พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อสมชาม วัดเขาสุกิม
้ข้อมูลประวัติ พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) วัดเขาสุกิม จันทบุรี   

          พระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระบุพาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนา แต่ละท่าน ได้ดำเนินเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติ รักษาขัอวัตรปฏิปทา เผยแผ่ศาสนาธรรม อย่างเอาการเอางาน สร้างคุณูปการ แก่พระพุทธศาสนา ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นที่เคารพศรัทธา ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

           ในบรรดาพระคณาจารย์กรรมฐาน ท่านต่าง ๆ นี้ ได้มีพระเถราจารย์ศิษย์ สายท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ อีกรูปหนึ่ง ที่มีปฏิปทาบารมีธรรมไพศาล จรรโลงศาสนธรรม ศาสนบุคล ศาสนสถาน อภิบาลศีลธรรมคุณความดี ปรากฏเด่นเป็นเอกแห่งภาคตะวันออกของไทยคือ
           พระเดชพระคุณ พระวิสุทธิญาณเถระ ( พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ) ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
           พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2468 ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ดโยมบิดาชื่อ บุญ มติยาภักดิ์ โยมมารดาของท่านเป็นบุตรีของ คุณหลวงเสนา ผู้นำศาสนาพราหมณ์ในท้องถิ่นนั้น
           ชิวิตปฐมวัย ท่านต้องกำพร้าแม่ แต่วัยเยาว์ และมาเสียคุณตาผู้เป็นหลักในกาลต่อมาอีก ท่านจึงต้องไปอาศัย อยู่dกับญาติ ที่มีศักดิ์เป็นพี่ชาย แต่ต่อมาพี่สะใภ้ก็ถึงแก่กรรม ท่านก็ต้องรับภาระ เลี้ยงหลาน 4-5 คนตั้งแต่ท่านเองอายุได้เพียง 14 ปีเศษ แต่ด้วยความขยัน อดทนเป็นเลิศ คุณความดี และบุญบารมี ที่สั่งสมมา แต่ปางก่อน ทำให้ท่านผ่านวิกฤติ แห่งชีวิตมาได้ และด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในบวรพระพุทธศาสนา ที่บังเกิดในดวงจิตดวงใจ ท่านอย่างล้นพ้น เมื่อท่านอายุได้ 19 ปี ได้เข้ามอบกาย ถวายตัว เป็นนาค กับท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม วัดป่าศรีไพรวัลย์ เมืองร้อยเอ็ด และต่อมาได้บรรพชา เป็นสามเณรเมื่อวันที่ มิถุนายน พ.ศ.2487 ณ อุโบสถวัดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์
         ในระหว่างที่เป็นสามเณร ที่วัดศรีไพรวัลย์ ท่านได้ทราบกิตติศัพท์ว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นพระอรหันต์ ผู้หมดจดจากกิเลส จึงทำให้สามเณรสมชาย ในครั้งนั้น มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ใคร่ที่จะได้เห็นได้กราบไหว้ ได้ศึกษาธรรมจากพระอรหันต์ ในสมัยปัจจุบัน
         เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้กราบลาพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม เจ้าอาวาส ออกมุ่งหน้า สู่สำนักหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
         ตามปกติผู้ที่จะเข้าไปสู่สำนักของหลวงปู่มั่น จะต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิตใจ และฝึกวินัย ข้อวัตรให้ชัดเจน เสียก่อน โดยจะมีสำนักศิษย์ของท่านเป็นหน้าด่าน ก่อนจะผ่านเข้าไป ซึ่งสามเณรสมชาย ในครั้งนั้น ก็ได้รับเมตตาอบรม จากครูอาจารย์กรรมฐาน อาทิ ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน วัดป่าบ้านโคกมะนาว เป็นต้น
         เมื่อได้รับการฝึกปฏิบัติ จนได้ที่แล้ว สามเณรสมชาย และคณะได้เดินทางไปยัง สำนักป่า บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร สถานพำนักของท่าน พระบุพาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
         สัมผัสแรก เมื่อเข้าไปถึง สำนักป่า บ้านหนองผือนาใน คือความสงบเย็น แห่งสัปปายะ สถานอันร่มรื่น แช่มชื่น ด้วยธรรมชาติ โน้มจิตใจ ให้สงบเป็นสมาธิ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และที่ประทับ ในดวงใจ ไม่มีวันลืมคือ ได้รับเมตตาจากพระเดชพระคุณ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ให้การปฏิสันถาร ต้อนรับ ยังความปลาบปลื้ม ปิติอันถือเป็นปฐมฤกษ์ แห่งอุดมมงคล ในชีวิตสมณะ และได้กราบมอบกาย ถวายชีวิต เป็นลูกศิษย์ด้วยเศียรเกล้า
        ในระหว่างที่ท่านพำนัก ที่สำนักป่า บ้านหนองผือนาใน เพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ อยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ นั้น ท่านได้ใช้ความเพียรพยายาม เป็นอย่างยิ่ง ต่อการปฏิบัติสมาธิจิต รักษาข้อวัตร โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก อุปัฏฐากครูอาจารย์ด้วยดี
        เมื่อสามเณรสมชาย ในครั้งนั้น มีอายุครบ 21 ปีสมควรที่จะ ทำการญัตติจตุตถกรรม เป็นพระภิกษุ ในบวรพุทธศาสนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ มีเมตตาให้ ท่านเจ้าคุณ พระธรรมเจดีย์ ( จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่บุญมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "ฐิตวิริโย"
        เมื่ออุปสมบทแล้ว พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ได้พำนักจำพรรษา ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ สกลนคร ซึ่งมีท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น
         เมื่อออกพรรษา ได้ธุดงคจาริก ไปที่ภูวัว จังหวัดหนองคาย สถานบำเพ็ญ ที่ช่วยหล่อหลอม คุณธรรม และกำลังใจ แก่ท่านเป็นอันมาก
         ถึงฤดูกาลพรรษา ปี 2492 ท่านมาพำนักที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นสถานที่ พ่อแม่ครูอาจารย์ สร้างไว้ และเคยมาพำนัก
          พอออกพรรษา ก็รีบไปไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ และอยู่ฟังธรรมะ จากท่าน เป็นเวลาพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้กราบลา ออกหาสถานที่บำเพ็ญภาวนาต่อไป ท่านจะปฏิบัติเช่นนี้ เสมอมา แต่การไปภาวนาตามสถานที่ต่าง ๆ ก็ไปตามคำแนะนำของครูอาจารย์ เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็กลับมาหาครูอาจารย์ ผู้ปฏิบัติท่านถือกันมาก เรื่องเคารพครูอาจารย์
          ด้วยความเป็นอนิจจังแห่งสังขารา เมื่อพระเดชพระคุณท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ มรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492 ซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย อายุพรรษาได้ 4 พรรษา ก็มีความเศร้าโศกเสียใจเช่นเดียวกับศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ที่ต้องสูญเสียร่มโพธิ์ร่มธรรม
          หลังจากถวายเพลิงสรีระพระอาจารย์ใหญ่แล้ว พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ได้ไปพำนักศึกษาธรรม ปฏิบัติตามสำนักครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ อาทิ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ตลอดจนสำนักครูอาจารย์ที่สำคัญอีกหลายสำนัก ท่านเป็นผู้มีความเพียร ในการเจริญธุดงคกรรมฐาน และเอาการเอางาน เป็นธุระให้ครูอาจารย์ ในงานที่ท่านใช้ ด้วยใจเอิบอิ่ม ยามครูอาจารย์ป่วยไข้ ท่านก็รับใช้อุปัฏฐาก เป็นผู้เด็ดเดี่ยว วีรอาจหาญ ในธรรมและความถูกต้อง ด้วยศีลด้วยธรรม แต่มีความสงบนุ่มนวล ในปฏิปทา กริยาน่าเลื่อมใส ท่านจึงเป็นที่รักเมตตาของครูอาจารย์ เป็นที่เคารพ ศรัทธา ของศิษย์ เพิ่มพูนไพศาล ตลอดมา
          นอกจากออกจาริกธุดงค์ ในแดนดิน ถิ่นอีสานแล้ว ท่านยังข้ามโขง ไปเจริญกรรมฐาน ที่ฝั่งประเทศลาว และเมื่อปี 2499 ได้จำพรรษาที่วัดจอมไตร นครเวียงจันทร์ ท่านได้ปลูกศรัทธา สร้างศาสนประโยชน์ไว้ เป็นจนที่เลื่อมใส ของชาวลาว เมื่อออกพรรษา ก็ธุดงคไป ตามป่าเขา แม้กระทั่งภูเขาควาย ที่สูงสุดในประเทศลาว และกลับมาจำพรรษา ที่วัดจอมไตร และเดินทางกลับประเทศไทย ครั้งสมัยฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ปี 2500 พอดี
          ในช่วงนั้น ท่านได้จาริก เพื่อบำเพ็ญ ความเพียร และศึกษาธรรม กับครูอาจารย์ต่าง ๆ ตามกาลโอกาส อาทิปี 2501 ได้จำพรรษกับหลวงปู่ โง่น โสรโย ที่เขาไทรสายัญห์ อำเภอปากช่อง โคราช และได้จาริก ไปทางภาคตะวันตก แถบปรานบุรี จนถึงเมืองมะทวาย ประเทศพม่า บำเพ็ญธรรม ในแดนกระเหรี่ยง นำพระไตรสรณคม ไปสู่จิตใจชาวป่า ชาวเขา ได้ผลพอสมควร
          ปี พ.ศ.2504 พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรจำนวน 10 รูป ได้จาริก มายังจังหวัดจันทบุรี มุ่งมาที่วัดเขาน้อยสามผาน อำเภอท่าใหม่ ด้วยทราบว่า เป็นสำนักปฏิบัติ ที่มีชื่อเสียง แต่เนื่องจากสถานที่ มีจำกัดและหมู่คณะ ที่ติดตามมากไม่อยากแยกกัน แต่ด้วยธรรมะ จัดสรรค์และบุญบันดาล ให้สาธุชน มานิมนต์ท่าน และคณะ ไปจำพรรษาที่วัดเนินดินแดง
          ท่านได้จำพรรษาที่วัดเนินดินแดง และนำศรัทธาพัฒนาวัดนี้เป็นแห่งแรกในจันทบุรี
          ลุ ปี พ.ศ.2507 พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย รับอาราธนานิมนต์ ไปเจริญพระพุทธมนต์ ที่ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ชาวบ้านได้กราบนมัสการ ท่านและคณะพระภิกษุสามเณร ให้ขึ้นมาพัก บำเพ็ญที่เขาสุกิม เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่ เหมาะแก่การบำเพ็ญ สมณธรรม เมื่อท่านพิจารณาแล้ว เห็นสมควร จึงมาพำนักแสวงธรรม ณ เขาสุกิม โดยเริ่มแรก ก็ใช้วิธีปักกรดอยู่ ตามโคนไม้ เมื่อใกล้เข้าพรรษาสร้างกุฏิชั่วคราวแลเสนาสนะที่จำเป็น
          ด้วยปฏิปทาและบารมีธรรม ของพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย หรือที่เรียกนิยมกันว่า หลวงพ่อสมชาย ท่านพ่อสมชาย ก็สุดแล้วแต่ ได้มีสาธุชนเลื่อมใสศรัทธา เข้ามาปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ในพระศาสนา เพิ่มมากขึ้น ทุกคนปรารถนา ที่จะให้มีการสร้างวัด อย่างถาวร ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
         ปี พ.ศ.2509 เป็นปฐมกาละ แห่งการสร้างวัดเขาสุกิม โดยมีพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ประธานสงฆ์เป็นผู้นำศรัทธา
          ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ได้ขึ้นมาพำนักบนเขาสุกิมแห่งนี้ ท่านเป็นผู้บุกเบิก เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้สร้างสรรค์ สัปปายะสถานแห่งนี้ ให้เป็นวัด ที่สง่างาม ในพระพุทธศาสนา เป็นสถานปฏิบัติ ของผู้สนใจ ใฝ่ธรรมเจริญกรรมฐาน เป็นทัศนสถาน สำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เป็นศรีสง่า แห่งจังหวัดจันทบุรี ดินแดนที่งดงามงาม ด้วยทิวทัศน์ น้ำตกพริ้ว ธรรมชาติวิไลตา แหลมสิงห์ ทะเลไทย แห่งภาคตะวันออก สวนผลไม้ นานาพันธุ์ ชั้นเลิศ ของถิ่นไทย และอัญมณีเอก แห่งสยาม ที่ส่องประกายไปทั่วสากล และเมื่อกล่าวถึงจันทบุรี ครั้งคราใด ก็ต้องรำลึกนึกถึง วัดในพระพุทธศาสนา นามว่า วัดเขาสุกิม และบารมีธรรม อันอุดม ของพระเดชพระคุณ พระวิสุทธิญาณเถร พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย หรือ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย สมณะผู้องอาจสง่างามด้วยธรรมรังสี
          วัดเขาสุกิม สำเร็จด้วยบารมีธรรมของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ด้วยพลังศรัทธา ของบรรดาสานุศิษย์ บนเนื้อที่ 3,280 ไร่ มีสิ่งก่อสร้าง เป็นถาวรวัตถุ 100 กว่าหลัง อาทิ อุโบสถจตุมุข 2 ชั้น ขนาดกว้าง 42 เมตร ยาว 42 เมตร
          ตึกธรรมวิจัย โดยในชั้นที่ 3 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม แสดงโบราณวัตถุ พระพุทธปฏิมา และวัตถุอันเป็นมงคลหลายยุคหลายสมัยที่มีผู้ศรัทธา นำมาถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ตึก 60ปี เฉลิมพระเกียรติ ชั้นที่ 4 ได้จัดสร้างเป็นอาคารทรงไทย 5 หลังแต่ละหลังจัดแสดงสาระสำคัญดังเช่น
          พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งพระเถราจารย์สายกรรมฐาน ที่จัดสร้างอย่างประณีตเพื่อสาธุชนได้กราบไหว้บูชา ทัศนธรรมศึกษาคุณความดีของพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
          นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องลายครามของเมืองจีน เครื่องหยก เครื่องมุก สิ่งเหล่านี้ ได้มีผู้มีจิตศรัทธา ผู้เลื่อมใส ในบารมีธรรม ของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้นำมาถวายไว้ เป็นสมบัติ ในพระพุทธศาสนา เป็นสมบัติของชาติไทยสืบไป โครงการที่หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย กำลังดำเนินอยู่ ขณะนี้คือ การก่อสร้าง เจดีย์บูรพา ฐิตวิริยาประชาสามัคคี อันจักเป็นมหาเจดีย์เอก แห่งหนึ่งของโลก ที่มีความสง่างาม รังสรรค์ อย่างวิจิตร ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมา จากประเทศศรีลังกา อย่างเป็นทางการ และเป็นมหาบุญกุศล แห่งการสืบสานจรรโลงอย่างยิ่ง
           การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกาครั้งนี้ ทางศรีลังกา ได้อัญเชิญมาทางเครื่องบิน และอัญเชิญ ไปยังวัดเขาสุกิม ตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และมีพิธีสมโภช พระบรมสารีริกธาตุในมงคลวโรกาสนี้

           เจดีย์บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี จักสำเร็จในไม่ช้านี้ ด้วยบุญบารมี ของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย และความสามัคคีร่วมใจ ของชาวไทย ผู้เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
           พระเดชพระคุณพระวิสุทธิญาณเถร หรือหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นเนื้อนาบุญ ของพระพุทธศาสนา เป็นปูชนียาจารย์ ผู้เสียสละ เพื่อประโยชน์สุข ส่วนรวม เป็นสมณะ ผู้มุ่งสู่มรรคผลนิพพาน อุดมด้วยธรรมทานอย่างสิ้นสงสัย
           หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มรณภาพเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2548  เวลา 10.45 น.  ณ  โรงพยาบาลวิชัยยุทธิ์
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด