง"
จนตราบเท่าทุกวันนี้
องค์การยูเนสโกและรัฐบาลไทย ร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วาระครบ100 ปี
แห่งการสิ้นพระชนม์ในพ.ศ.2564 โดยถือเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านสันติภาพ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพพระสนมเอกในรัชกาลที่
4 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปีพ.ศ. 2422
เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เมื่อพ.ศ.
2435 ขณะมีพระชนมายุ 33 ปีจึงได้ทรงมีบทบาททางการคณะสงฆ์อย่างเต็มที่
รวมไปถึงบทบาทหน้าที่บางประการเกี่ยวกับบ้านเมือง ซึ่งเพิ่มทวีคูณขึ้นเป็นลำดับจนตลอดพระชนมชีพของพระองค์
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมพุทธศักราช 2464 สิริพระชนมายุได้ 62 ปี
ทรงอยู่ในพรหมจรรย์กว่า 42ปี ทรงปกครองวัดบวรนิเวศวิหารกว่า 28 ปี กรอบการด์เดิมๆ
กระจกวุ้น เป็นผลงานการถ่ายรูปโดยท่านขุนฉายาสาทิศกร นายช่างภาพหลวง
ครบเครื่องแบบนี้หายาก
|