พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
พระอาจารย์เฮง ไพรวัลย์
ข้อมูลประวัติ อาจารย์เฮง  ไพรวัลย์

เกิด                         ปี 2428 

อุปสมบท               ครั้งแรก ณ วัดสุวรรณคาราราม  พระนครศรีอยุธยา  ได้ศึกษาตำรับตำราวิชาโบราณต่าง ๆ จากวัดประดู่โรงธรรม  ซึ่งเป็นวัดที่เก็บรวบรวมตำรับตำราต่าง ๆ เอาไว้มากมาย  อันเป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วยเวทย์มนต์คาถา  และอักขระเลขยันต์เฉพาะอย่างยิ่ง  ท่านได้เรียนรู้ตาม คัมภีร์รัตนมาลา  อย่างแตกฉาน  และเจนจบ  ภายหลังท่านได้ลาสิกขาบท  และกลับมาอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดพระญาติการาม  โดยมีหลวงพ่อกลั่น  ธัมมโชติ  เป็นพระอุปัชฌาย์  ได้ศึกษาสรรวิชาหลายแขนงจากหลวงพ่อกลั่น  และได้ลาสิกขาบทอีกครั้ง  เป็นฆาราวาสจนกระทั่งถึงแก่ชีวิต

เสียชีวิต                 ปี 2502

รวมสิริอายุ              75 ปี

          ประวัติ "อาจารย์เฮง ไพร์วัล" จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ ๗๕ ปี"


          พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน

          เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนา คือ จ.พระนครศรีอยุธยา คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน

          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ

          ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก

          หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน

หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง

          ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่

          สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

          โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังเดิม

          *** ตอนสมัยที่ท่านเข้ามาพระนครนั้น เป็นสมัยยุคนักเลง และ อั้งยี่เฟื่องฟู... พวกที่คอยขย้ำกันอยู่ในเมืองกรุงก็มี เก้ายอด หลวงพ่อหรุ่น , พวกยันต์แดง อ.เฮง , สามล้อถีบวัดสามจีน และ พวกลูกศิษย์สาย หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา พ่อแก้ว คำวิบูลย์

          สมัยนั้น อ.เฮง จอดเรืออยู่หน้าวัด เชิงเลน (วัดบพิธภิมุข)... สักกันจนตำรวจต้องไปขอร้องให้เลิกสัก..เพราะลูกศิษย์ลูกหาไปเป็นโจรกันเยอะเหลือเกิน ปราบก็ยาก เนื่องจากคงกระพันนั้นเป็นเลิศทีเดียว...
อ.เฮง ท่านเป็นเลิศในหลายๆด้าน ทั้งไสย ทั้งศิลป์ และท่านยังเป็นเพื่อนซี๊ปึก กับ ครูเหม เวชกร... ครั้งนึง ครูเหม ออกปากว่า.. "..หน้าพรหม ไม่มีใครเขียนให้เห็นได้ทั้งสี่หน้า ที่ อ.เฮงคนเดียว ที่เขียนได้.."

          ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้มากครับ แต่ขอยกตัวอย่างชิ้นนึงคือเหรียญพรหม4 หน้า อ.เฮง มีหลายรูปแบบ ทั้ง หน้าโล่ห์ ทรงกลม ข้าวหลามตัด... เป็นที่นิยมมานาน ของแท้นั้นหาดูไม่ง่ายนัก...แต่นับวันยิ่งจะสูญหาย และหาคนเป็นได้น้อยลง ...ที่จะว่ากันวันนี้ ก็จะเป็นเหรียญนิยมที่เรียกว่าเหรียญโล่ห์ และรูปนำมาให้ชมกันวันนี้ เป็น "เหรียญโล่ห์เงิน หน้าทอง" ... โดยองค์พรหมจะเป็นทองคำ ยึดติดกับพื้นเหรียญด้วยวิธีตอกตาไก่ และจะมีรอยจารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ที่สำคัญที่ด้านหลัง กึ่งกลางเหรียญจะลงไว้ด้วยยันต์ "จักรเพชร" หรือ "ยันต์ภา" นั่นเอง โดยการผูกยันต์ภาต่อกันเป็นรูปวงกลม โดยรอบจะมี ตารางตรนิสิงเห . เม อะ มะ อุ , นะ ทรงธรณี รวมทั้งยันต์ห้าด้วย...ลงจารไว้อย่างสวยงามทีเดียว

          เหรียญพรหม ของท่าน อ.เฮงนั้น หลายท่านเคยตั้งข้อกังขาว่า พิธีจะครบหรือไม่...ยืนยันครับว่า ครบ ท่าน อาจารย์ผูกพิธีทั้งพุทธ และ พาร์ม อย่างครบถ้วน โดยทางพิธีพุทธนั้น มีหลวงปู่สี วัดสะแก เป็นประธานทุกครั้ง

          เครื่องรางชุด "พระมหาพรหมธาดา" นี้ มีดีทุกอย่าง อาราธนาอธิษฐานเอาได้เลย ใช้ได้ทางเมตตา และป้องกันตังแบบครอบจักรวาล เป็นมหาอุด คงกระพัน มีเรื่องเหตุเพทภัย ให้อาราธนาดังนี้ "โอม จัตุรพักตรพรหมา นะมามิหัง" แล้วจะรอดปลอดภัยทุกประการ ด้วยจิตที่ยึดมั่น ใจมั่น
 

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างเอาไว้ คือ เครื่องรางของขลังชนิดต่าง ๆ ทั้งคชสีห์  เขี้ยวเสือแกะ  ตะกรุด  ท้าวเวชสุวรรณ  นางกวัก  ประคำ  ปลัดขิก  พระสิวลี  เหรียญพรหมสี่หน้า  และอื่น ๆ อีกมากมายหลายชนิด

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  อยู่ยงคงกระพันชาตรี

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด