พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง
ข้อมูลประวัติ ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน

          หลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุตตโม หรือ “ท่านพระครูอุดมขันติธรรม” “อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)” ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุล ณ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

          หลวงปู่มีชื่อเดิมว่า “ขันแก้ว” นามสกุล “อิกำเหนิด” โยมบิดาชื่อ “นายอินตา อิกำเหนิด” โยมมารดาชื่อ “นางสม อิกำเหนิด” หลวงปู่มีรูปร่างสันทัด ผิวสีเนื้อดำแดง เป็นบุตรชายคนโตของน้องสาว ๓ คนและน้องชาย ๑ คน.. 

          โยมปู่ของหลวงปู่ชื่อว่า “ปินตา อิกำเหนิด” โยมย่าชื่อ “ปรก” ได้อพยพครอบครัวมาจากตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินคือทำนาที่ตำบลห้วยไซ แล้วจึงได้ย้ายลงมาอยู่ที่ตำบลห้วยยาบ

          ในครั้งนั้นโยมปู่ของท่านได้อพยพมาพร้อมกับพี่น้องรวม ๖ ครอบครัวและได้มาตั้งรกรากใกล้กับ “วัดสันพระเจ้าแดง” ซึ่งเป็นวัดร้างโดยโยมปู่ของท่านได้เป็นหัวหน้าบูรณะซ่อมแซมก่อสร้างจนกลายเป็นวัดขึ้นมา

          หลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ พันธสีมา “วัดต้นปืน” อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยมี “พระอธิการแก้ว (หลวงปู่ครูบาอินทจักโก)” วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระบุญเป็ง ปัญญาวโร” วัดบ้านธิหลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ “พระพุฒ ปันทวงศ์” วัดห้วยไซ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่ได้รับฉายาว่า “อุตตโม” ครับ

           เล่ากันว่าหลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยไม่ชอบอยู่นิ่งเฉย ถ้าท่านทำงานหนักไม่ได้ ท่านก็จะทำงานเบาๆ เช่นเขียนยันต์ ทำตะกรุด แม้แต่งานกวาดลานวัดท่านก็จะทำเองในทุกเวลาเช้า 

          จนกระทั่งวันหนึ่งได้มีนักแสวงบุญที่ชื่อ “คุณหมอสมสุข คงอุไร” แห่ง “คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก” เป็นผู้ที่เดินทางมาเปิดขุมทรัพย์แห่งธรรมอันนั้น จาก”บันทึกเรื่องการพบหลวงปู่ขันแก้ว อุตตโม ของคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก” ได้เขียนไว้อย่างละเอียดแต่ด้วยความจำเป็นในเรื่องความยาวขออนุญาตสรุปใจความดังนี้ครับ

          “ในระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก โดยการนำของ ‘คุณพ่อหมอสมสุข คงอุไร’ ได้เดินทางขึ้นไปเยี่ยมอาการอาพาธของ ‘หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก’ วัดวังมุย จังหวัดลำพูน ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาชุ่ม พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสวนดอกนครเชียงใหม่ 

          ในวันนั้นได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งครองจีวรสีกลัก เดินทางเข้ามาเยี่ยมและตรงเข้าไปกอดเอวและพูดคุยด้วยภาษาคำเมืองกับครูบาชุ่มอย่างสนิทสนม

          ขณะที่คุณพ่อหมอสมสุข ท่านได้นึกตำหนิพระรูปนั้นอยู่ในใจ หากแต่การตำหนินั้นไม่สามารถปกปิด อภิญญาจิต เจโตปริยญาณ ของหลวงปู่ครูบาชุ่มได้ 

          หลวงปู่ครูบาชุ่ม ได้เรียกคุณพ่อหมอสมสุขให้เข้าไปหาและแนะนำว่าพระภิกษุที่ครองจีวรสีกลักนั้นชื่อว่า ‘ครูบาขันแก้ว’ เป็นเพื่อนรักร่วมรุ่นเดียวกับท่าน...”

          สมัยนั้น “หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก” เจ้าอาวาสวัดวังมุย เป็นพระที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของแผ่นดินล้านนา ความเชี่ยวชาญในเชิงเวทย์และคุณธรรมของท่านเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไป

          ในช่วงเวลาที่ครูบาศรีวิชัย ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ครูบาชุ่มคือหนึ่งในผู้ร่วมสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ท่านได้รับความเมตตาจากครูบาศรีวิชัยเป็นอันมาก โดยครูบาศรีวิชัยได้มอบ “พัดหางนกยูงพร้อมกับไม้เท้า” ให้กับท่าน พร้อมกับสั่งว่า “เอาไว้เดินทาง เทศนาเผยแพร่ธรรมแทนท่านด้วย...” 

          ภายหลังเมื่อหลวงปู่ครูบาชุ่มได้มรณภาพลง คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้ดำเนินการสร้างรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงของท่าน คณะกรรมการวัดวังมุยได้นิมนต์พระอาจารย์ต่างๆมาจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน แต่ในจำนวนรายชื่อทั้งหมดกลับไม่มีชื่อของหลวงปู่ครูบาขันแก้ว โดยคณะกรรมการวัดวังมุยให้เหตุผลว่า 

          “ไม่เคยทราบหรือเคยเห็น หลวงปู่ครูบาขันแก้วเคยได้ร่วมในพิธีปลุกเสกพระในที่ใดมาก่อน อีกทั้งยังไม่เคยได้ข่าวว่าท่านเคยสร้างวัตถุมงคลอะไรเลย” 

          เรื่องราวที่เริ่มจะบานปลายเนื่องจากคุณหมอสมสุข ท่านไม่ยอมเพราะเห็นว่าหลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านเป็นเพื่อนรักกับหลวงปู่ครูบาชุ่ม อีกทั้งในระหว่างการจัดงานศพ หลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านก็ได้มาช่วยงานทุกคืน ในที่สุดคณะกรรมการวัดวังมุยจึงต้องไปนิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาร่วมในงานปลุกเสกและเบิกเนตรรูปหล่อของหลวงปู่ครูบาชุ่มในครั้งนี้ด้วย

          เล่ากันว่าในขณะที่เริ่มประกอบพิธีปลุกเสก พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มา ๓ รูปได้นั่งหลับตาและแผ่อำนาจจิตปลุกเสกแต่หลวงปู่ครูบาขันแก้วกลับนั่งลืมตาและเคี้ยวเมี่ยง

          เล่นเอาชาวบ้านแถววัดวังมุยเริ่มจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กันว่าใครหนอไปนิมนต์พระที่ปลุกเสกไม่เป็น “บ่อมิไก๊” มาร่วมในงานพิธีปลุกเสกครั้งนี้และเมื่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์เริ่มดังขึ้น  
          ท่านพระครูนวลที่มาเป็นพระควบคุมพิธีในครั้งนี้ได้เข้ามาบอกกับคุณหมอสมสุขว่า 

          “โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา ดูสินั่งลืมตา ยันเมี่ยงอยู่จับๆ ไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย...” 

          คุณหมอสมสุข จึงตอบไปว่าท่านเป็นคนที่นิมนต์หลวงปู่ครูบาขันแก้วมาเอง แต่ขอให้ดูกันต่อไปอีกสักพัก....จากเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้ทุกวันนี้เราได้รู้จักพระที่ทรงกิตติคุณเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งองค์ครับ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกบันทึกไว้ดังนี้ครับ.... 

          “หลวงปู่ครูบาขันแก้วเริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ เอาผ้าห่มขนหนูคลุมที่ไหล่ทั้งสองข้าง(ต่อมาภายหลังทราบว่าท่านกำลังป่วยเป็นไข้) หลังจากพิธีผ่านไปแล้วประมาณ ๑๐-๑๕ นาที หลวงปู่ครูบาขันแก้วได้นั่งห้อยเท้าลงมา

          ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้าแรงขึ้น ขณะนั้นช่างภาพประจำคณะของเราได้เข้าไปใกล้ที่ท่านนั่งปรกอยู่ แล้วก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น....

          ทันทีที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้าขึ้นเป็นประกาย นัยน์ตาของหลวงปู่ครูบาขันแก้วก็มิได้กระพริบเลย... 

          ช่างภาพอีกคนก็เข้าไปถ่ายบ้าง แสงไฟแฟลชสว่างจ้าขึ้นอีกครั้ง แต่นัยน์ตาของหลวงปู่ก็ลืมอยู่อย่างปกติ 

          ‘ลืมตาอยู่อย่างไร ก็ลืมตาเปิดตากว้างอยู่อย่างนั้น..’ 

          คุณพ่อและพวกเราที่นั่งดูอยู่อย่างใกล้ ทุกคนจ้องดูอย่างตั้งใจก็เห็นกันทุกคนว่า 

          ‘นัยน์ตาของหลวงปู่ไม่กระพริบเลย’  

          คราวนี้ก็ให้ช่างภาพทั้ง ๒ คนของพวกเราเข้าไปขนาบทั้งซ้ายและขวา ก่อนจะยิงแฟลชถ่ายรูป ให้อธิษฐานในใจขอขมาก่อน พวกเราก็นั่งคอยดูกันจนแสงไฟแฟลชได้สว่างขึ้นทั้งซ้ายและขวาพร้อมกัน แต่นัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบอีกตามเคย 

          ช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ๒ ฉบับซึ่งได้ไปทำข่าวก็เข้าไปถ่ายอีก คราวนี้แฟล็ชแรงกว่าของพวกเรา เพราะเมื่อเห็นว่าพวกเราถ่ายรูปหลวงปู่องค์นี้มากก็เข้าไปถ่ายบ้าง ผลปรากฏออกมา .....‘ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กะพริบเลย เป็นเวลานานหลายๆนาที’ คนธรรมดาสามัญย่อมทำไม่ได้อย่างแน่นอน...” 

          ในหมู่นักนิยมพระเครื่องบางท่านอาจจะกล่าวว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องปกติทั่วไป ข้อนี้ผมไม่สามารถโต้แย้งได้... 

          แต่กับเรื่องที่คนธรรมดาสามารถลืมตาโดยไม่กระพริบต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบๆนาที อันนี้สิครับเป็นเรื่องที่ต้องคิดและสิ่งที่เราต้องมาตีลังกาคิดอีกสามตลบคือการที่ดวงตาต้องกระทบกับแสงแฟลชครับ

          เพราะโดยสัญชาติญาณแล้วคนเราโดยทั่วไปไม่สามารถทำได้หรอกครับ ดังนั้นการที่หลวงปู่ครูบาขันแก้วสามารถทำได้นั่นย่อมหมายความว่า ณ ขณะนั้นจิตของท่านเข้าสู่สมาธิจริงๆ 

          “ว่ากันว่าการจะทำสิ่งใดด้วยความพยายามที่เกินกว่ากำลังความสามารถ   มักจะให้ผลเสียหายมากกว่าผลดี  

          หากแต่บางครั้งเส้นแบ่งของการทำเกินกำลังความสามารถที่เกิดจากการกระทำด้วยความชำนาญในศาสตร์ของตนเอง  

          มันก็เป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าจะหามาตรฐานใดมาเป็นตัวกำหนด....” 

          พระอาจารย์ชนินทร์ ท่านบอกกับพวกเราว่าในชีวิตของท่านได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆมาพอสมควร แต่สุดท้ายแล้วท่านก็จบลงตรงที่หลวงปู่ครูบาขันแก้ว  

ท่านว่า...”หลวงปู่ครูบาขันแก้ว ถือว่าเป็นที่สุดแล้ว” 

          ความเป็นที่สุดของหลวงปู่ครูบาขันแก้วนี้ หมายรวมไปถึงหลักการปฏิบัติและแนวทางการเจริญสมาธิ เพื่อหวังผลให้ถึงเป้าหมายของชีวิตคือ “การหลุดพ้น” 

          “ถ้าคนเรานั่งสมาธิเพื่อต้องการความสงบ ความสุข ของจิตใจ เราสามารถเจริญสมาธิในแบบใดก็ได้ แต่ถ้าหากหวังถึงมรรค ผล นิพพาน นั่นคือเราจะต้องเลือกเดินในเส้นทางที่ถูกต้อง...” 

          ความถูกต้องอันนี้ พระอาจารย์ชนินทร์ท่านได้อธิบายให้พวกเราฟังพอเป็นสังเขป หากเพื่อนๆท่านใดสนใจก็คงจะต้องสอบถามจากพระอาจารย์ชนินทร์เอาเองครับ เพราะคำสอนของพระอาจารย์ เจริญรอยตามแนวทางของครูบาขันแก้ว

          ธรรมะและคำสอนของท่านเป็นเรื่องที่ฟังไม่ยาก สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพียงแต่ขีดความสามารถในการถ่ายทอดของผมค่อนข้างมีจำกัดครับ...เอาเป็นว่าเมื่อไรตกผลึกทางความคิดก็จะรีบนำมาเขียนให้เพื่อนได้รับทราบครับ...

          พูดถึงเรื่องของวัตถุมงคลกันบ้าง....ในชีวิตของหลวงปู่ครูบาขันแก้วท่านได้สร้างไว้พอสมควรแต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงจะเป็นพวกตะกรุดชนิดต่างๆ เช่นตะกรุดก๋าสะท้อน ตะกรุดนากคอคำ ฯลฯ แต่ตะกรุดซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้นิยมในเครื่องรางของขลังต้องเป็นอันนี้ครับ

“ตะกรุดสหรีกัญชัย” 

          “ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้การนำของท่านคณบดีและคณาจารย์ต่างๆ ตลอดจนนิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ช. ทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องต่างพากันเข้าไปทำบุญที่วัดป่ายางและขอตะกรุดจากหลวงปู่ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑-๒๔๒๔ จนตะกรุดของหลวงปู่ครูบาขันแก้ว ได้รับฉายานามว่า....”ตะกรุดสหรีกัญชัย ขวัญใจ ม.ช.” 

          ตะกรุดสหรีกัญชัย เป็นตะกรุดที่ลงด้วย “พระยันต์ดาบสหรีกัญชัย” ซึ่งในเรื่องที่ไปที่มาของพระยันต์ชนิดนี้ค่อนข้างมีความพิสดารล้ำลึก ต้องว่ากันในเรื่องของวาสนาบารมีของผู้ทำที่มีมาแต่อดีตชาติและในปัจจุบันชาติก็ต้องสะสมไว้อย่างเข้มแข็ง รวมไปถึงเรื่องของการก้าวผ่านมิติกาลเวลาตลอดจนสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ....

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด