พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อแก้ว วัดละหารไร่
หลวงพ่อแก้ว วัดละหารไร่ จ.ระยอง

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่แก้ว เกสาโร วัดละหารไร่ จ.ระยอง

มีนามเดิมว่า เชียงคำ เกิดในสกุล คำมี ที่บ้านชนบท ต.ท่าฆ้อ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีวอก ท่านเคยบวชเณรเมื่ออายุได้ 15 ปีและเที่ยวหาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเพื่อศึกษาเล่าเรียน วิชาที่ท่านเรียนนั้นเน้นหนักไปทางคงกระพันชาตรีและมหาอุด ด้วยถูกจริตนิสัยของท่านที่ค่อนไปทางนักเลงมาแต่เด็ก ต่อมาก็ลาสิกขาไปเมื่ออายุได้ 22 ปี

ช่วงชีวิตที่พลิกผันก็มาถึง เมื่อท่านเข้าพวกกับพรานป่าออกล่าสัตว์อยู่นานปีจนพลัดเข้าไปอยู่กับหมู่โจรโดยที่ท่านไม่ทราบมาก่อน ในที่สุดท่านก็จำยอมต้องเข้าพวกร่วมปล้นโดยมีเสือฉิ่งเป็นหัวหน้าและตัวท่านเป็นรอง

อาคมที่ท่านศึกษาเล่าเรียนมาได้ปรากฏชัดจนลือชื่อในระยะนี้เอง เพราะวันหนึ่งเสือฉิ่งคุมพวกเข้าปล้นบ้านนายบุญเพื่อเอาม้าเลี้ยงไปขาย หลวงปู่แก้วในขณะนั้นจึงโดดขึ้นหลังม้าเพื่อควบหนีไป ทว่านายบุญเจ้าของบ้านยกปืนส่องเข้ากลางหลังอย่างจังถึงกับตกจากหลังม้า

ผู้อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหลายไม่ว่าโจรว่าเจ้าของบ้านต่างมั่นใจว่าท่านตายแล้วแน่ ๆ ทันทีนั้นท่านก็ลุกพรวดพราดกระโดดขึ้นหลังม้าควบไปท่ามกลางความตกตะลึงของหมู่โจรและเจ้าบ้าน

ครั้นพวกเสือฉิ่งหนีกลับรังมาได้ก็ขอดูบาดแผลท่านเป็นการใหญ่ สิ่งที่เห็นเป็นแค่เพียงรอยช้ำเป็นจ้ำเป็นจุดเท่านั้น ลูกปืนยาวหาได้ระคายผิวท่านไม่

แต่นั้นมาลูกน้องทั้งหลายก็ขอให้ท่านเป็นผู้สักยันต์ให้ และคนเหล่านั้นได้กลายเป็นเสือติดปีกที่ปล้นฆ่าจนสร้างความหวาดกลัวให้ชาวบ้านเป็นอันมาก การปราบปรามของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ยังไม่สามารถทำอะไรโจรห้าร้อยพวกนี้ได้เลย

ท่านตั้งใจสักให้ลูกน้องเพื่อหวังคุ้มภัย แต่คนเหล่านั้นกลับไปเที่ยวก่อภัย ท่านเกิดความสลดสังเวชใจจึงเลิกสักให้ใครมานับแต่นั้น

สมัยฆราวาสท่านหนีอาญาบ้านเมืองไปอยู่ที่ใดท่านก็ได้ภรรยาที่นั้นทุกคราวไป ท่านหลบเจ้าหน้าที่มาเรื่อยและได้กบดานเงียบอยู่ที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ถึง 10 ปี ตำรวจก็รู้แหล่งอีกจนได้ ท่านจึงหนีลงมาอีกกระทั่งถึง ต.ตาสิทธิ์ (ต.หนองละลอก-ปัจจุบัน)

และที่นี่เองท่านได้พบพวกมิจฉาชีพด้วยกันเพราะตำบลนี้สมัยก่อนเป็นป่าดิบดงทึบ บรรดาเสือที่หนีการจับกุมของทางการพากันมารวมตัวที่นี่มากมาย เช่น เสือชู เสือเหี้ยม เสือไม้ รวมถึง เสือเชียงคำ คือท่านด้วย

ดังกล่าวแล้วว่าอยู่ไหนก็ได้เมีย ที่นี่ท่านก็มีอีกหนึ่งพร้อมให้กำเนิดบุตรชายอีกคนซึ่งได้รับการตั้งชื่อว่า ด.ช. เช้า คำมี ซึ่งต่อมาหลวงปู่ทิมได้อุปการะเด็กชายเช้าจนเติบใหญ่ได้ดีเป็นถึงแพทย์ประจำตำบล

หลวงปู่แก้วใช้ชีวิตระหกระเหินจนเริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิตที่ผ่านมา ท่านนึกถึงความชั่วร้ายที่ท่านก่อไว้เป็นอันมากในอดีตก็ยิ่งสลดใจ ท่านจึงตัดสินใจบวชพระเมื่ออายุได้ 60 ปี ณ พระอุโบสถวัดหวายกรอง โดยมี หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอกเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เกียงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สวัสดิ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เกสาโร

บวชแล้วท่านยังได้ต่อวิชากับพระอาจารย์เกียงซึ่งเป็นพระชาวเขมรจนเจนจบ ต่อมาได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดละหารไร่ และได้ต่อวิชาอีกกับหลวงปู่ทิม ท่านได้เห็นความเก่งกล้าสามารถในวิชาอาคมและอำนาจจิตตานุภาพที่กล้าแข็งของหลวงปู่ทิม ท่านจึงยอมรับหลวงปู่ทิมว่าเก่งจริงจนหมดใจ ถึงกับเรียกหลวงปู่ทิมอย่างเคารพสูงสุดว่า "คุณพ่อ"

ต่อมาหลวงปู่แก้วก็เริ่มมีชื่อเสียงด้วยการสรรเสริญจากปากขององค์อาจารย์คือหลวงปู่ทิมบ่อยครั้ง ผู้คนจึงเริ่มเข้าหาท่านโดยขอตะกรุดบ้าง ผ้ายันต์บ้าง และที่สร้างชื่อให้ท่านมากคือการสักยันต์ ซึ่งส่วนมากการสักของท่านจะเป็นการสักน้ำมันเสียทั้งนั้น

คุณอาท่านหนึ่งของผมเป็นทหารเรือ เป็นราชองครักษ์พิเศษของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นคนที่รักในทางขลังอยู่ไม่น้อย ท่านชื่อนาวาเอกจำเนียร ตู้จินดา เคยเดินทางไปกราบหลวงปู่ทิมบ่อยครั้ง เมื่อศรัทธาในหลวงปู่ทิมถึงที่สุดก็เอ่ยปากขอให้ท่านสักยันต์ให้ด้วย

ทว่า หลวงปู่ทิมกล่าวปฏิเสธ ท่านว่าเลิกสักใครมานานแล้ว แต่ถ้าอยากสักจริง ๆ ก็ไปขอท่านแก้วเขาสักให้ เรียบร้อยแล้วจึงมาหาท่านอีกทีท่านจะเป่าให้

คุณอาจึงเดินไปขอเมตตาหลวงปู่แก้วสักน้ำมัน ท่านก็รับคำด้วยดี เหล็กสักปักลงหลังของผู้นั่งเหยียดเท้าประณมมือครั้งแล้วครั้งเล่า คุณอาทนเจ็บด้วยหวังในวิทยาคุณอันประเสริฐ พักใหญ่การสักก็เสร็จสิ้น แต่หลวงปู่ยังให้คุณอานั่งอยู่ในท่าเดิมสักพัก

ทันใดนั้น นายทหารใหญ่ก็สัมผัสได้ถึงแรกกระแทกเข้ากับแผ่นหลังดัง บึ้ก อย่างแรงจนสะเทือน ด้วยความแปลกใจก็หันขวับไปดู แล้วท่านก็ตกใจสุดขีดเมื่อเห็นหลวงปู่แก้วถือดาบโบราณยาวเป็นวาขาววับอยู่เบื้องหลังในอาการที่เหมือนว่าจะ "ซ้ำ" เป็นหนสอง

นาทีนั้นทั้งที่อยู่ในท่านั่งเหยียดเท้าคุณอากลับดีดตัวเองด้วยความตกใจอย่างที่สุดออกห่างองค์หลวงปู่ไปหลายเมตร จนคุณอาเองยังแปลกใจอยู่ทุกวันนี้ว่าตัวลอยไปไกลขนาดนั้นได้อย่างไร อาเนียรเล่าไปขำไป ผมก็พลอยขำไปด้วย แต่ในใจยังสงสัยว่าถ้าเป็นตูจะขำออกหรือเปล่า

เหตุนี้ท่านผู้การจำเนียรจึงให้ความเชื่อถือในอาคมของหลวงปู่แก้วเป็นอันมาก ไปกราบหลวงปู่ทิมคราวใดต้องแวะหาหลวงปู่แก้วด้วยทุกครั้งไป

หลวงปู่ทิมการันตีหลวงปู่แก้วหลายต่อหลายครั้งว่า “ท่านแก้วเขาสำเร็จธาตุ” คำประกาศนี้อาจไม่ใหญ่คับฟ้าดังประกาศของหนังสือชั้นนำอย่างกินเนสบุ๊ค แต่มันเป็นประกาศนียบัตรทางวาจาที่ปราชญ์ในศาสตร์นี้มีให้แก่กัน

ประมาณว่าปราชญ์ย่อมรู้ในปราชญ์

หากผมเองที่เป็นได้เพียง "ประหลาด" ไม่อาจหยั่งรู้เรื่องราว "ภายใน" ของท่านทั้งสองได้ เห็นทางเดียวว่าเชื่อไว้ก่อนเป็นการดี

ครั้งที่คนมือซนเอาเหรียญ "เจริญพร" ของหลวงปู่ทิมไปลองยิง ความทราบถึงหลวงปู่แก้วท่านก็พิโรธเป็นนักหนา บ่นว่า “ไอ้พวกนี้มันถือดีเอาของคุณพ่อไปลองได้ยังไง ถ้าจะลองไม่ต้องไปลองคุณพ่อหรอก” ว่าแล้วท่านก็เดินไปที่ตอไม้กระท้อนข้างกุฏิซึ่งตัดไปนานแล้ว

จากนั้นก็ลงนั่งยอง "ฉี่" รดตอกระท้อนนั้น แล้วบรรลือสีหนาทว่า

“ถ้ามันอยากยิงให้มายิงตอนี้ให้ออกก่อน”

ไม่ต้องเดาก็รู้ว่าคนมือซนรู้ข่าวแล้วพากันลองหรือไม่ ทราบเพียงว่าชื่อเสียงของท่านเคียงบ่าเคียงไหล่มากับหลวงปู่ทิมผู้เป็นอาจารย์ก็พอ

ต่อมาผู้ทรงวิทยาคุณเช่นท่านปรารภว่าหากตายก็เสียดายอยู่สองอย่าง หนึ่งคือวิชาอาคมที่ศึกษามาจนแตกฉานจะพลอยสูญไปกับตน สองคือเกรงว่าศพจะเป็นภาระให้แก่คนรุ่นหลังยุ่งยากเรื่องค่าใช้จ่ายในงานประชุมเพลิง ดำริแล้วท่านก็ขออนุญาตกับหลวงปู่ทิมว่าจะทำเหรียญสักรุ่น ซึ่งหลวงปู่ทิมก็ไม่ขัดข้องประการใด

เมื่อคุยกับกรรมการวัดอันมี คุณลุงสาย แก้วสว่าง ผู้เป็นไวยาวัจกร และ คุณชินพร 
สุขสถิตย์ ผู้เป็นศิษย์แล้ว เห็นควรให้จัดทำเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่แก้วขึ้น ซึ่งเลขยันต์หลวงปู่แก้วเป็นองค์กำหนด หลวงปู่ทิมก็ได้เห็นต้นแบบภาพเหรียญ ท่านยังพูดเหมือนเก่าคือ

“ท่านแก้วเขาสำเร็จธาตุ” จึงสมควรใช้ยันต์แม่ธาตุใหญ่คือ นะ มะ พะ ทะ

เหรียญรุ่นแรกของท่านมีความสวยงามมาก ดูมีชีวิตชีวาสมเป็นงานแกะชั้นครู ฝีมือระดับนี้ถ้าไม่เป็นช่างเกษม มงคลเจริญ ก็ต้อง ช่างประหยัด ลออพันธุ์สกุล ไม่เป็นอื่น อีกฝีมือที่แน่นอนว่าเยี่ยมยุทธ์คือช่างยิ้ม ยอดเมือง แต่ช่างยิ้มไม่ใคร่แกะแบบนูนสูง จึงเดาว่าเป็นสองช่างดังกล่าวมา

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด