ดาบหลูบเงินเกลี้ยง สกุลช่างกำแพง-พิษณุโลก ยุคต้นรัตนโกสินทร์ เดิมๆ
ไม่ผ่านการบูรณะใดๆ เป็นดาบที่แสดงถึงผู้ที่ถือมียศถาบรรดาศักดิ์ที่สูง อายุดาบเล่มนี้
150 ปีขึ้น ลักษณะของดาบเป็นดาบปลายว้าย หัวโหนก คอกลม ตีทบชั้น หลูบเงินที่ฝักแบบไม่เต็ม(มีทั้งเต็มฝักและไม่เต็ม)
โชว์เนื้อไม้แห้งแกร่งมันเงาบ่งบอกถึงอายุไม้ขึ้น 100 ปี มูลเหตุเป็นที่เข้าใจตรงกันในหมู่นักนิยมสะสมศาสตราวุธโบราณ
ลักษณะศิลปะของดาบและหลูบเงินแบบนี้ โดยยึดถือเป็นแบบแผนมากจากพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร
เป็นดาบหลูบคำ(ทองคำ) เป็นองค์ปฐม ตามประวัติของพระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร
เป็นพระแสงดาบที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระราชทานแก่ พระยากำแพงนุช เมื่อไปรบชนะเมืองปัตตานี และพระราชทานตำแหน่งให้เป็นที่
พระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ กินเมืองกำแพงเพชร
พร้อมทั้งพระราชทานแขกปัตตานีเชลย มาไว้ที่เกาะแขก จำนวน 100 ครอบครัว
ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบขนาดสัดส่วนและความแตกต่างระหว่าง พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร
และ ดาบหลูบเงินเล่มนี้ขนาดใกล้เคียงกันมากเพื่อเป็นแนวทางในการการศึกษา
พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร - ดาบหลูบเงินนี้
-ความยาว 88.5 ซม. - 90 ซม.
-ด้ามยาว 39.5 ซม. - 38 ซม.
-ฝักยาว 49.0 ซม. - 52 ซม.
-ใบยาว 45.5 ซม. - 46 ซม.
-ใบดาบกว้าง 2.5 ซม. -2.5 ซม.
-คอกลม -คอกลม
-หลูบคำทั้งเล่มที่แบบเต็มฝัก-หลูบเงินทั้งเล่มแบบไม่เต็มฝัก
สุดท้ายเป็นข้อสันนิษฐานไม่มีใครเกิดทันประเมินจากศิลปะของดาบและความเก่าที่เทียบเคียงกัน หายากมากส่วนใหญ่อยู่ในมือนักสะสม
|