พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม
ข้อมูลประวัติครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี)  วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จ.ลำพูน

ประวัติ

          ในวันจันทร์ เดือน 7 เหนือ ปีกัดเป้า (ปีฉลู) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนเมษายน 2443 อันเป็นวันมหาสงกรานต์ คำเมืองเรียกว่าวันปากปี ครอบครัวของ นายเม่า นางจันตา ก็มีโอกาสต้อนรับชีวิตเล็ก ๆ ชีวิตหนึ่งซึ่งลือตาขึ้นมาดูโลกในวันนี้ นับเป็นสายเลือดและพยานรักคนแรกและคนเดียวของพ่อเม่าแม่จันตา เพื่อให้เป็นมงคลตามวัน ทั้งสองจึงตั้งชื่อทารกน้อยนั้นว่า "จำปี"

ชีวิตวัยเยาว์

          ดังกล่าวแล้วว่า ครอบครัวท่านเป็นครอบครัวชาวบ้านป่าค่อนข้างยากจน อาหารการกินจึงขาดแคลน มีแต่ผักกับกลอยเป็นอาหารหลัก เด็กชายจำปี จึงมีร่างกายบอบบาง พุงค่อนข้างป่องเพราะโรคขาดอาหาร จึงมักเจ็บออดแอด แต่ก็ไม่ร้ายแรงนัก "จำปี" มีแววฉลาดแต่ยามเล็ก ๆ ว่านอนสอนงาย และเรียนรู้ประสบการณ์จากป่า ความสงบของธรรมชาติมาตลอดชีวิต แม้จะยากจนแสนเข็ญ ครอบครัวนี้ก็ยังคงมีความสงบสุข ยิ่งมีลูกน้อยเป็นสื่อสายใจ พ่อเม่า แม่จันตา ก็ยิ่งมุมานะทำงาน เพื่อสร้างอนาคตให้เด็กน้อยจำปีขึ้นอีกเท่าตัว เด็กชายจำปี คงไม่เข้าใจการต่อสู้ของพ่อแม่นัก คงยังมีความร่าเริงสนุกไปตามประสาเด็ก ๆ และความน่ารักอันไร้เดียงสาของเขามันหมายถึงความรักของพ่อแม่ที่ทุ่มเทให้ลูกน้อยจนสุดหัวใจ แม้ทั้งสองร่างกายจะเปื้อนเหงื่อกว่าชีวิตประจำวันจะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อใกล้ค่ำย่ำสนธยา แต่ใบหน้าไม่เคยว่างรอยยิ้มอย่างเป็นสุข เมื่อเห็นลูกน้อยโผผวาเข้าหาอ้อมกอด นี้คือความรักของพ่อแม่ทุกคนในโลกที่มีต่อลูกน้อย

ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย

          สมัยนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังอยู่ที่วัดบ้านปาง วันหนึ่ง แม่จึงเรียกเจ้าจำปีเข้ามาถาม   "ลูกอยากบวชไหม" จำปีตอบว่า “อยากบวช แต่ยังห่วงแม่ เมื่อลูกบวชแล้วใครดูแล" แม่ตาตอบว่า "อยู่ได้ อย่าห่วงเลย อีกประการหนึ่งการบวชนี้เป็นการช่วยพ่อแม่ที่ดีที่สุด เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง เมื่อเห็นลูกนุ่งเหลือง ก็นับว่าเป็นความสุขชื่นใจอย่างเหลือเกิน"และจากคำแนะนำนี้ เด็กชายจำปีจึงถูกแม่พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย และในทันที่นำไปฝาก เพียงท่านครูบาเห็นลักษณะเด็กชายจำปีท่านก็รับไว้ทันที เหมือนดั่งจะมีตาทิพย์มองเห็นว่าเด็กคนนี้ในอนาคตจะต้องยิ่งใหญ่ ในฐานะนักบุญแทนท่าน และอีกไม่นานหลังจากร่ำเรียนสวดมนต์ อ่านเขียนอักขระทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองจบแล้วท่านครูบาศรีวิชัย จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร

สามเณร "ศรีวิชัย"

           ระหว่างเป็นสามเณร ท่านได้ปฏิบัติกิจอันจะพึงมีต่ออาจารย์ คือครูบาศรีวิชัยอย่างครบถ้วน ท่านจึงเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งชื่อให้เหมือนกับอาจารย์ สามเณรศรีวิชัย สามเณรน้อยได้เฝ้าอุปัฎฐากอาจารย์ และร่ำเรียนกัมมัฎฐานและอักษรสมัยจนจบถ้วนด้วยความสนใน พร้อมกับปฏิบัติตามที่พร่ำสอนจนดวงจิตสงบ พร้อมกันนั้น การถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์ จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ครูบาศรีวิชัยไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่งมิได้ขาด ในด้านสถาปัตย์ ท่านจึงนับว่าเป็นหนึ่ง ท่านชำนาญจนถึงขนาดว่า เพียงเดินผ่านเสาไม้ต้นไหน ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า เสาต้นไหนกลวงหรือตัน ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเสาต้นนั้นจะมีรอยกลวงให้ปรากฏแก่สายตา

ครูบาเจ้าศรีวิชัยอุปสมบทให้

          ท่านดำเนินชีวิตทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และด้านพัฒนาก่อสร้างควบคู่กันไป จวบจนอายุได้ 22 ปี เป็นสามเณรได้ 6 ปี ท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทให้ แต่เพราะเหตุที่ท่านมีชื่อเหมือนกับอาจารย์เมื่อเป็นภิกษุ อาจารย์จึงได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า "อภิชัยขาวปี"

          ท่านอุปสมบทได้เพียง 2 พรรษา ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ เพื่อที่จะแยกไปมุ่งงานก่อสร้างต่อไป ซึ่งงานก่อสร้าง โดยตัวของท่านนั้นจะได้เรียบเรียงตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงงานชิ้นสุดท้ายอีกต่างหากในท้ายเล่ม

ผจญมาร

          พระอภิชัย เริ่มงานก่อสร้างในสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 24 จนถึงอายุ 35 ลางร้ายก็เริ่มอุบัติ สมัยนั้นใช้เงินตราปราสาททอง ตรารูปช้างสามหัว และเริ่มมีธนบัตรใช้ควบคู่กันไป ขณะที่กำลังก่อสร้างกุฏิวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน แต่ยังไม่ทันเสร็จ ปลัดอำเภอลี้สมัยนั้นก็มาสอบถามถึงใบกองเกินการเกณฑ์ทหารจากท่าน แต่ท่านไม่มี ตำรวจจึงคุมตัวไปจังหวัดลำพูนและส่งตัวฟ้องศาล เมื่อถูกศาลไต่สวนถึงใบกองเกิน ว่าทำไมถึงไม่ได้รับท่านก็ในการว่า ขณะที่เริ่มมีการเกณฑ์ทหารนั้น ได้ระบุว่าให้ขึ้นทะเบียนตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ขณะนั้นอายุอาตมาได้ 25 ปี บัดนี้อายุของอาตมาได้ 35 ปีแล้ว จึงนับว่าพ้นการเกณฑ์แล้ว ศาลจึงพักเรื่องนี้ไว้ก่อน

ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งแรก

          หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านก็ต้องขึ้นศาลอีก และให้ท่านรับใบกอง แต่ท่านก็ไม่ได้ไปแจ้งแก่ทางการให้มีการยกเว้นหรืออย่างไร ฉะนั้นท่านจึงมีความผิดให้จำคุก 6 เดือน แล้วให้จัดการสึกท่านออกจากการเป็นพระภิกษุก่อน แต่ท่านก็ยังยืนยันว่าท่านบริสุทธิ์ ท่านเป็นพระทั้งกายและใจ ชีวิตนี้อุทิศให้กับศาสนาแล้ว ท่านไม่ยอมเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายของท่านด้วยมือของตัวเองเป็นอันขาด

          เมื่อยืนยันอย่างนี้ ศาลจึงให้ตำรวจคุมตัวท่านไปหาเจ้าคณะจังหวัด ให้จัดการสึกตามระเบียบ แม้กระนั้น ท่านก็ยังยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว ที่จะไม่ยอมสึก และเมื่ออภิชัยภิกษุไม่ยอมสึก เจ้าคณะจังหวัดจึงต้องบังคับ โดยให้ตำรวจจับเปลื้องผ้าเหลืองออกจากตัวท่าน จากนั้นก็ตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจล้นเหลือในสมัยนั้น ก็สวมกุญแจมือท่าน แล้วคุมตัวไปโรงพักเสียคืนหนึ่ง

          วันรุ่งขึ้นเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ก็ถูกส่งเข้าจองจำในเรือนจำของจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นต่อไป ซึ่งในนั้นท่านต้องได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส

          ท่านเล่าถึงชีวิตในคุกตอนนั้นว่า คุกในสมัยนั้นสุดแสนสกปรก ยังเป็นคุกไม้ พื้นปูกระดาน เวลานอนก็นอนทั้ง ๆ ที่ล่ามโซ่ โดยสอดร้อยกับนักโทษคนอื่น คือข้อเท้าทั้งสอง ล่ามโซ่ตรวน มีโซ่เส้นใหญ่ สอดร้อยลอดตะขอพ่วงกับนักโทษคนอื่นอีกที

          เรื่องจะนอนหลับสบายนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะพอล้มตัวนอน ฝูงเลือดนับเป็นร้อย ๆ ตัวอ้วนปี๋เป็นต้องรุมกัดดูดเลือดกิน ให้ยุบยิบไปหมด จะถ่ายหนักถ่ายเบา ก็ว่ากันตรงช่องกระดานตรงที่ใครที่มัน เรื่องกลิ่นเหม็นไม่ต้องห่วง คลุ้งไปหมดตลบอบอวลทั้งเรือนจำทีเดียว

          ชีวิตประจำวันในห้องขังก็คือ พอ 7 โมงเช้า เปิดประตูห้องขัง ทำงานไม่ทันใจ ถึงเวลา 8 นาฬิกา ผู้คุมเป่านกหวีดเลิกงาน ทานข้าว ซึ่งข้าวนี่ก็อย่าหวังว่าจะกินให้อิ่มหมีพีมัน และเอร็ดอร่อย ไม่มีทาง ข้าวกระติกเล็ก ๆ แกงถ้วยหนึ่ง ต้องกินถึง 4 คน พอหรือไม่พอกิน ก็มีให้เท่านั้น ซึ่งแน่ละเวลากินก็ใช้ความว่องไว ขืนมัวทำสำอาง ค่อยเป็นค่อยกิน เป็นต้องอด คนอื่นที่เขาไว กินเรียบหมด และกับข้าวแต่ละวันนั้นเลือกไม่ได้ จะมีจำพวกผักเสียแหละเป็นส่วนมาก เช่น ยอดฟักทอง ผักตำลึงเป็นต้น แกงใส่ปลาร้า ค้างปี เหม็นหืน หาความอร่อยไม่มีเลย ถ้าเทให้หมูกินยังสงสัยอยู่ว่ามันจะกินหรือไม่ ข้าวนึ่งที่ใช้รับประทานก็เป็นข้าวเก่า แข็งเหมือนกินก้อนกรวด เป็นข้าวแดงใช้แรงนักโทษนั่นเองช่วยกันตำ จึงดีอยู่หน่อยที่มีวิตามิน กินแล้วแรงดี

อุปสมบทครั้งที่ 2

          ในวันที่แล้วเสร็จงานฉลองสมโภช ท่านก็เดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ทีวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในครานั้นท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทท่านเป็นภิกษุอีก โดยมีครูบาแห่งวัดนั้นตาเป็นอุปัชฌาย์หลังจากได้กลับมา สู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านอยู่จำพรรษากับครูบาศรีวิชัยได้ 1 พรรษา ก็ลาอาจารย์จาริกสร้างสถานที่ต่าง ๆ ต่อไปอีกหลายแห่งทั้งวัดและโรงเรียน และในคราวเมื่อสร้างพระเจดีย์ที่บ้านนาหลวง อำเภอตากจังหวัดตากเสร็จแล้ว ท่านก็มุ่งสู่แม่สอดโดยเดินทางรอนแรมไปตามป่าเขาลำเนาไพรถึง 4 คืน 4 วันจึงถึงแม่ระมาดและเริ่มงานสร้างถาวรวัตถุอีกมากมาย จากอายุ 36 ถึง 42 ปี

ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งที่ 2

          ที่แม่ระมาดนี่เอง ก็มีเรื่องน่าเศร้าใจเกิดขึ้นอีกกล่าวคือ เมื่อสร้างโบสถ์แม่ระมาดนั้นเงินไม่พอ ยังขาดอยู่อีก 700 บาท เป็นค่าทองคำเปลว 400 บาท กับค่านายช่างอีก 300 บาท ท่านก็ปรึกษาเรี่ยไรเอาจากชาวบ้านจนครบด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน แล้วช่วยกันสร้างต่อ จนแล้วเสร็จทันฉลอง

          เมื่อเรื่องการเรี่ยไรนี้ทราบถึงอำเภอ จึงเรียกกำนันไปสอบสวนว่า อภิชัยภิกษุ เรี่ยไรจริงหรือไม่ กำนันก็รับว่าจริงแต่ด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นงานสร้างโบสถ์ก็หยุดชะงัก ทางอำเภอก็ว่าเต็มใจหรือไม่ก็ผิดเพราะเป็นพระเป็นเจ้าจะทำการเรี่ยไรไม่ได้ ผิดระเบียบคณะสงฆ์ แล้วรายงานเรื่องนี้ไปยังเจ้าคณะจังหวัดๆ จึงตัดสินว่าให้สึกพระอภิชัยเสีย ท่านจึงจำยอมสึกจากภาวะความเป็นภิกษุอีกครั้ง ท่ามกลางความสลดหดหู่ของผู้คนที่รู้เห็นเป็นอันมาก ที่ท่านครูบาของพวกเขาต้องมารับกรรมเพราะทำความดี อย่างไม่ยุติธรรม

          ท่านต้องนุ่งห่มแบบชีปะขาวอีกครั้งหนึ่งที่ให้ต้นประดู่แห้งที่ยืนต้นตายซากมานานเป็นแรมปี ณ ที่นี้ เองมีเรื่องที่น่าอัศจรรย์สมควรจะบันทึกไว้คือ พอท่านเปลี่ยนผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายมาครองผ้าขาวเท่านั้น ต้นประดู่ที่แห้งโกร๋นปราศจากใบ ก็ผลิตดอกออกใบฟื้นเป็นขึ้นมาอีก ท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของบรรดาประชาชนที่ร่วมชุมนุมอยู่เป็นอันมาก ต่างพากันหลั่งน้ำตา ล้มตัวก้มลงกราบโดยพร้อมเพรียงกัน นับเป็นปรากฏการณ์ที่จะไม่เห็นอีกในชีวิต

อุปสมบทครั้งที่ 3

          ที่วัดพระสิงห์นี้ ท่านครูบาศรีวิชัยก็อุปสมบทให้ท่านเป็นภิกษุอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าท่านไม่มีบุญพอที่จะอยู่ในผ้าเหลืองได้นาน ๆ พอท่านครูบาศรีวิชัยก็เกิดคดีต่าง ๆ นานา ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ คงทิ้งให้ท่านอยู่รักษาวัดพระสิงห์แต่เพียงผู้เดียว

ครองผ้าขาวครั้งที่ 3

          ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงในตัวอาจารย์ของท่านยิ่งนัก แล้วก็มีมารมาผจญอีกจนได้เมื่อ มหาสุดใจวัดเกตุการามกับท่านพระครูวัดพันอ้นรูปหนึ่งมาหลอกว่าให้ท่านสึกเสีย เพราะมิฉะนั้นท่านจะเอาครูบาศรีวิชัยจำคุก ท่านจึงสึกเป็นชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งสุดท้าย แล้วออกจากวัดพระสิงห์กลับไปพักที่วัดบ้านปางด้วยความเหงาใจ แต่ท่านก็ไม่ละทิ้งงานก่อสร้าง จึงได้สร้างกุฏิที่วัดบ้านปางอีก 1 หลัง แล้วกลับไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะตามเดิม

สูญเสียอาจารย์

          ชีวิตท่านช่วงนี้ คงมุ่งอยู่กับงานก่อสร้างไม่หยุดหย่อน จากที่นี่ย้ายไปที่นั่นไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งครูบาศรีวิชัยพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวหา ท่ามกลางความดีใจของสาธุชนทั้งหลาย แต่ความดีใจนั้นคงมีอยู่ได้ไม่นานท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้อาพาธหนัก แล้วถึงแก่มรณภาพลงในที่สุด ยังความโศกาอาดูรให้เกิดแก่มหาชนผู้เลื่อมใสโดยทั่วไป

          ลานนาไทยได้สูญเสียนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ หากจะเอาเสียงร่ำไห้มารวมกันแล้วไซร้เสียงแห่งความวิปโยคนี้คงได้ยินไปถึงสวรรค์ ท่านเองในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ก็มีความเศร้าโศกเสียใจมิใช่น้อย แต่ก็ปลงได้ด้วยธรรมสังเวชโดยอารมณ์กัมมัฏฐาน แล้วทำทุกอย่างในฐานะศิษย์จะพึงมีต่ออาจารย์ด้วยกตเวทิตาธรรม ท่านจึงสร้างเมรุหลังหนึ่งกับปราสาทหลังหนึ่งพร้อมหีบบรรจุศพ เพื่อเก็บไว้รอการฌาปนกิจต่อไปที่วัดบ้านปาง ซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพท่านครูบาศรีวิชัยอีกไม่กี่ปีต่อมาหลังจากมรณภาพไม่นาน

สร้างวัดผาหนาม ที่พำนักในปัจฉิมวัย

          วัดคืนยังคงหมุนไป พร้อมกับความเป็นนักก่อสร้างนักพัฒนาของท่านก็ยิ่งลือกระฉ่อนยิ่งขึ้น เมื่อขาดท่านครูบาศรีวิชัย ผู้คนก็หลั่งไหลกันมาหาท่านอย่างมืดฟ้ามัวดิน ในฐานะทายาททางธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย

          ผลงานระยะต่อมา เมื่อได้รับพลังอย่างท่วมท้นขึ้น จึงยิ่งใหญ่เป็นลำดับ และกว้างขวางหากำหนดมิได้โดยไม่เคยว่างเว้น จนถึงพุทธศักราช 2470 อายุสังขารของท่านเริ่มชราลงแล้ว คือมีอายุ 76 ปี แต่ท่านยังคงแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ อาจจะด้วยอำนาจผลบุญที่ได้บำเพ็ญมาก็ได้ จึงสมควรจะสร้างสถานที่สักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมในปัจฉิมวัย

          ก็พอดีชาวบ้านผาหนามซึ่งอพยพจาก อ.ฮอด หนีภัยน้ำท่วมมาอยู่ที่บ้านผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพ่อน้อยฝน ตุ่นวงศ์ เป็นประธาน พร้อมกับชาวบ้านได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างอารามใกล้เชิงดอยผาหนาม เพื่อเป็นที่พึ่งกายใจและประกอบศาสนกิจ

          ท่านก็รับนิมนต์ พร้อมกับชอบใจสถานที่ดังกล่าวและ ตั้งใจว่าจะเป็นสถานที่สุดท้ายเพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติธรรมของท่าน คณะศรัทธาบ้านผาหนามและศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศ จึงพร้อมใจกันก่อสร้างเป็นอารามขึ้นจากนั้น จนมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมายและท่านถือที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าท่านจะงดมิไปสร้าง หรือพัฒนาที่อื่นอีก แต่ยังคงไปเป็นประธานสร้างสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่กับงานสร้างวัดผาหนามอีกตั้งหลาย ๆ แห่ง

วันจากที่ยิ่งใหญ่

          แล้วในปี 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งฮ่าม แห่งจังหวัดลำปาง ก็ได้มานิมนต์ท่าน เพื่อไปเป็นประธานในการก่อสร้างอีก ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้องด้วยความเมตตาอันมีอยู่อย่างหาขอบเขตไม่ได้ของท่าน แม้ตอนนั้นท่านจะชราภาพมากแล้ว คือมีอายุถึง 83 ปี ก็ตาม ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวของท่านว่า ท่านเหนื่อยอ่อนแค่ไหน แต่ด้วยใจที่แกร่งเหมือนเพชร ท่านคงไม่ปริปากบ่น เป็นประธานให้ที่วัดสันทุ่งฮ่าม ไม่นานคณะศรัทธาจากวัดท่าต้นธงชัย จ.สุโขทัยก็ได้มานิมนต์ท่านอีก เพื่อเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร

          วันนั้นเป็นวันที่ 2 มีนาคม 2520 ตอนนั้น ท่านเหนื่อยอ่อนมากแล้ว ท่านได้บอกผู้ใกล้ชิดว่าท่านอยากกลับอารามผาหนาม เหมือนดั่งจะรู้ตัวของท่านว่าไม่มีเวลาในการโปรดที่ไหนอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีใครล่วงรู้ถึงข้อนี้ก็หาไม่ คงพาท่านมุ่งสู่สุโขทัยอีกต่อไป และเมื่อถึงวัดท่าต้นธงชัย ได้เพียงวันเดียว ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งตรงกับเดือน 6 เหนือ แรม 14 ค่ำ เวลา 16.00 น. ท่านได้ได้จากไปอย่างสงบ

          ข่าวการจากไปของท่านกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ ทุกคนตกตะลึง ต่างพากันช็อกไปชั่วขณะมันเหมือนสายฟ้าที่ฟาดเปรี้ยงลงบนกลางใจของทุกคน ที่เลื่อมใสเคารพรักในตัวท่าน แล้วจากนั้น เสียงร่ำไห้ก็ระงมไปทุกมุมเมืองพวกเขาได้สูญเสียร่มโพธิ์แก้วอันร่มเย็นไพศาลไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ ตั้งแต่นี้จะหาครูบาเจ้าที่มีความเมตตาอันหาของเขตมิได้และยิ่งใหญ่ปานนี้

          แต่แรกมีหลายคนไม่เชื่อและตะโกนว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านยังอยู่และจะต้องอยู่ต่อไป ต่อเมื่อได้รับการยืนยันว่าท่านสิ้นแล้ว สิ้นแล้วจริง ๆ ก็ทุ่มตัวลงเกลือกกลิ้งร่ำไห้พิลาปรำพันอย่างน่าเวทนายิ่งนัก โอ้...ท่านผู้เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ป่านนี้ท่านคงเป็นสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ที่สะพรั่งพร้อมด้วยทิพยวิมานอันเพริดแพร้วใหญ่โดสุดพรรณนาด้วยผลบุญแห่งการบำเพ็ญมาอย่างใหญ่หลวงเหลือคณา คงเหลือแต่ผลงานและประวัติชีวิตอันบริสุทธิ์ทิ้งไว้แด่อนุชน ได้ชื่นชม และเสวยผลเป็นอมตะชั่วกาลปาวสาน

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด