พระเครื่องทั้งหมด 962 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (130) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (180) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (43) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 962 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 679 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
ข้อมูลประวัติหลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม นนทบุรี

          ท่านเกิด ปี 2299 มรณภาพปี 2405 พระเถระห้าแผ่นดินเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็น พระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรม อยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควร พร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆ อีกนานาประการ วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร และลูกศิษย์ลูกหามากมาย กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้น มีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลัง บ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณ จึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399

          ในด้านวัตถุมงคลทั้งหมดจัดสร้างโดยหลวงพ่อสมภพ วัดสาลีโข ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ โดยการประทับร่างทรงหลวงปู่เผือกปลุกเสก(เหมือนพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้) โดยเหรียญรุ่นแรกปลุกเสกอยู่ 3 ปี และนำออกแจก ปี 2510 (ปัจจุบันราคาหลักหมื่นกว่าๆ) เหรียญนี้สร้างประสบการณ์มากมายทั้ง มหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เป็นเหรียญดังของจังหวัดนนทบุรี

          โดยหลวงพ่อสมภพเล่าว่า คาถานี้ใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆมาโดยตลอด และพิธีก็เหมือนกันไปแต่ละรุ่น ยันต์จะคล้ายๆกันไป และท่านก็บอกว่า ” วัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกดีทุกรุ่นเก็บไว้เถอะ ”

          หลวงปู่เผือก วัดสาลีโข จังหวัดนนทบุรี และวัตถุ มงคลต่างๆ หลวงปู่เผือก (พระครูธรรมโกศล) วัดสาลีโขภิตาราม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นชาวเมืองพระนครศรีอยุธยา มิได้ปรากฏหลักฐานว่าบิดามารดาของท่านมีชื่อเสียง เรียงนามว่ากระไร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลไหน ทราบแต่ว่า ตอนที่ หลวงปู่เกิดท่านเป็นเด็กผิวขาวจัดจนผิดปกติกว่าเด็กทั่วไป บิดามารดาจึงตั้งชื่อตามนิมิตว่า "เผือก"เพื่อให้ตรงกับผิวพรรณของท่าน 

          พออายุ ๑๓ ขวบ เด็กชายเผือก ได้บรรพชาเป็น สามเณร ณ วัดใกล้บ้าน เริ่มศึกษา อักขรสมัยในสำนักวัดนั้นจนแตกฉานพอสมควร ก็สนใจศึกษาคาถา เวทมนตร์ต่างๆ ต่อมาได้เข้ามาศึกษาในสำนักวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อ ที่สุดในยุคนั้น ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใกล้ๆ บ้านเกิด ได้ศึกษาอักขระสมัยและเวทมนต์คาถา ตามประเพณีนิยมจนแตกฉาน จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อที่ วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นสำนักพุทธาคมและไสยศาสตร์อันขึ้นชื่อของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสำนักวัดป่าแก้วนี้ก็เป็นที่พำนักของสมเด็จพระพนรัต ผู้เป็นพระอาจารย์ใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสำนักนี้เป็นสำนักที่รวบรวมสรรพวิชาทางพทธาคมและไสยศาสตร์เอาไว้มากมายหลายแขนงวิชาแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าตำราเหล่านี้ได้มีการพลัดกระจายไปหลายแห่งเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310

          มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงปู่เผือกเป็นพระเถระผู้มักน้อย นิยมสันโดษ และยินดีเจริญสมณธรรมอยู่ในเสนาสนะอันสงบ สงัดตามป่าเขา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยได้บรรลุผลตามสมควรพร้อมทั้งเป็นผู้คงแก่เรียนในพุทธศาสตร์วิทยาคมชั้นสูง รอบรู้ตำรับพิชัยสงคราม และศาสตร์อื่นๆอีกนานาประการ ชอบออกปฏิบัติธุดงควัตรเป็นนิจมิได้ขาด 

          เมื่อมีอายุครบ 20 ปี หลวงปู่เผือกก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดป่าแก้ว นั้นเองและได้ศึกษาทั้งวิปัสสนากรรมฐานกับวิทยาคมมาโดยตลอดเมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็จะออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเป็นประจำทุกปี แม้วัยของหลวงปู่เผือกตอนนั้นจะยังหนุ่มๆอยู่แต่ก็มีความศักด์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแล้วเหมือนกันต่อมาเมื่อครั้งที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาและก่อนที่กรุงจะแตกนั้น ได้เกิดอาเพศขึ้นหลายอย่างอันเป็นลางบอกเหตุร้ายของแผ่นดิน โดยเฉพาะที่วัดป่าแก้วได้ปรากฏมีอีกาตัวหนึ่งบินมาปะทะยอดนพศูลพระเจดีย์องค์ใหญ่ภายในวัด แล้วถูกเหล็กแหลมบนยอดนพศูลเสียบตายอยู่บนยอดนั้นหลวงปู่เผือกเห็นเป็นนิมิตร้ายจึงซักชวนลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่นับถือศรัทธาอพยพหนีภัยข้าศึกลงมาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นได้มีลูกศิษย์และชาวบ้านอพยพมากับหลวงปู่เผือกหลายสิบครอบครัว ระหว่างทางก็ยังมีชาวบ้านร่วมอพยพสมทบอีกก็หลายครอบครัว เนื่องจากชาวบ้านร่วมเดินทางมาเป็นจำนวนมาก และต้องคอยหลบหลีกกองทัพพม่าระหว่างทางด้วยหลวงปู่เผือกจึงได้สร้างเครื่องรางของขลังตลอดจนลงอักขระบนผิดหนังให้แก่ชาวบ้านเหล่านั้น เพื่อเป็นสิ่งบำรุงขวัญกำลังใจและคุ้มครอบป้องกันอันตรายและได้ปลุกเสกใบไม้ให้นำไปติดหรือเหน็บไว้ตามเกวียนและข้าวของต่างๆ ในขบวนอพยพ เพื่อเป็นเครื่องกำบังตาจากทหารพม่า ระหว่างทางหากว่าชาวบ้านในขบวนอพยพเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย หลวงปู่เผือกก็จะเสกน้ำมนต์ให้ดื่มและใช้คาถาอาคมรักษา

          ขบวนอพยพที่มีหลวงปู่เผือก ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระอาจารย์หนุ่มเป็นผู้นำได้เดินทางโดยยึดเอาฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักระหว่างทางได้สวนกับกองทัพพม่าเป็นบางครั้ง แต่ทหารพม่ากลับมองเห็นขบวนอพยพเป็นดงไม้ขนาดใหญ่จึงไม่สนใจ ขบวนอพยพจึงเดินทางลงใต้มาเรื่อยๆ จนถึงทุ่งสามโคก เมืองปทุมธานี ก็พอดีมีขบวนชาวบ้านที่อพยพมาที่หลังได้ตามมาทันที่นี้พอดี และบอกว่าตอนนี้กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่ทหารพม่าแล้ว หลวงปู่เผือก จึงเร่งขบวนอพยพให้รีบเดินทางลงใต้ โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองธนบุรี แต่พอมาถึงบริเวณ บางพลับ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในปัจจุบัน ก็ได้พบชาวบ้านจากเมืองธนบุรีอพยพสวนทางขึ้นมา แล้วแจ้งข่าวว่าเมืองธนบุรีก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วและจะพากันขึ้นไปพึ่งกรุงศรีอยุธยาหลวงปู่เผือกจึงบอกว่ากรุงศรีอยุธยาก็ถูกทหารพม่าตีแตกแล้วเหมือนกันขบวนชาวบ้านที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาและจากเมืองธนบุรีจึงต้องชะงักอยู่ที่ตรงนั้นซึ่งนับแล้วก็มีเป็นพันๆ คน บังเอิญหลวงปู่เผือก นึกขึ้นมาได้ว่าที่ตรงแนวโค้งเบื้องหน้าแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับเกาะเกร็ด มีทุ่งนาข้าวสาลีขึ้นเต็ม เจ้าของที่นาเป็นผู้หญิงสองคนพีน้องชื่อ บุญมี กับ บุญมา ได้เคยถวายที่ตรงนี้แก่หลวงปู่เผือกเมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาที่ตรงนี้และครั้งนั้นหลวงปู่เผือกก็ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์ได้พำนักและจำพรรษาที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นด้วย

          เมื่อนึกขึ้นได้หลวงปู่เผือกก็นำชาวบ้านในขบวนอพยพเหล่านั้นมาพักหลบซ่อนตัวจากทหารพม่าที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นและได้ประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยและบวงสรวงเทพยดาที่สำนักสงฆ์ เพื่อขอความเป็นสิริมงคล และปราศจากภัยอันตรายต่างๆทั้งปวงหลวงปู่เผือกและชาวบ้านจึงพำนักที่ทุ่งข้าวสาลีนั้นมาตลอดระหว่างที่บ้านเมืองยังอยู่ในสภาวการณ์ของสงคราม ต่อมาเมื่อ สมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของบ้านเมืองแล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ขึ้นครอบราชย์ และปราบชุมนุมต่างๆ จนราบคาบจนบ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ปกติสุขหลวงปู่เผือกจึงให้สร้างวัดขึ้นที่ทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นขึ้น และตั้งชื่อวัดว่า วัดสาลีโขโดยถือเอาสถานที่ตั้งของวัดเป็นนิมิตหมายมงคลซึ่งหมายถึง วัดที่มีข้าวสาลีขึ้นเต็มท้องทุ่งส่วนชาวบ้านที่อพยพมาหลบภัยกับหลวงปู่เผือกนับเป็นพันๆ คนนั้น เมื่อเห็นว่าบ้านเมืองกลับเข้าสู่ปกติดีแล้ว ต่างก็พากันกราบลาหลวงปู่เผือกกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม
แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณทุ่งข้าวสาลีแห่งนั้นต่อไป 

          ครั้งเมื่อเข้าสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ กิตติศัพท์ของหลวงปู่เผือกก็เป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นมีชาวบ้านมาผากตัวเป็นลูกศิษย์กันมาก ส่วนมากก็จะมาขอเครื่องรางของขลังบ้างก็มาขอให้หลวงปู่เผือกลงกระหม่อม หรือสักยันต์บนลำตัวให้ ส่วนกิจการทางพระศาสนาหลวงปู่เผือกก็ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทราบในเกียรติคุณจึงทรงพระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงปู่เผือกเป็น พรครูธรรมโกศล ในปี 2399 และมอบตราประจำตัวหลวงปู่เผือก คือตราสัญจกร ตำแหน่งของหลวงปู่เผือก ทำหน้าที่เป็น สังฆปาโมกข์ คือเป็นพระครูหัวหน้าสงฆ์ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่เผือกมีอายุเกือบๆ จะหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่ร่างกายของท่านยังแข็งแรงและคล่องแคล่วดีอยู่


ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมอบหมายให้หลวงปู่เผือกเป็น สังฆปาโมกข์สระบุรีและเป็นแม่งานคุมงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีเป็นประจำทุกปี
พร้อมก็ได้ทรงถวายเรือหลวงและฝีพายพร้อมสำหรับหลวงปู่เผือกออกตรวจการคณะสงฆ์ในแต่ละครั้งหลวงปู่เผือกได้ปฏิบัติสาสนกิจอย่างขันแข็งมาโดยตลอดเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านกันกว้างขวางหลายหัวเมือง จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยโรคชราขณะมีอายุได้ 106 ปี
แม้ว่าหลวงปู่เผือกจะได้มรณภาพไปนานร้อยกว่าปีแล้วแต่บารมีความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังคงปกป้อมคุ้มกรองลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่ศรัทธามาจนตราบเท่าทุกวันนี้ 

          วัดสาลีโขในยุคแรกที่หลวงปู่เผือกปกครองวัด เป็นยุคที่เจริญที่สุด มีพระภิกษุสามเณร
และลูกศิษย์ลูกหามากมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง สนพระทัยในวัดสาลีโขมากถึงกับทรงปรารภกับหลวงปู่ว่าอยากจะเปลี่ยนนาม ของวัดนี้เสียใหม่ให้มีความหมายในทางธรรมให้ตรงกับปฏิปทาของท่าน พระครูธรรมโกศลที่สุด โดยรักษาเสียงของนามเดิมไว้ ถึงกับทรงมีพระราชดำริ ให้ใช้ชื่อว่า "วัดสัลเลโข"ทหมายถึงวัดที่ปฏิบัติเพื่อการ "ขัดเกลา" หรือ "กล่อมเกลากิเลสทั้งปวง" แต่ได้ทราบว่าหลวงปู่ท่านกราบทูลแย้งว่า "ของเก่าเขาดีแล้ว" เรื่องนี้ก็จึง เป็นอันพับไปคงใช้เป็นชื่อวัดสาลีโขสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ 

          สำหรับ เหรียญหลวงปู่เผือก ที่ปรากฏ ภาพให้ศึกษานั้น เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่จัดสร้างขึ้นโดย หลวงพ่อสมภพเตชปุญโญ พระลูกวัดสาลีโข ด้วยประสบการณ์ อันมากมาย ทำให้เหรียญนี้โด่งดังมาก นักสะสมเหรียญรุ่นเก่าๆจะรู้จักกันดี และเช่าหากันในราคาแพง หลวงพ่อสาลีโข ชื่อแท้ท่านคือ หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญอดีตพระลูกวัดสาลีโขภิตาราม ที่ถูกหลวงปู่เผือกในสภาวะวิญญาณ ซึ่งทรงอานุภาพดวงหนึ่ง เปลี่ยนชะตาชีวิต หน้ามือเป็นหลังมือในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ ของปี พ.ศ.2502 ขณะที่ ท่านบวชได้เพียงพรรษาเดียว 

          ดวงวิญญาณที่ไร้รูปแต่เต็มปรี่ด้วยทิพยอำนาจอันยากหยั่งถึงได้พร่ำสอนถ่ายทอดความรู้นานาให้พระสมภพโดยไม่รู้เหน็ดเหนื่อย นับแต่เรื่องเล็กน้อย เช่นคาถาอาคมจนถึงเรื่องใจ คือ สมาธิ และยังบรรจุพระเวทย์สารพัดประดามีให้พระสมภพหมดสิ้นกระทั่งพาพระหนุ่มผู้อ่อนโลกออกธุดงค์ในป่าลึกเพื่อฝึกฝนจิตตานุภาพ เพื่อทบทวนวิชาที่ให้ไป และเพื่อทดสอบอำนาจจิตอภิญญาของพระสมภพ ก้อเก่งกล้าสามารถผ่านทุกขั้นตอน จากไปหลายปี กลับมาอีกทีก็มิใช่พระสมภพองค์เดิม หากเป็นพระอาจารย์สมภพที่เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่ง “คุรุ”ทางไสยเวทย์ความแตกฉาน และอภินิหารของพระอาจารย์สมภพ เป็นสิ่งที่ผู้ไปพบจะทราบดีหาคนเก่งอย่างนี้ได้ยากนัก ราวปี พ.ศ.2515 หนังสือพิมพ์ “บางกอกไทม” ลงข่าวหน้าหนึ่งครึกโครมว่า สตรีนางหนึ่งนาม น.ส. แป๋ว มีอาการเจ็บป่วยอย่างหนักหาสาเหตุไม่ได้ครั้นญาติมั่นใจว่าเห็นทีจะถูกคุณไสยเข้า ก็หอบหิ้วกันมาพบพระอาจารย์ ท่านเริ่มรักษาตามกระบวนการที่หลวงปู่เผือกสั่งสอนมา ผู้ป่วยก็เกิดขยอกขย้อนจะอาเจียน เมื่อนำกระโถนใบใหญ่วางลงตรงหน้า น.ส.แป๋ว ก็อาเจียนโอ้กใหญ่ กลิ่นคาวปนเน่าคละคลุ้งในภาชนะนั้นไม่เพียงมีของเหลวสีคล้ำช้ำเลือดช้ำหนอง หากปรากฎซากงูเน่า
จนเห็นกระดูกโพลนทั้งตัวนอนอยู่ก้นกระโถนอย่างน่าตกตะลึง ท่านพระอาจารย์อธิบายว่า มีบางคนประสงค์ให้ น.ส.แป๋ว ตายอย่างทรมานจึงใช้เดรัจฉานวิชาชั้นสูงปล่อยงูเป็นๆ เข้าท้อง หากแก้ไม่ตกย่อมถึงตาย นี่งูก็เน่าจวนหมดตัวแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ในท้องอีกไม่นาน น.ส.แป๋ว ไม่รอดสมใจฝ่ายตรงข้ามแน่นอน ข่าวนี้เป็นดุจเชื้ออย่างดีที่โหมศรัทธามหาชนให้ลุกโชน คนนับพันนับหมื่นหลั่งไหลไปวัดสาลีโข เพื่อพึ่งใบบุญแห่งหลวงปู่เผือกและพระอาจารย์สมภพผู้เป็นตัวแทน ทุกคนได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์อย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ และทุกคนร่ำร้องหาความสงเคราะห์จากหลวงปู่เผือก ดวงวิญญาณอมตะของท่านก็ยังแผ่บารมีครอบคลุมทั่วถึงอย่างไม่เลือกรักเลือกชังบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ไปหาหลวงพ่อสมภพ บางคนไม่รู้จักชื่อของหลวงพ่อ เห็นว่าอยู่วัดสาลีโข ก็เลยเรียกท่านว่า หลวงพ่อวัดสาลีโข หรือ หลวงพ่อสาลีโข หลวงพ่อสมภพ ได้เล่าถึงความเป็นมาของเหรียญหลวงปู่เผือก รุ่นแรกนี้ว่า สร้างขึ้นมาจากนิมิตที่ได้พบเห็นในสมาธิ โดยการประทับรางทรงหลวงปู่เผือกปลุกเสก (เหมือนกับ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ผู้สร้างพระหลวงพ่อทวด) ซึ่งคาถาและอักขระเลขยันต์ต่างๆ หลวงพ่อสมภพ เตชปุญโญมีแต่นั่งสมาธิทางจิตรเท่านั้น ที่สามารถติดต่อกับหลวงปู่เผือกได้ บอกวิธีการลงอักขระเลขยันต์ หลวงปู่เผือกนั่งบนหลังสิงห์ด้านหน้าและด้านหลังลงบนเหรียญ รุ่นแรก ในปี 2507 คาถานี้ก็ใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ต่อมาโดยตลอด และพิธีก็เหมือนกันไปแล้วแต่รุ่น ยันต์คล้ายๆ กันท่านบอกว่าวัตถุมงคลของ ลป.เผือก ดีทุกรุ่น เก็บไว้เถอะ (ท่านก็เล่าความตั้งใจในรุ่นแรกต่อ) 

          ท่านไม่ต้องการให้เหมือนกับเหรียญหลวงพ่อต่างๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป จึงได้ลงอักขระเลขยันต์จนเต็มพื้นที่ของเหรียญ ซึ่งท่านกำหนด ให้มีขนาดใหญ่เท่ากับกล่องไม้ขีดไฟสมัยนั้น
และไม่มีตัวอักษรไทยเลย 

          ปีที่สร้างเหรียญนี้คือ พ.ศ. 2507 ปลุกเสกนาน 3 ปีเต็ม จำนวนสร้าง เนื้อทองคำมากกว่า 3 เหรียญจำนวนนี้ยังไม่ขอยืนยัน เนื้อเงิน 108 เหรียญ เนื้อทองแดงชุบทอง 2,510 เหรียญ (เท่ากับปี พ.ศ.) โดยนำไปปลุกเสกที่ถ้ำแก่งละว้า จ.กาญจนบุรี เป็นการปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ได้แจกแก่ศิษยานุศิษย์ ไปจำนวนหนึ่ง ในปี 2510
ส่วนที่เหลือได้ประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้งที่วัดสาลีโข เมื่อวันเสาร์ห้า ปี 2512 และปลุกเสกต่ออีก 3เดือน หลวงพ่อบอกว่า ได้ลงทุนลงแรง และตั้งใจมากกับการสร้าง เหรียญหลวงปู่เผือก รุ่นนี้เมื่อทราบว่าลูกศิษย์นำไปใช้ได้ผลดี ในทุกด้านก็รู้สึกดีใจ ในอดีต ชุมชนย่านวัดสาลีโขขึ้นชื่อว่าเป็นดงนักเลง ถึงกับมีคำพูดกันติดปากว่า "หนังไม่เหนียวห้ามเที่ยวสาลีโข"
ซึ่งทุกวันนี้หากเซียนพระพูดถึงวัตถุมงคล วัดสาลีโข ก็จะนึกถึงประโยคนี้ด้วย 

          วัตถุมงคลวัดสาลีโข มีหลายรุ่น แต่มีเหรียญที่พิเศษและแปลกกว่าเหรียญทั่วๆ ไป คือ เหรียญปั๊มใหญ่รูปสี่เหลี่ยม มีการเขียนอักขระเลขยันต์ไว้จำนวนมาก ในขณะที่การสร้างเหรียญทั่วๆไปจะมีการเขียนยันต์หลักๆ ไม่กี่ตัว เช่น ยันต์ นะ โม พุท ธา ยะ ยันต์ มะ อะ อุ ยันต์ อุ อา กา สะ ยันต์อิ กะ วิ ติ และ ยันต์ สัม มา อะ ระ หัง เป็นต้น จากการอ่านเรียงแถวของยันต์ที่ปรากฏบนเหรียญหลวงปู่เผือก พอคาดคะเนว่า"น่าจะเป็นยันต์เฉพาะของหลวงปู่เผือก" อย่างไรก็ตาม เมื่อนำยันต์บนเหรียญไปเปรียบเทียบกับพระคาถาคงกระพัน ซึ่งคุณประจวบ สาเกตุ ได้รวบรวมและ เรียบเรียงไว้ในหนังสือ "อภินิหารหลวงปู่เผือก" พร้อมกับบอกคำอธิบายไว้ว่า "บริกรรมคาถานี้เมื่อจะเข้าสู้ด้วยศัตรูหมู่พาล" ผลของการภาวนา "อยู่คงแล" คาถาที่ว่า คือ 

"นะ อิ เพชรคง อะระหัง สุคะโต ภะคะวา 

โม ติ พุทธะสัง อะระหัง สุคะโต ภะคะวา 

พุท ปิ อิสวาสุ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา 

ธา โส มะอะอุ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา 

ยะ ภะ อุอะมะ อะระหัง สุคะโต ภะคะวา" 

เหรียญหลวงเผือก ขี่สิงห์ รุ่นแรก ยันต์บนเหรียญ มีดังนี้

บรรยายภาพด้านหลัง 

๑.ยันต์นะโมพุทธายะ หรือเรียกว่า พระเจ้าห้าพระองค์ ซึ่งเป็นแม่ธาตุใหญ่ใช้ได้สารพัด 

๒.ยันต์เฑาะว์ การเขียนในอักษรธซ้ายขวาในลักษณะนี้เรียกว่า เฑาะว์ล้อม 

๓.ยันต์นะทรหด 

๔.ยันต์อุ ซึ่งหมายถึง อุณาโลม 

๕.ยันต์ตะบอก 

๖.ยันต์หะวะรัง ซึ่งมีคำภาวนาเต็มๆ ว่า หะวะรัง หะวะรัง รักกัน สรณัง คัจฉามิ 

๗.ยันต์พุทล้อม 

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด