พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ
ข้อมูลประวัิิติ หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ ชัยนาท

          ประวัติหลวงปู่เย็น ทานรโต นามเดิม เย็น ศรีศาสตร์ ชาติภูมิ บิดา นายถิ่น ศรีศาสตร์  มารดา นางเเช่ม ศรีศาสตร์ เป็นชาวเดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี เกิด วันเสาร์ ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๔๕ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง ๖ คน

          อาชีพ ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพกสิกรรม มีฝีมือทางช่างไม้ ช่างปูน เเละมีความสามารถออกเเบบบ้าน วัดวาอาราม

          อุปสมบท อายุครบบวช ณ วัดเดิมบาง สุพรรณบุรี เเละได้ย้านมาอยู่ วัดระฆังโฆสิตาราม เรียนพระธรรมวินัย ภาษาบาลี เเละภาษาขอม

          วิทยฐานะ สอบได้นักธรรมเอก เปรียญสี่ประโยค

          ผลงาน บูรณะวัดร้าง วัดกลางชูศรีเจริญสุข อำเภอบางระจัน สิงห์บุรี

          บูรณะวัดร้าง วัดสระเปรียญ สรรคบุรี  ชัยนาท สร้างสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง สถานีอนามัยหัวเด่น สรรคบุรี

          อาพาธ ตั้งเเต่ปี๒๕๓๔ ระบบขับถ่ายไม่ปรกติ โรคหอบ ถุงลมโป่งพอง เข้าออกโรงพยาบาลเสมอ ครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชการ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๙

          มรณภาพ ด้วยอาการสงบ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลา ๑๓.๔๕ รวมอายุได้ ๙๔ปี ๒เดือน ๑๑วัน

          อุปนิสัย  มีความเมตตาสูง อารมณ์ดี ยิ้มเเย้มตลอด พูดตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม นอบน้อมถ่อมตน มีวิธีสอนธรรมะอย่างสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ให้กำลังใจต่อศิษย์ในการต่อสู้ชีวิต เเละอุปสรรคต่างๆ
          
          หมายเหตุ หลวงปู่เคยลาสิขามีครอบครัว สมรสกับนางลมัย อิ่มสำราญ ชาวบางระจัน สิงห์บุรี มีบุตรธิดา ๖ คน หลังจากเห็นภัยในวัฎฎะ หลวงปู่จึงออกบวชอีกครั้ง จนมรณภาพ ส่วนคุณเเม่ลมัย เมื่อหลวงปู่ออกบวชก็มิได้ทัดทาน เเต่ยังอนุโมทนากับหลวงปู่ด้วย ตอนที่หลวงปู่มาบูรณวัดร้าง วัดกลางชูศรี คุณเเม่ลมัยก็ได้บวชเป็นชีพราหมณ์ที่วัดด้วย คอยดูเเละเรื่องอาหารขบฉัน เเม้หลวงปู่จะย้ายมาวัดสระเปรียญ คุณเเม่ลมัยก็ยังตามาดูเเลเสมอ หลังจากสุขภาพไม่ดี คุณเเม่ก็ไปอยู่กับลูกสาว ปัจจุบันคุณเเม่สมัยอายุ๘๑ปี(พ.ศ.๒๕๓๙)

พระธุดงค์ลึกลับ
          สมัยที่หวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังนั้น วันนึงท่านเห็นพระธุดงค์รูปนึง เเบกกลด สะพายย่ามผ่านมา ท่านเห็น เกิดความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา จึงเข้าไปกราบขอนิมนต์ให้ท่านเข้ามาพักในกุฎิก่อนเเละให้การต้อนรับท่านอย่างดี
ระหว่างการสนทนา หลวงปู่ได้ขอให้ท่านเล่าถึงเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับการธุดงค์ของท่านให้ฟัง พระธุดงค์เล่าว่า ท่านธุดงค์ไปถึงฝั่งลาว ผ่านป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายเเละไข้ป่า ที่ร้ายกว่านั้นคือ ท่านผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านเเก้ว ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษเเละยาสั่ง คนที่ผ่านเข้าไปจะต้องถูกลองด้วยยาสั่งเเละยาพิษเสมอ น้อยคนนักที่จะรอดมาได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่ได้ฟัง จึงเกิดความสงสัย ถามว่า ไม่กลัวเขาทำให้ตายเหรอ พระธุดงค์ตอบว่า เขาทำให้ตาย กินข้าวได้ เราไม่กลัว 
พระธุดงค์ตอบเป็นปริศนา เเม้หลวงปู่เย็นไม่เข้าใจนักเเต่ก็มิได้ซักถามต่อ เมื่อได้สนทนาต่อไปเรื่อยๆ จึงเริ่มรู้ว่า พระธุดงค์รูปนี้ ไม่ธรรมดา เเต่เป็นพระที่ทรงอภิญญาเเละเรืองวิทยาอาคมยิ่งองค์นึง ท่านจึงไม่เกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น  ไม่ว่าสัตว์ร้าย ไข้ป่า หรือเเม้กระทั้งคน ท่านได้ธุดงค์ไปเเล้วทั่วเเผ่นดินไทย ไปถึงเมืองญวณ เขมร ลาวเเละพม่า ก่อนจากกัน ท่านได้มอบสิ่งของบางอย่างให้กับหลวงปู่เย็น ท่านบอกว่าเป็นเเก้วสารพัดนึก สามารถดลบันดาลให้เป็นไปได้ตามปรารถนาได้ทุกประการ หลวงปู่เย็นได้กราบด้วยความสำนึกในความมีเมตตาของท่าน เเต่พอหหลวงปู่เงยหน้ามา พระรูปนั้นก็ได้อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย 

ตัว พ มหัศจรรย์
          ตอนที่พระธุดงค์บอกกับหลวงปู่ว่า มีขอวิเศษจะมอบให้  ท่านได้เอื้อมมือๆไปหยิบก้านธูปในกระถางรูปบูชาพระ เเล้วเอามาหักเป็นอักษรตัว พ จากนั้น เอาด้ายสายสิญณ์ มาพันก้านธูปกลับไปกลับมา พร้อมบริกรรม คาถากำกับลงไปตลอดเวลา เมื่อเสร็จเเล้วก็มอบให้หลวงปู่เย็น เเละบอกว่า นี่คือเเก้วสารพัดนึก

          พระธุดงค์ได้สาธยายคุณวิเศษของตัว พ ว่า เป็น ตัวเเทนของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ เเละพระสังฆคุณ เป็นของวิเศษดุจดังเเก้วสาพัดนึก หากปรารถนาสิ่งใด ให้ ยกตัว พ ขึ้นจบ เเล้ว ภาวนาขอบารมีเเห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บันดาลให้เป็นไปตามที่ปรารถนาก็จะได้ สมดังตั้งใจ 

          เมื่อหลวงปู่เย็น ขอเรียนวิชา ท่านก็ถ่ายทอดให้ พอหลวงปู่ก้มลงกราบขอบพระคุณท่าน พอเงยหน้ามา ก็ไม่เห็นท่านเสียเเล้ว  เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ท่านได้เห็นครั้งเเรกในชีวิต ถือว่า พระธุดงค์เป็นพระรูปเเรกที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ท่าน

          หลวงปู่บอกว่า ท่านชื่ออะไรไม่รู้ เเต่ท่านก็จำหน้าพระธุดงค์ได้อย่างเเม่นยำ ท่านมารู้ทีหลังก็เมื่อได้เห็นรูปท่าน หลวงปู่ท่านชี้ให้ดูรูป พระครูโลกอุดร ที่ท่านได้ใส่กรอบบูชาไว้ที่หัวนอน เเละได้กล่าวว่า อาจารย์องค์นี้เเหละ ที่ทำให้กูสร้างวัดได้สำเร็จ
เสาะหาอาจารย์ดี
          หลวงปู่เย็น อยู่วัดระฆังได้ ๙ พรรษา ก็พยายามหาอาจารย์ดีอยู่เสมอ ท่านได้ข่าวว่าหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระเกจิที่ทรงอาคมเเก่กล้า จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ โดยไม่ร้อช้า เเล้วก็ถ่ายทอดวิทยาการต่างๆให้ ทั้งทางด้านวิทยาคม การผสมธาตุสำหรับนำมาสร้างเครื่องรางของขลัง ตลอดจนวิชาเเพทย์เเผนโบราณการผสมยา 
ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขยันขันเเข็ง ไม่นานต่อมาหลวงปู่เย็นก็สามารถเรียนวิชาต่างจากหลวงพ่ออิ่มได้หมด เเต่หลวงปู่เย็นยังอยากเรียนวิชาอีก หลวงพ่ออิ่มจึงได้ฝากฝังให้ไปเรียนต่อกับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ผู้ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเเละเป็นอาจารย์ของพระเกจิหลายรูป อาทิเช่น หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อกวย วัดบ้านเเค หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อพิมพ์ วัดวิหารทอง หลวงพ่อเเพ วัดพิกุลทอง เป็นต้น หลวงปู่ได้อยู่เรียนวิชา ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อศรีด้วยความขยันขันเเข็ง ท่านจึงได้เมตตาสอนวิชาความรู้ต่างๆให้หลวงปู่เย็นจนหมดสิ้น 

วัดกลางชูศรี
          ปี ๒๕๐๗ หลวงปู่เย็นได้ออกธุดงค์ ไปทางอำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี พบเจดีย์เก่าในพงหญ้ารกครึ้ม ในสภาพทรุดโทรม จึงรู้ว่าที่เเห่งนี้เป็นวัดร้าง ด้วยจิตกุศลอันเเรงกล้า ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะบูรณะก่อสร้างขึ้นใหม่ หลวงปู่จึงขายที่นาที่เป็นมรดกตกทอดหลายเเปลง นำเงินที่ได้มาซื้ออิฐ หิน ปูน วัสดุก่อสร้างต่างๆ ด้วยที่ท่านมีฝีมือในการก่อสร้าง จึงสร้างกุฎิสงฆ์ ศาลาประกอบศาสนกิจ หอสวดมนต์ ขุดสระ บูรณจนวัดมีสภาพที่ดีเเละมีความเจริญรุ่งเรือง เเละมีนามว่า วัดกลางชูศรีเจริญสุข
          ในการบูรณะวัด นอกจากใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวจากการขายที่ดิน หลวงปู่ยังได้สร้างตัว พ ไว้ให้เเก่ผู้ที่นำวัสดุก่อสร้างมาถวาย ผู้ใดถวายปูนหนึ่งถุง ท่านจะมอบตัว พ ให้หนึ่งตัว ต่อมาผู้ที่ได้รับตัว พ ไป นั้น ตัว พ ได้ก่ออภินิหาร มีประสบการณ์มากมาย ผู้ที่บูชานำไปตั้งจิตอธิษฐาน มักสมหวังในสิ่งที่ตั้งใจเสมอ จนเป็นที่เลื่องลือ จนมีผู้คนมากมายมาขอตัว พอจากหลวงปู่กันมากมาย สมัยก่อน ปูนถุงละ ๒๐ บาท ใครถวายปูนหนึ่งถุง ท่านก็จะให้ตัว พ หนึ่งตัว เมื่อปูนขึ้นราคา ตัว พ ก็ขึ้นราคาตามไปด้วย เเต่สมัยก่อน ชาวบ้านนึกถึงในเรื่องการทำบุญ ไม่ได้คิดถึงพุทธพาณิชย์เเต่อย่างใด เเต่หลวงปู่จะพูดเสมอว่า ตัว พ ของท่านเป็นพุทธพาณิชย์ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา จะถูกใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตุต่างๆภายในวัดทั้งสิ้น พูดได้ว่า หลวงปู่สร้างวัดด้วยตัว พ จริงๆ
          ในช่วงบูรณวัด หลวงปู่จะทำงาน ก่อสร้าง ลงมือด้วยตัวท่านเอง ถ้ามีญาติโยมเจ็บป่วยมา ท่านก็จะช่วยรักษาให้ ใช้ยาเเผนโบราณบ้าง น้ำมนต์บ้าง กลางคืน หลังจากสวดมนต์ไหว้พระ หลวงปู่จะนั่งหักก้านธูปทำตัว พ ไว้เเจกจ่ายสมนาคุณเเก่ผู้ที่มาทำบุญ 

นิมนต์หลวงปู่บุดดา
          ครั้งนึงหลวงปู่ได้รับกิจนิมนต์ ไปพบพระรูปนึงที่มีสำเนียงการเทศน์ที่น่าฟังยิ่ง กริยาสงบน่าเลื่อมใส บ่งบอกถึงความเป็นนักธรรมปฎิบัติ เกิดความผูกพันธ์ อยากเชิญชวนให้ท่านมาอยู่วัดที่ท่านกำลังสร้างอยู่ หลังจากเสร็จกิจสงฆ์ หลวงปู่จึงเข้าไปนมัสการเเละนิมนต์ให้ท่านมาอยู่วัดกลางชูศรี เพื่อช่วยกันพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป พระภิกษุรูปนั้นก็รับปาก พระสงฆ์ที่หลวงปู่นิมนต์มาอยู่ด้วย เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ท่านคือ หลวงปู่บุดดา ถาวโร 
          หลังจากหลวงปู่บุดดมาอยู่ด้วย วัดกลางชูศรีก็กลายเป็นวัดของนักปฎิบัติธรรมโดยเเท้จริง โดยมีหลวงปู่เย็นเป็นผู้นำในการเจริญวิปัสนากรรมฐาน หลวงปู่กล่าวเสมอว่า ตราบใดที่หลวงปู่บุดดายังอยู่ที่วัด ความเจริญรุ่งเรืองก็จะมาเรื่อยๆ เพราะหลวงปู่บุดดาเป็นพระเเท้ ไม่ต้องทำอะไร ลาภสักการะก็จะไหลมาเทมา พูดได้ว่า ยามหลับได้เงินหมื่น ยามตื่นได้เงินเเสน จริงอย่างที่กล่าว ครั้งใดที่ญาติโยมมากราบขณะที่หลวงปู่บุดดาจำวัด ทุกคนจะเกรงใจ ไม่กล้ารบกวนท่าน โดยจะถวายปัจจัยใส่ซองไว้ที่ใกล้ตัวท่าน หลังจากที่วัดมีความเจริญรุ่งเรืองสมดังปณิธาน หลวงปู่ได้ถวายวัดให้กับหลวงปู่บุดดา ตัวท่านเองก็ออกเสาะหาวัดร้างที่จะบูรณะต่อไป

วัดร้างการเปรียญ
          ที่ตำบลบางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ไม่ไกลจากวัดบ้านเเคของพระเกจิที่ทรงคุณวิเศษเเละเป็นที่เคารพของศิษยานุศิษย์ท่านนึง คือ หลวงปู่กวย ชุตินธโร มีวัดเก่าเเก่วัดนึง เป็นวัดร้าง ชื่อว่า วัดการเปรียญ ตอนที่หลวงปู่เย็นไปพบ กรมศาสนาได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นวัดร้างมาเเล้วประมาณ ๖๐ ถึง ๗๐ ปี 
          จากคำบอกเล่าของคนเก่าเเก่ สมัยก่อนมักมีคนมาขุดหาของเก่า ของมีค่าเเละได้ไปจำนวนไม่น้อย 
          เดิมวัดการเปรียญมีเนื้อที่ธรณีสงฆ์อยู่ ๙๐ ไร่ หลังจากการบูรณเป็นวัดใหม่ มีเนื้อที่เหลือเพียง ๗๐ ไร่ ในบริเวณวัด มีสระน้ำสองสระ ถมไปหนึ่ง เหลืออีกหนึ่งสระ เชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในการบูรณะทำการขุดลอกสระ มีการค้นพบเสาไม้ใหญ่ คงเป็นเสาหอไตรที่สร้างไว้กลางสระสมัยก่อน สระนี้ไม่มีใครกล้าลงไป เคยมีคนตักน้ำไปใช้เเล้วเกิดอาเพศภายใน ๓ วัน ๗ วัน บางคนลงไปอาบ ต่อมาตามตัวผิวหนังตกสะเก็ดเหมือนปลา บางคนเป็นผดผื่น รักษาไม่หาย ต้องไปจุดธูปขอขมาที่สระ จึงจะหาย เป็นที่อัศจรรย์ 
ในการสร้างพระเครื่องของวัดสระเปรียญ อาจารย์หนูศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่เย็นมากที่สุด จะลงไปเอาดินในสระมาเป็นส่วนผสมเสมอ เเละไม่เกิดเหตุอะไรเลย เเต่ถ้าคนอื่นลงไป มักเกิดอาเพศทุกครั้ง หลังจากที่วัดได้รับการบูรณะจนดูสวยงามร่มรื่น หลวงปุ่ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดสระเปรียญ มีเเรงจูงใจมาจากที่ว่าวัดนั้นเคยมีหอไตรอยู่กลางสระน้ำนั้นเอง 
หลวงปู่เคยกล่าวไว้ว่า ท่านสร้างวัดกลางชูศรีมาเเล้ว ท่านจะสร้างวัดการเปรียญขึ้นมาใหม่ เเล้วท่านก็ทำได้จริง

ประสิทธิ์ตัว พ
          หลวงปู่เป็นพระใจดีมีเมตตาต่อสาธุชนทุกคน เเม้ตัวท่านจะมีโรคประจำตัว กลางวันท่านจะรับเเขก โปรดญาติโยมด้วยความเมตตา กลางคืน ท่านจะนั่งทำตัว พ ไว้เเจกจ่ายเเละมอบให้กับปผู้ที่มากราบเเละทำบุญ ใครที่มารับตัว พ หลวงปู่จะประสิทธิ์ให้อย่างเสียงดังว่า พ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ ให้เขากินอิ่มนอนหลับ พ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ เขาจะเอาอะไร ก็ขอให้เขาได้สมปรารถนา พระเจ้าพ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ พระเจ้าเเม่จงมาโปรดลูกคนนี้ พุทธเตเชนะ ธัมมะเตเชนะ สังฆะเตเชนะ  ความใดอย่าให้ถูก ปติเสรามิ พุทธเมตตาจิต ธัมมะเมตตาจิต สังฆะเมตตาจิต นะเมตตา โมกรุณา พุทปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู อิสวาสุ สุสวาอิ พุทธปิติอิ

มรณภาพ
          หลวงปู่เย็นอาพาธด้วยโรคหอบเเละถึงลมโป่งพอง ระบบขับถ่ายไม่ปรกติ ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเสมอ เข้ารับการรักษาครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ในความดูเเลของนายเเพทย์ประเจิด เเละเเพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชการ หลวงปู่มรณภาพโดยอาการสงบเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙  เวลา ๑๓.๔๕ น. สิริรวมอายุได้  ๙๔ ปี ๒ เดือน ๑๑ วัน หลวงปู่ได้สั่งไว้ก่อนมรณภาพว่า ถ้าท่านตายให้เอาร่างท่านไปบรรจุไว้ที่เเท่นที่ท่านทำไว้ ลักษณะเป็นเเท่นเเบบฮวงซุ้ย หลวงปู่ได้ก่อปูนทำด้วยตัวท่านเอง อยู่ใกล้กุฎิที่ท่านสร้างไว้ที่วัดกลางชูศรี ปัจจุบัน สังขารหลวงปู่ ถูกบรรจุไว้ที่โลงเเก้ว อยู่ที่ศาลาเอนกประสงฆ์ของวัดสระเปรียญ

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด