พระเครื่องทั้งหมด 966 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (131) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (44) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 966 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 683 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อบุญมี อิสสโร วัดเขาสมอคอน ลพบุรี

เกิด                      วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ 2442 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน  เป็นบุตรของผู้ใหญ่ต้น  นางทองม้วน  จันทร์แจ่ม

อุปสมบท               อายุ 21 ปี ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม 2463  ณ พัทธสีมาวัดมุจลินทร์

มรณภาพ               6 ตุลาคม 2524

รวมสิริอายุ             84 ปี 61 พรรษา

          พระครูอาทรสิกขกิจ (หลวงพ่อบุญมี อิสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี เดิมชื่อ บุญมี จันทร์แจ่ม เกิดที่บ้านเขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๒ (ตรงแรม ๙ ค่ำ เดือน ๓ ปีกุน) บิดาชื่อ ผู้ใหญ่ต้น มารดาชื่อ นางทองม้วน มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๖ คน หลวงพ่อบุญมีเป็นบุตรคนที่ ๒ ปฐมวัย บิดาและมารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือและอักขระขอมกับ หลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง วัดเขาสมอคอน ซึ่งเป็นสำนักศึกษาพระปริยัติธรรม

          ต่อมา หลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง ได้บวชให้เป็นสามเณร และให้อยู่รับใช้อย่างใกล้ชิด โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาการต่างๆ รวมทั้งได้ติดตามหลวงพ่อออกธุดงค์ เพื่อแสวงหาความสงบ และเจริญสมาธิอยู่เป็นประจำ

          เมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมุจรินทร์ ต.โคกสลุด อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๖๓ โดยมี พระครูสังวรโสภณ (หลวงพ่อสาย) วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการผ่อง วัดมุจรินทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแขก วัดหนองมนต์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อิสโร"

          หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อบุญมี ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขาสมอคอน เพื่อปฏิบัติกิจตามหน้าที่ของศิษย์ ที่มีต่อพระอาจารย์ คือ หลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง ด้วยความเคารพยิ่ง ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดคุณสมบัติและปฏิปทาจากหลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋งไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

          หลวงพ่อบุญมี บวชได้ ๕ พรรษา หลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง ก็ได้มรณภาพลง หลวงพ่อบุญมี จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา หลังจากนั้น หลวงพ่อบุญมี ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ เพิ่มเติมกับ หลวงพ่อสาย วัดเสือ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน และยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่ออุปัชฌาย์วัดบาง ซึ่งเป็นศิษย์ผู้พี่ จากนั้นได้ศึกษาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแขก วัดหนองมนต์ ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของท่าน

          ส่วนอาจารย์ที่เป็นสายฆราวาส หลวงพ่อบุญมีได้ศึกษากับ ผู้ใหญ่บุญรอด จันทร์แจ่ม ซึ่งเป็นพี่ชายของท่านเอง เรื่องของ วัตถุมงคลหลวงพ่อบุญมี ท่านได้สร้างเอาไว้หลายอย่าง ซึ่งล้วนมีประสบการณ์ทั้งสิ้น คนที่มีอยู่มักจะหวงแหนกันมาก จึงไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก นอกจากลูกศิษย์สายตรงของหลวงพ่อเท่านั้น

          วัตถุมงคลในยุคแรกๆ คือ มีดหมอ หลวงพ่อได้เรียนวิชานี้จาก หลวงพ่ออุปัชฌาย์ก๋ง โดยตรง (คนละสายกับของ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ) หลวงพ่อบุญมีได้สร้างมีดหมอมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๐ เนื่องจากชาวบ้านแถววัดถูกผีเข้าบ่อยๆ ญาติจึงพามาหาหลวงพ่อ รักษาด้วยการรดน้ำมนต์ ซึ่งก็หายกลับไปทุกคน

          ต่อมามีคนเป็นกันบ่อย หลวงพ่อบุญมี จึงได้ทำมีดหมอขึ้นมาเพื่อแจกชาวบ้าน ไว้ใช้ป้องกันภูติผีปิศาจ และสัตว์ร้ายต่างๆ เมื่อชาวบ้านนำไปใช้ได้ผลดี จึงได้บอกกล่าว ปากต่อปาก ทำให้มีดหมอของท่านมีกิตติคุณเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายออกไป

ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๗ หลวงพ่อบุญมี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน จึงได้สร้าง เหรียญรุ่นแรก ขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึก เป็นเหรียญปั๊มแบบโบราณ ลักษณะเหรียญด้านหลังเป็นท้องกระทะ ด้านหน้านูน เป็นเหรียญปั๊มหูในตัว ตัดขอบแบบโบราณ ห่วงเชื่อม เป็นเหรียญเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เพียงเนื้อเดียว ลักษณะบล็อกตื้น (นูนต่ำ) สวยงามมาก ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อห่มคลุมครึ่งองค์ มีตัวหนังสือเขียนว่า "พระครูบุญมี ฉัยยาติสสะโร วัดเขาสมอคร" (ตัวหนังสือคำว่า "พระ" สระอะจะปั๊มไม่ค่อยติด และคำว่า "สมอคร" ใช้ "คร" ไม่ใช่ "คอน")

          ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงพ่อบุญมี ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล จึงได้สร้างรูปเหมือนปั๊ม เนื้อทองแดงอย่างเดียว ด้านหน้าตรงฐานเขียนว่า หลวงพ่อบุญมี มียันต์ตรงสังฆาฏิ (ยันต์เฑาะว์) และในปีเดียวกันนี้ ได้มีคณะลูกศิษย์จัดสร้าง รูปเหมือนปั๊ม เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง ด้านหน้ามีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อมี มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์จีวรตรง และ พิมพ์จีวรโค้ง ด้านหลังมียันต์ มะ อะ อุ เป็นตัวนูน ใต้ฐานเป็นรอยวงเดือน 

          พ.ศ. ๒๕๐๙ หลวงพ่อบุญมี ได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอท่าวุ้ง จึงได้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ขนาดเล็กกะทัดรัด มีทั้งเนื้อทองแดงผิวไฟ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อเงิน

          พ.ศ.๒๕๑๗ หลวงพ่อบุญมี อายุครบ ๗๗ ปี คณะศิษย์ได้จัดงานทำบุญขึ้น จึงได้สร้าง พระพิมพ์สมเด็จ เนื้อเทียนชัย ขึ้น เพื่อแจกเป็นที่ระลึก ด้านหน้าเป็นรูป หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในโบสถ์ ศิลปะเชียงแสน

          พระพิมพ์สมเด็จ เนื้อเทียนชัย แบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก ด้านหลัง เป็นรูปหลวงพ่อ เหนือขึ้นไปมีตัวหนังสือเขียนว่า "ที่ระลึกงานทำบุญอายุ ๗๗ ปี" ใต้รูปหลวงพ่อเขียนว่า "หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน" เป็นพระเนื้อผงน้ำมันผสมเทียนชัย (พิมพ์หน้าเล็ก หลวงพ่อจะหันหน้ามาทางขวามือเรา พิมพ์หน้าใหญ่ หันหน้าไปซ้ายมือเรา) พระพิมพ์สมเด็จนี้ชาวบ้านส่วนมากจะเรียกว่า "พระสมเด็จรุ่นมีฤทธิ์" เนื่องจากมีประสบการณ์มากมาย และเป็นพระพิมพ์สมเด็จรุ่นแรก

          วัตถุมงคลหลวงพ่อบุญมี ยังมีอีกมากมายหลายรุ่นหลายแบบ เท่าที่มีหลักฐานชัดเจนพอที่จะรวบรวมเป็นหมวดหมู่ได้ มีดังนี้

ชุดเหรียญ 

๑.เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๗

๒.เหรียญรุ่น ๒ ทรงเสมา ปี ๒๕๐๐ ๓.เหรียญรุ่น

๓ พิมพ์รูปไข่ ห่มคลุม ปี ๒๕๐๙ เนื้อทองแดงผิวไฟ และทองแดงกะไหล่ทอง

๔.เหรียญปี ๒๕๑๒ พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว หลวงพ่อนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง 

๕.เหรียญงานพุทธาภิเษก ปี ๒๕๑๓ ทรงอาร์มมี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าตรง และพิมพ์หันข้าง เนื้อชุบนิกเกิล เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อเงินหน้าทอง และเนื้ออัลปาก้า 

๖.เหรียญปี ๒๕๑๗ รูปไข่ สร้างน้อย เนื้อทองแดงรมดำ

๗.เหรียญปี ๒๕๑๙ รูปไข่ เนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

๘.เหรียญปี ๒๕๒๐ รุ่นตัวหนังสือตลก เป็นเหรียญรูปไข่ขนาดใหญ่ หันข้าง เนื้อทองแดง

๙.เหรียญปี ๒๕๒๑ เรียกกันทั่วไปว่า "รุ่นตาฉิ่งยิงเด็ก" เป็นเหรียญทรงใบสาเก หันข้าง เนื้อทองแดง

๑๐.เหรียญปี ๒๕๒๑ รุ่นเสาร์ ๕ เป็นเหรียญทรงเสมา หน้าตรง เนื้อทองแดงรมดำ

๑๑.เหรียญปี ๒๕๒๒ รุ่นแจกผ้าป่า เป็นเหรียญทรงหยดน้ำ ข้างกนกมีเนื้อเงิน เนื้อทองแดงลงยาสีต่างๆ และแบบมีปีกไว้แจกกรรมการ และเหรียญล้อแม็กซ์

๑๒.เหรียญรุ่นลายฉลุหันข้าง

๑๓.เหรียญใบโพธิ์เนื้อทองแดง

๑๔.เหรียญสร้างมณฑป ปี ๒๕๒๕

ชุดรูปเหมือนปั๊ม 

๑.รูปเหมือนปั๊ม ยันต์ฐาน ใต้ฐานมียันต์ มะ อะ อุ มี ๒ พิมพ์คือ พิมพ์จีวรโค้ง และจีวรตรง

๒.รูปเหมือนปั๊มยันต์สังฆาฏิ ถือว่าเป็นรูปเหมือนปั๊มที่ออกแบบมาได้คล้ายกับองค์หลวงพ่อมากที่สุด ที่สังฆาฏิจะมียันต์ เฑาะว์

๓.รูปเหมือนปั๊มค่อมใหญ่

๔.รูปเหมือนปั๊มค่อมเล็ก

๕.รูปเหมือนปั๊มพนักอิง

ชุดเครื่องราง

๑.ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ธงแม่ทัพ ๒.มีดหมอ ยุคต้น เป็นด้ามไม้ ฝักไม้ ใบเหล็ก พัฒนามาเป็นใบสแตนเลส ด้ามงาฝักงา ด้ามงาฝักไม้ ๓.มีดปากกาปาร์กเกอร์ ยุคต้น ๔.ตะกรุดโทน ๕ นิ้ว ๕.ตะกรุด ๑๐๘ สามกษัตริย์ ๖.ตะกรุดสาลิกา ๗.ลูกอม ๘.แหวน ๙.เขี้ยวเสือ เสืองาแกะ สิงห์งาแกะ ๑๐.สีผึ้ง

ชุดพระบูชา พระผง มีทั้งพระบูชารูปหลวงพ่อสัมฤทธิ์ พระบูชารูปหลวงพ่อบุญมี ส่วนพระเนื้อผงมีพระพิมพ์สมเด็จหลวงพ่อสัมฤทธิ์ หลังหลวงพ่อบุญมี เนื้อเทียนชัย สร้างปี ๒๕๑๗

ชุดรูปถ่าย ล็อกเก็ต 

๑.รูปถ่ายหลังจารมือ รูปถ่ายหลังตะกรุดสามกษัตริย์ ๒.ลอกเก็ตขนาดต่างๆ พิมพ์กลม และพิมพ์รูปไข่ ๓.แหนบเสาร์ ๕ ๔.แหนบรุ่นฟ้าผ่า ๕.รูปถ่ายขนาดบูชา ในชุดนี้ประกอบด้วย รูปถ่ายปี ๒๕๐๙ งานฉลองตราตั้ง พัดยศ รูปถ่ายนกคุ้ม และรูปถ่ายนั่งธรรมมาสน์ ฯลฯ

          หลวงพ่อบุญมี ได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา ระบบการทำงานของหัวใจล้มเหลว ได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๒๕ สิริอายุรวม ๘๔ ปี ปัจจุบันสรีระของท่านได้บรรจุอยู่ในหีบแก้ว เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือ ได้สักการบูชา อยู่ที่หอสวดมนต์ วัดเขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          วัตถุมงคลของท่าน ได้แก่ เหรียญ  และมีดหมอ  ซึ่งได้รับความนิยมคนหาสะสมกันมากทั่วประเทศ  และบรรดาลูกศิษย์ลูกหาก็ศรัทธาเลื่อมใสท่านเป็นอย่างมาก   

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด