พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อสุ่น วัดปากน้ำแหลมสิงห์
หลวงพ่อสุ่น วัดปากน้ำแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อสุ่น ธมฺมสุวณฺโณ วัดปากน้ำแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

พระครูผู้มิให้ผู้ใดดูหมิ่นแผ่นดินสยาม
พระครูผู้เข้มขลังพุทธาคมแห่งทะเลบูรพา 
พระครูผู้หาญกล้าปราบทหารฝรั่งเศส

ท่านพ่อสุ่น นามเดิมว่า สุ่น นามสกุล เวชภิรมณ์ 
เกิดที่ ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 
เกิด ณ วันพฤหัสบดี เดือน เมษายน พ.ศ. 2393 
บิดาชื่อ บุตร มารดาชื่อ ปลิว มีน้องชาย1 คน ชื่อ อุ่น น้องสาว 1 คน ชื่อ อ่ำ

ท่านพ่อสุ่น เมื่อเยาว์วัยท่านมีใจบุญกุศลยิ่งนัก พูดได้ว่าเกิดมาท่านไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ว่าได้ เพื่อนเด็กรุ่นเดียวกันชวนท่านไปยิงนกบ้าง ตกปลาบ้าง ท่านพ่อท่านก็จะไม่ไปด้วยและยังบอกสั่งสอนอีกว่ามันเป็นบาปกรรม ท่านพ่อท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอักขระในสำนักวัดบางสระเก้ากับอาจารย์ และพออายุครบอุปสมบท บรรดาญาติจึงจัดการบรรพชาอุปสมบทให้ในวัดนั้น พระเทียน วัดกลาง ตำบลพลิ้ว เป็นอุปัชฌาย์ ท่านพ่อสุ่นเมื่อบวชเป็นภิกษุแล้ว ท่านได้ศึกษาวิชาอาคมกับขรัวตาจัน เจ้าอาวาสวัดบางสระเก้าในสมัยนั้น ขรัวตาจันผู้นี้เป็นผู้เรืองวิชายิ่งนัก เล่าสืบทอดกันมาว่าสมัยก่อนการคมนาคมต้องไปทางเรือ ขรัวตาจันท่านมีธุระโดยใช้เรือไป และระหว่างทางเรือท่านโดนโจรสลัดปล้น โจรสลัดใช้ปืนยิงเรือท่าน ยิงทีแรกลูกปืนก็ตกเกือบถึงเรือท่าน ยิงครั้งที่ 2 กลิ้งตกใกล้กระบอกปืนเข้ามา ส่วนเรือท่านก็ยังวิ่งเข้าหาเรือโจรสลัดนั้น พวกโจรยิ่งยิง กระสุนปืนก็ยิ่งตกใกล้กระบอกปืนมากเข้า จนในที่สุดก็ตกอยู่หน้ากระบอกปืนเป็นที่มหัศจรรย์นัก ขรัวตาจันองค์ท่านมีวิชาอาคมของท่านรอบตัว และท่านโปรดท่านพ่อสุ่น ยิ่งนัก จึงได้ถ่ายทอดวิชาอาคมให้จนหมด และโยมบุตรบิดาท่านพ่อสุ่น ก็เก่งทางวิชาอาคมยิ่งนักได้ถ่ายทอดให้ท่านจนหมดเช่นกัน

ท่านพ่อสุ่น เมื่อบวชได้ 5 พรรษา ทางวัดปากน้ำแหลมสิงห์ เจ้าอาวาสก็ว่างลง ชาวบ้านปากน้ำแหลมสิงห์ สมัยนั้นจึงพร้อมใจกันไปนิมนต์ท่านมาจากวัดบางสระเก้า ให้ท่านมารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแหลมสิงห์ แล้วท่านก็ปกครองวัดเรื่อยมา และบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเสนาสนะทำนุบำรุงวัดเป็นการใหญ่ สั่งสอนภิกษุสามเณรให้ประพฤติดีงามตามพระธรรมวินัย และมิได้มีแต่เพียงวัดปากน้ำแหลมสิงห์ เท่านั้น วัดท่าหัวแหวนท่านยังรับเป็นธุระช่วยบูรณะปฎิสังขรณ์และก่อสร้างขึ้นอีกหลายอย่าง อุโบสถ วิหารการเปรียญซึ่งปรากฏอยู่ วัดท่าหัวแหวนทุกวันนี้เกิดขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงของท่านเสียโดยมาก ลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิดเล่าว่า ท่านพ่อสุ่น ท่านเป็นพระที่มีวิชาอาคมเข้มขลังมาแต่หนุ่มๆแล้ว

ท่านพ่อเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอแหลมสิงห์และอำเภอใกล้เคียงตลอดจนชาวจันทบุรี ในสมัยนั้นมาก และท่านเป็นผู้เคร่งในพระธรรมวินัยยิ่งนัก ตี 4 ท่านลุกขึ้นครองผ้าสวดมนต์ไหว้พระทุกวัน กวาดลานวัดเป็นกิจประจำวันไม่ว่าในพรรษาหรือออกพรรษา ท่านสนใจและรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างดี ปกติท่านเป็นพระที่ใจดีและคุยสนุกเมตตาอารีผู้อื่นอยู่เสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยสมัยนั้นทุกคน

ท่านพ่อเมื่อมาถึงช่วงนี้ ท่านก็ได้รับหนังสือแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดสมัยนั้น คือท่านเจ้าเอ๋ง วัดเขาพลอยแหวน จันทบุรี แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอ) แต่ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งนี้ ท่านจึงชวนลูกศิษย์ท่านลงเรือใบใหญ่ของวัดหนีไป เพราะวัดของท่านมีเรือลำใหญ่และเล็กหลายลำ โดยท่านกะว่าจะไปบางกะสร้อย (บางปลาสร้อย) จังหวัดชลบุรี (ท่านผู้อ่านครับช่วงนี้เรื่องของท่านจะเริ่มใช้วิชาอาคมของท่านเป็นที่เปิดเผยแล้ว และได้ค้นคว้าประวัติท่านมาร่วม 6 - 7 ปี สืบเสาะค้นคว้าจดจำบันทึกพยานหลักฐานต่างๆ จากคนเฒ่าคนแก่ จากลูกศิษย์ท่านเป็นสำคัญ รวมทั้งบันทึกที่ทางวัดปากน้ำแหลมสิงห์ มี และของทางวัดบางสระเก้า วัดเก่าของท่านรวมกันแล้วจึงนำมาเรียบเรียงเขียนขึ้น ลูกศิษย์ที่เป็นเจ้าอาวาสมี 3 องค์ และเป็นวัดที่อยู่ในตำบลและอำเภอเดียวกัน คือ

1. พระครูประจักษ์ยติคุณ (ท่านพ่อหุน) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าหัวแหวน 
2. พระครูจันทศิลคุณ (ท่านพ่ออวน) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะเปริด 
3. พระครูประศาสน์สิทธิการ (ท่านพ่อเฮ้า) อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแหลมสิงห์

ท่านพ่อสุ่น เมื่อท่านลงเรือหนีไปบางกะสร้อย(บางปลาสร้อย) จังหวัดชลบุรี นั้น อายุท่านอยู่ในราวๆ 35-37 ปี โดยประมาณ ลูกศิษย์ที่ไปกับท่านมี 3 คน และเมื่อกลับมาพวกลูกศิษย์ท่านจึงได้มาเล่าเรื่องสืบขานกันมาทุกวัน ดังนี้

ท่านพ่อกับลูกศิษย์เมื่อเดินทางกันไป เสบียงในเรือก็หมดลง และสตางค์ที่จะซื้อเสบียงอาหารก็จะหมดเช่นกัน (ท่านผู้อ่านหลับตาวาดภาพก็คงจะนึกออกว่าเมืองจันทบุรี กับเมืองชลบุรี นั้น สมัยนั้นไกลกันมิใช่น้อย และเรือที่ท่านใช้ก็เป็นเรือใบ เรือใบนั้นถ้าลมไม่ดีเปลี่ยนทิศทางก็ไปไม่ได้ต้องหยุดพักทอดสมอรอจนลมมาดีจึงจะกางใบเรือเดินทางได้ ดังนั้นการเดินทางจึงต้องใช้เวลานานหลายวัน) เพราะเป็นการมากระทันหันไม่ได้เตรียมอะไรมาก่อน ลูกศิษย์ทั้ง 3 คน จึงปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรดี หนึ่งใน 3 คนนั้นจึงออกหัวคิดว่า เมื่อเรือแวะพักฝั่งแล้วก็จะพากันขึ้นไปบนฝั่งหาแทงโปกัน เพื่อจะได้เงินมาเป็นทุนซื้อเสบียงอาหารลงเรือเดินทางกันต่อไป อีกคนก็ค้านว่า ถ้าไปแทงโปแล้วไม่ถูกเงินหมดจะทำอย่างไรกันดี คนที่ออกหัวคิดก็ว่า มึงอยู่เป็นลูกศิษย์ท่านมาตั้งนานมึงไม่รู้ว่าท่านพ่อมีอาคมสามารถปิดโปได้ ถ้าเราไปขออนุญาตจากท่านว่าจะขึ้นฝั่งไปแทงโปกัน ท่านพ่อท่านก็ไม่ยอมให้ไป พวกลูกศิษย์ทั้ง 3 คน ก็พากันรบเร้าอ้อนวอนท่านว่าเงินจะหมดแล้ว ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็จะเดินทางไปไม่ถึงบางกะสร้อยแน่ๆ ท่านพ่อท่านก็พูดว่า " เออ : ไอ้ฉิบชิ ! มึงไปแทงได้แต่อย่าให้เกิน 3 ที "

พวกลูกศิษย์เมื่อท่านพ่ออนุญาต แล้วก็ดีใจยิ่งนักพากันขึ้นไปหาแทงโปกัน ก็แทงถูกหมดทั้ง 3 ที จึงพากันหาซื้อเสบียงลงเรือเดินทางกันต่อไปอีก เดินทางมาใกล้เกาะเสม็ด - ช่องแสมสาร เสบียงก็หมดลงอีกก็ปรึกษากันเหมือนว่า จะขึ้นฝั่งไปแทงโปกันอีก พากันไปพูดขออนุญาตจากท่าน ท่านพ่อท่านก็ไม่ยินยอมให้ไปท่านก็ด่าว่า "ไอ้ฉิบชิ !" พวกนี้จะทำให้กูผิดศีล มันผิดมึงรู้ไหม แต่อย่างว่าพวกลูกศิษย์หายอมไม่พากันพูดเซ้าซี้อ้อนวอนท่านต่างๆนานา หนักๆเข้าด้วยความรำคาญท่านก็ว่า " เออ : ไอ้ฉิบชิ ! มึงไปแทงอย่าให้เกิน 3 ที " พวกลูกศิษย์ก็พากันขึ้นฝั่งไปแทงโปกัน แทง 3 ที ถูกหมดทั้ง 3 ที จึงพากันหาซื้อข้าวสารอาหารแห้งลงเรือเดินทางลงเรือกันต่อไป

เมื่อเรือใบแล่นมาถึงเกาะเสม็ด-ช่องแสมสาร เรือของท่านก็โดนโจรสลัดปล้น พวกโจรพากันเอาเรือเข้าเทียบเรือท่าน พวกลูกศิษย์ก็จะพากันสู้คว้ามีดคว้าขวาน และทุกคนถือว่าตัวเองหนังดีด้วยกันทุกคน ท่านพ่อท่านก็ว่า "ไอ้ฉิบชิ" พวกมึงอยู่เฉยๆ กูจะดูซิว่าพวกมันจะทำอย่างไรกัน พวกโจรก็พากันลงเรือค้นหาเงินจากลูกศิษย์ท่านได้ 12 บาท โจรพวกนั้นเมื่อได้เงินแล้วก็พากันดีใจ พากันกลับลงเรือของตน ท่านพ่อท่านก็พูดว่า "ไอ้ฉิบชิ" มึงเอาแม้กระทั่งเงินพระเงินเจ้าแต่กูว่ามึงเอาไปไม่ได้หรอก หัวหน้าโจรก็หัวเราะแล้วว่า ทำไมจะเอาไม่ได้เมื่อเวลานี้เงินอยู่ที่ผมและพวกผมก็กำลังจะไป พอพูดเสร็จก็สั่งลูกน้องให้หันหัวเรือออก แต่พอเรือโจรออกไปได้สักหน่อย ท่านพ่อท่านก็หยิบหมากแห้งในย่ามยิงโจรด้วยคันกระสุน (ท่านพ่อท่านมีคันกระสุนประจำตัวอยู่ 1 คัน) เป็นที่น่าอัศจรรย์กระสุนหมากแห้งแท้ๆ แต่โดนโจรมันดังยิ่งกว่ากระสุนดินเหนียว เสียงดัง ปุ้ ปุ้ ท่านยิงทีเดียวเหมือนยิงเป็นสิบลูก ยิงจนโจรต้องหันหัวเรือเอาเงิน 12 บาทมาคืนท่าน เมื่อลงเรือได้ก็ก้มลงกราบท่านด้วยความหวาดกลัว เพราะในชีวิตการเป็นโจรมา เพิ่งจะมาเจอดีและเจ็บที่สุดก็วันนี้เอง ตามเนื้อตามตัวช้ำผื่นแดงไปหมด

ท่านพ่อเมื่อเห็นโจรสลัดสิ้นฤทธิ์แล้ว ท่านก็พูดสั่งสอนให้เลิกเป็นโจรสลัดอย่าได้ปล้นเรือเขาอีก โจรพวกนั้นก็รับคำพากันลาท่านกลับลงเรือไป ส่วนท่านพ่อท่านก็เดินทางมาจนถึงบางกะสร้อย เมืองชล (บางกะสร้อยสมัยนั้นเปรียบเหมือนจังหวัด) และนำเรือไปจอดที่สะพานศาลเจ้า เพราะสะพานศาลเจ้าเป็น สะพานที่จอดเรือเมลย์สมัยนั้นของเรือบาง กะสร้อยคือ เรือโชคชัย, เรือไชโย ซึ่งเป็นเรือของนายอากร จิ้นหลี และเรือล่งหลี ของเจ๊กกุ้ย และอีกอย่างท่านก็คงนึกไม่ออกว่าจะไปไหนดี เพราะมาถึงใหม่ๆ

พวกลูกศิษย์ท่านเมื่อเรือจอดสะพานศาลเจ้าแล้วต่างก็พากันกระหยิ่มยิ้มย่อง พากันไปขออนุญาตจากท่านว่าจะขึ้นฝั่งไปหาแทงโป ท่านพ่อเมื่อลูกศิษย์มาขออนุญาตท่านก็ยอมให้ไป เพราะเงินและเสบียงก็ยังอยู่ พวกลูกศิษย์ก็พากันพูดอ้อนวอนท่านว่า เพราะความได้ใจที่แทงโปมาตามทาง 2 ครั้งๆละ 3 ทีไม่เคยผิดเลย ท่านพ่อท่านก็คงจะทนรบเร้าของพวกลูกศิษย์ท่านไม่ไหว ท่านจึงพูดว่า "เออ : ไอ้ฉิบชิ พวกมึงไปแทงกันครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแต่อย่าให้เกิน 3 ที " พวกลูกศิษย์ท่านก็พากันขึ้นฝั่งไปแทงโปกัน ก็ถูกหมดทั้ง 3 ที จึงพากันกลับลงเรือ แต่หารู้ไม่ว่าพวกเจ้ามือโปและคนแทงได้พากันสะกดรอยตามมา (เพราะกิตติศัพท์ของพวกลูกศิษย์ท่านคงจะดังเรื่อยมาระหว่างทางว่ามีคนแปลกหน้ามากัน 3 คน มาแทงโป 3 ที ถูกหมด 3 ที แล้วพากันกลับอะไรทำนองนั้น พอลูกศิษย์ท่านพ่อลงเรือ พวกเจ้ามือก็พากันเฮโลตามลงเรือ และเมื่อเห็นท่านพ่อนั่งอยู่ในเรือ ต่างคนต่างก็ห้อมล้อมท่านจะพากันขอของดีจากท่าน ท่านพ่อท่านจึงสั่งให้ลูกศิษย์ออกเรือหนี แต่ก็ถูกพวกที่สะกดรอยมาดึงเรือไว้ไม่ให้ไปยื้อยุดฉุดกันเป็นที่อลหม่านยิ่งนัก ส่วนบนที่สะพานชาวบ้านละแวกนั้น เมื่อรู้ข่าวก็พากันมาที่สะพานเบียดเสียดกันจนแน่นสะพานไปหมด ต่างคนต่างก็จะลงเรือที่ท่านพ่อนั่งอยู่ จนถึงขนาดว่าเจ้าเมืองสมัยนั้นคือ "พระยาภิรมย์อุดมราชภักดี" และธรรมการจังหวัดสมัยนั้นคือ ขุนภิรามจรรยา รู้ข่าวว่าประชาชนพากันไปมุงห้อมล้อมพระองค์หนึ่งที่สะพานศาลเจ้า เจ้าเมืองและธรรมการจังหวัดพร้อมด้วยผู้ติดตามจึงรีบพากันมาที่สะพานนั้น เจ้าเมืองเมื่อไปถึงจึงรีบลงไปที่เรือที่ท่านพ่อนั่งอยู่ พอไต่ถามรู้เรื่องราวความเป็นมา เจ้าเมืองจึงนิมนต์ท่านไปฉันอาหารที่บ้าน และเจ้าเมืองจึงนิมนต์ท่านพ่อให้ไปอยู่ที่วัดต้นสน ที่บางกะสร้อยนั่นเอง เพราะวัดต้นสนสมัยนั้นอยู่หลังออฟฟิตไปรษณีย์ ติดกับโรงเรียน ชลราษฎรอำรุง เรียกว่าพอนำเรือแล่นเข้าคลองบางกะสร้อยสมัยนั้นเรือก็สามารถจอดอยู่หน้าออฟฟิตไปรษณีย์ได้ ด้วยเหตุนี้เองท่านพ่อสุ่นท่านจึงอยู่วัดต้นสน เมืองชล ตั้งแต่นั้นมา และที่วัดนี้เองต่อมาท่านได้บวชพระองค์หนึ่ง ชื่อพระภู ท่านอยู่จนพระภูเป็นพระปลัดภู (ราวๆ 5 - 6 ปี) ท่านก็กลับแหลมสิงห์ วันที่ท่านจะกลับนั้นพระปลัดภูจะไม่ยอมให้กลับร่ำอาลัยในตัวท่านยิ่งนัก แต่นิสัยท่านพ่อท่านเป็นคนจริงลงว่าท่านจะกลับ ท่านก็ต้องกลับของท่านให้ได้ พระปลัดภูเมื่อเห็นว่าหน่วงเหนี่ยวท่านไว้ไม่ได้แน่แล้วก็สั่งท่านและลูกศิษย์ว่า วันใดที่ท่านพ่อสุ่น มรณะภาพลงให้คนมาส่งข่าวมาถึงท่านเร็วที่สุด ท่านจะไปจัดการแต่งศพให้เป็นการทดแทนพระคุณ และท่านมีศิลป์ในการแต่งศพสวยงามมาก

และภายหลังท่านพ่อมรณะภาพลงพระปลัดภูก็มาจัดการแต่งศพให้ท่านอย่างสวยงาม ท่านพ่อสุ่นท่านเกี่ยวกับทางเมืองชลมาก ลูกศิษย์ท่านเล่าว่าสมัยที่ท่านอยู่วัดต้นสน ในละแวกวัดต้นสนมีวัดอยู่ห่างกันไม่มากหลายวัด คือ วัดเนิน วัดต้นสน วัดใหม่ วัดใหญ่ วัดกลาง วัดสมถะ วัดเคลือวัลย์ วัดนอก วัดกำแพง ลูกศิษย์ท่านเล่าว่าท่านพ่อสุ่นท่านมีเจ้าอาวาสที่เป็นเพื่อนกัน และเพื่อนรุ่นน้องมากมายและลูกศิษย์ลูกหาที่เรียนกับท่านก็มีมาก แต่จำชื่อไม่ได้ จำได้แต่ หลวงพ่อภู วัดต้นสนได้แม่นยำเพราะเป็นวัดที่ไปอยู่ ส่วนวัดอื่นๆที่เอ่ยมามีที่รู้จักกับท่านแน่ๆก็มีหลวงพ่อภู่วัดนอก หลวงพ่อเจียมวัดกำแพง เพราะมาหาท่านที่วัดต้นสนและวัดอื่นเป็นวัดที่ท่านไปเที่ยว 3 - 4 วัน แล้วก็กลับมาวัดต้นสน ท่านพ่อท่านกลับมาแหลมสิงห์ ท่านคง 
จะนึกถึงบ้านเกิดของท่าน และอีกอย่าง ท่านก็มา 5 - 6 ปีแล้ว ป่านนี้ทางเจ้าคณะจังหวัดคงจะแต่งตั้งคนอื่นแทนท่านไปแล้ว ท่านพ่อเมื่อมาถึงวัดปากน้ำแหลมสิงห์ ก็มีขรัวเตยเป็นเจ้าอาวาส

ท่านพ่อท่านจึงไปอยู่วัดท่าหัวแหวนกับท่านพ่อช่อ ซึ่งเป็นเพื่อนของท่าน และต่อมาเมื่อท่านพ่อช่อมรณะภาพ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ให้ท่านพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาสแทน ท่านก็จะไม่ยอมรับ เกี่ยงให้เอาพระองค์อื่นแทนท่าน แต่ชาวบ้านไม่ยินยอมท่านจึงจำใจต้องยอมรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหัวแหวนตั้งแต่นั้นมา (หมายเหตุ วัดปากน้ำแหลมสิงห์กับวัดท่าหัวแหวนเป็นวัดอยู่ใน ตำบลเดียวกันห่างกันประมาณ 1 กม.) ท่านพ่อท่านชอบนกเขามาก เช้าๆ พวกลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะต้องเอานกเขาพ่นน้ำและตากแดด ซึ่งธรรมดาเรื่องชีวิตท่านก็น่าจะยุติลง แต่ก็ดูเหมือนท่านเกิดมาเพื่อกำหราบทหารฝรั่งเศสจริงๆ กำหราบทหารฝรั่งเศสให้รู้ว่า คนหัวโล้นๆห่มผ้าสีเหลืองๆนั้น และที่ชาวไทยเรียกว่า "พระ" นั้นจะมาลบหลู่ข่มเหงรังแกกันไม่ได้ เพราะเป็นผู้สามารถทำในสิ่งที่คนธรรมดาทำไม่ได้ จึงให้มีเหตุดังนี้คือ ทางวัดปากน้ำแหลมสิงห์ เมื่อขรัวเตย เจ้าอาวาสได้ลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาส และได้ขรัวแบกมาเป็น เจ้าอาวาสแทน ขรัวแบกอยู่เป็นเจ้าอาวาส 2 พรรษา ก็สึกออกมาอีกชาวบ้านปากน้ำ ซึ่งคอยโอกาสจะให้ท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสอยู่แล้วก็พากันร้องเรียนไปทางนายอำเภอสมัยนั้นคือ หลวงสถิตย์สิงหเขต ให้ไปนิมนต์ท่านพ่อสุ่น มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแหลมสิงห์ อีก หลวงสถิตย์สิงหเขต ก็ไปนิมนต์ท่านๆก็จะไม่ยอมมา แต่เมื่อพูดและยกเอาชาวบ้านมาอ้างว่าทุกคนขาดที่พึ่งแล้ว ถ้าไม่ได้ท่านพ่อไปทุกคนจะไม่ยอม ท่านพ่อเมื่อได้ฟังดังนั้น ท่านจึงมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำฯตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นับเป็นการกลับมาครองตำแหน่งครั้งที่ 2 ของท่านและเป็นการกลับมากำหราบทหารฝรั่งเศส อย่างแท้จริง (ท่านพ่อสุ่น ตอนที่ท่านกลับมาจากบางกะสร้อยเมืองชล และไปเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหัวแหวน ฝรั่งเศส จะเข้ามายึดแหลมสิงห์ก่อนแล้ว เพราะพยานหลักฐานคือฝรั่งเศส ยึดแหลมสิงห์ราว พ.ศ. 2436 อายุท่านก็คง 43 ปี เพราะท่านเกิด พ.ศ. 2393 ฝรั่งเสยึดแหลมสิงห์ราว 11 ปี จึงถอนกำลังกลับไป ตอนฝรั่งเศสกลับไปประมาณ พ.ศ.2447 อายุของท่านคงประมาณ 53 ปี

ท่านพ่อสุ่น เมื่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำแหลมสิงห์ ชาวบ้านปากน้ำแหลมสิงห์ ได้ร่มโพธิ์ร่มไทรไว้อาศัย เพราะด้านวิชาอาคมของท่านจะเยี่ยมยอดแล้ว ทางด้านหมอแผนโบราณท่านก็เก่งยิ่งนัก ชาวบ้านคนไหนป่วยเป็น โรคร้ายๆ รักษาไม่ หายพอมารักษากับท่านๆก็จะรักษาให้หายกลับไปแทบทุกราย มีหญิงคนหนึ่ง (ปัจจุบันมีชีวิตอยู่) สมัยที่ท่านอยู่ได้เกิดคลุ้มคลั่งขนาดแก้ผ้าวิ่งเพราะถูกกระทำทางไสยศาสตร์ ญาติพี่น้องต้องพากันจับตัวนุ่งผ้ามาให้ท่านรักษา ท่านก็รดน้ำมนต์เป่าหัวให้ไม่กี่วันก็หาย และหายขาดมาถึงปัจจุบัน และหญิงอีกคนหนึ่งป่วยเป็นโรคร้ายรักษาหมอมาหมดที่ว่าดีๆ ก็ไม่หายหมดเงินหมดทองเป็นจำนวนมาก พอมารักษากับท่านๆก็ให้ยาหม้อมาต้มกินและรดน้ำมนต์ของท่านไม่นานก็หาย หญิงคนนั้นเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ จึงนำเงินมาถวายท่านนับร้อยบาท เพราะเป็นคนมีเงิน (เงินนับร้อยสมัยนั้นมีค่ามากแค่ไหนท่านผู้อ่านก็คงรู้) แต่ท่านไม่ยอมรับ หญิงคนนั้นก็ขยั้นขยอให้ท่านรับไว้ ท่านก็บอกว่าท่านรับไว้ไม่ได้

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด