พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อมุม อินทปญโญ วัดปราสาทเยอร์ ศรีสะเกษ 

          พระครูประสาธน์ขันธคุณหรือหลวงพ่อมุม อินทปญโญ* แห่งวัดปราสาทเยอเหนือ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ นามเดิมว่า "มุม" นามสกุล "บุญโญ" เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2430และมรณภาพในปี 2522 ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดต่อพระวินัยเป็นอย่างยิ่ง มีวัตรปฏิบัติที่ งดงาม อุปนิสัยที่เยือกเย็น ใจดี ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ จึงเป็นที่เคารพยิ่งของประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็เคยเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระกฐินส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2514 นับเป็นวัดแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พระองค์ท่านได้พระราชทานกฐินส่วนพระองค์

          *หมายเหตุ : เนื่องด้วยไม่สามารถพิมพ์อักขระบางตัวในภาษาลาลีสันสกฤตได้ จึงทำให้ชื่อทางภาษาบาลีสันสกฤตนั้นไม่ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด ซึ่งชื่อที่ถูกต้องนั้นจะมีจุดอยู่ใต้อักษร "น" และ "ป" 

          ซุ้มประตูวัดปราสาทเยอร์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นปราสาทของชนเผ่าเยอหนึ่งในสี่เผ่าไทยของชนพื้นเมืองศรีสะเกษซึ่งแต่เดิมนั้นอำเภอไพรบึงขึ้นอยู่กับอำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
 
          เป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ครูบาอาจารย์อย่าง..หลวงพ่อมุม..ที่คนทั้งบ้านทั้งเมืองรู้จักและศรัทธาเต็มหัวใจกลับหาตัวผู้ทราบประวัติของท่านได้อย่างลึกซึ้งไม่มี ท่านจึงเป็นครูบาอาจารย์ที่มีความเป็นมาของท่านมัวซัว เหมือนมีหมอกขึงม่านกั้นไว้ ไม่อาจมองเห็นหรือทราบชัด หลายคนไม่เชื่อว่าท่านเป็นชาวบ้านปราสาทเยอร์ แต่ในประวัติที่มีผู้ได้บันทึกไว้บอกว่า..ท่านเกิดที่บ้านปราสาทเยอร์ ข้อขัดแย้งนี้มีน้ำหนักมากพอๆกัน เหตุผลของฝ่ายที่ไม่เชื่อว่าท่านเป็นชาวบ้านปราสาทเยอร์ คือท่านเป็นคนผิวขาวเกินไป ผิดวิสัยของชาวปราสาทเยอร์ที่ผิวคล้ำดำ เพราะว่าโดยมากถือเชื้อสายค่อนไปทางเขมร แต่หลวงพ่อมุมต่างเขาผู้อื่นอยู่คนเดียว ถ้าหากว่าท่านเกิดที่บ้านปราสาทเยอร์จริง บิดามารดาของท่านก็คงจรมาจากที่อื่นเป็นคนต่างถิ่น ไม่ใช่คนบ้านปราสาทเยอร์ เหตุผลนี้น่าฟังอยู่เหมือนกัน....ในประวัติที่ทางวัดบันทึกไว้อย่างสั้นที่สุด...น้อยที่สุด....ก็ไม่บอกว่าท่านเป็นใคร มาจากไหน บิดา มารดาเป็นใคร เหลือเชื่อที่ไม่มีใครบันทึกไว้เลย ถามไถ่ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันที่เคยอยู่ร่วมกัน หลวงพ่อมุมสมัยที่องค์ท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังไม่อาจบอกได้...ประวัติหลวงพ่อมุมที่ทางวัดบันทึกไว้ คงเริ่มบันทึกแต่สมัยที่ท่านมาอยู่วัดบ้านปราสาทเยอร์เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้นไม่มีการบันทึก ไม่มีประวัติหรือรายละเอียดใด ๆ ของหลวงพ่อมุมแม้แต่น้อย...คงกล่าวแต่เพียงว่าท่านมาอยู่ที่วัดปราสาทเยอร์แล้วได้ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านประอาง เมื่อ พ.ศ. 2459 - 2474 เป็นเวลา 15 ปี นี่คือส่วนที่ลึกที่สุดของประวัติท่าน ต่อจากนั้นก็เริ่มบันทึกเรื่องราวของท่านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เรื่อยมาจนมรณภาพ...การจะเขียนถึงประวัติของท่านจึงเป็นเหมือนคนตาบอดตาฟางคลำหาเป้า ซึ่งข้อผิดพลาดย่อมมีได้ แต่จะลองคลำดู ผิดหรือถูกก็ทิ้งไว้เป็นภาระของผู้รู้ตามแก้ไขภายหลังก็แล้วกัน.....

          ชาติกำเนิดของ...หลวงพ่อมุม อินฺทปัญโญ....ดูจะสับสนอยู่ไม่น้อย ไม่มีใครยืนยันชัดเจนว่าท่านเป็นชาวบ้านปราสาทเยอร์จริงหรือไม่ ผู้เชื่อว่าท่านเป็นชาวบ้านปราสาทเยอร์ก็มี ไม่เชื่อก็มี พื้นเพดั้งเดิมของท่านจึงคลุมเครือ ไม่อาจลงเป็นหลักได้ กระทั่งวัน เดือน ปีเกิดก็หาผู้บันทึกไว้อย่างแน่ชัดไม่ได้ แต่ก็มีผู้ระบุว่าท่านเกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2430 โดยเกิดที่บ้านปราสาทเยอร์นี่เอง เป็นบุตรของนายมากและนางอิ่ม นามสกุล บุญโญ มีพี่น้องร่วมอุทร 5 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง วันเดือนปีที่ปรากฏนี้ก็ไม่มีผู้สนับสนุนว่าถูกต้อง แต่ในรูปเหมือนหล่อด้วยโลหะเท่าองค์จริงที่ประดิษฐานอยู่ประจำวัดปราสาทเยอร์ ทุกวันนี้ มีจารึกว่าถูกสร้างขึ้นอยู่ด้วยคือ “อายุครบ 90 ปี 4 มี.ค. 2520" บางทีวันที่ 4 มีนาคม จะเป็นวันเกิดของท่านก็ไม่รู้ 

          ชีวิตวัยเด็กของท่านนั้นหนังสืออนุสรณ์งานศพบันทึกว่า ท่านได้รับการศึกษาอักษรไทยจากเจ้าอธิการปริม จนอ่านออกเขียนได้ และได้ศึกษามูลกัจจายนะสูตรจนสอบได้นักธรรมตรี ในสนามหลวง และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่สอนหนังสือไทยในโรงเรียนวัดบ้านปราสาทเยอร์เหนือคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2459 - 2474 รวมเวลาที่เป็นครูใหญ่ 15 ปี ขณะที่เป็นครูใหญ่นั้นคำนวณอายุจาก พ.ศ. ที่ได้รับแต่งตั้งถอยหลังไปถึงปีเกิดคือ พ.ศ.2430 ท่านมีอายุ 29 ปี อีกแห่งหนึ่งบอกว่าท่านเริ่มบวชเป็นสามเณรขณะอายุ 12 ปี ที่วัดปราสาทเยอร์ใต้ กับหลวงพ่อบุญมานี้ ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปว่าท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อมุมจริง เหรียญของท่านก็มีผู้นิยมสะสมไว้เหมือนกัน และที่มีวัดปราสาทเยอร์ได้นั้นก็เพราะว่ามีวัดปราสาทเยอร์เหนือด้วย วัดทั้งเหนือและใต้อยู่คนละฟากกัน ถ้าพูดลอยๆว่าวัดปราสาทเยอร์ ขอให้เข้าใจว่าหมายถึงวัดปราสาทเยอร์เหนือ ที่หลวงพ่อมุมเป็นเจ้าอาวาสจนมรณภาพ...

          หลังจากบวชเณรแล้ว..ท่านได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ในการธุดงค์นี้ประวัติทุกแห่งบันทึกไว้ใกล้เคียงกันว่าท่านไปแสวงหาโมกขธรรม หาครูบาอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมตามประเพณีนิยมของผู้ถือบวชสมัยนั้น ท่านธุดงค์ไปไกลถึงประเทศเขมร พม่า และลาว รวมทั้งมาเลซีย...ที่ประเทศลาว ท่านได้พบกับสำเร็จลุน แห่งจำปาศักดิ์ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจนแตกฉาน หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับบ้านเกิดและได้พำนักอยู่วัดปราสาทเยอร์ได้ก่อน แต่ขณะนั้น...วัดปราสาทเยอร์เหนือไม่มีเจ้าอาวาส ร้างผู้ครองวัดนาน 5 ปี ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ท่านมาอยู่ครองวัดปราสาทเยอร์เหนือ ท่านก็รับและได้ครองวัดปราสาทเยอร์เหนือเรื่อยมาจนมรณภาพ โดยเริ่มครองวัดปราสาทเยอร์เหนือเมื่อปี 2464 

          หลังจากที่ได้เป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดปราสาทเยอร์มาก่อน 5 ปี ระหว่าง 5 ปี ที่ทำหน้าที่สอนหนังสือเด็กนักเรียนนั้น ชาวบ้านคงได้สังเกตเห็นจริยาวัตรและปฏิปทาของท่านจนแน่ใจและมั่นศรัทธาแล้ว ถึงได้นิมนต์ท่านมาครองวัดปราสาทเยอร์เหนือ เพราะว่าวัดนี้ได้ร้างเจ้าอาวาสตั้งแต่ปีแรกที่ท่านกลับบ้านเกิด คือปี 2459 แต่ชาวบ้านก็ปล่อยวัดร้างเรื่อยมา จนในที่สุด...ได้ตัดสินใจอาราธนาท่านดังกล่าว.....

          หลวงพ่อมุมได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรในวันที่ 5 ธันวาคม 2499 คือเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนาม..พระครูประสาธน์ขันธคุณ...และได้รับเลื่อนชั้นเป็นพระสังฆาธิการ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในนามเดิมเมื่อปี 2510 เกียรติประวัติของหลวงพ่อมุม ที่ควรกล่าวถึงคือ....เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินต้น เป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดปราสาทเยอร์เหนือ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกฐินต้นในจังหวัดศรีสะเกษเป็นครั้งแรก...และวัดปราสาทเยอร์ก็เป็นวัดแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ..ที่พระองค์ท่านได้พระราชทานกฐินส่วนพระองค์ด้วย......

          เกียรติคุณของหลวงพ่อมุมนั้นมีมากมาย ทั้งในด้านการปกครองและพัฒนาพระศาสนา ซึ่งคงไม่ต้องกล่าวถึงในที่นี้ และเกียรติคุณด้านอาคมขลัง ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งจังหวัดศรีสะเกษ และคนถิ่นอื่นทั่วไป...ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคลของหลวงพ่อมุมไม่อาจกล่าวถึงได้ไหว เพราะว่ามีมากมายหลายเรื่อง เล่าสู่กันฟังซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้เบื่อ ทุกวันนี้ท่านเป็นยอดนิยมอันดับหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ยังไม่ถูกครูบาอาจารย์อื่นใดมาช่วงชิงตำแหน่งได้...อภินิหารของท่านมีอยู่หลายเรื่อง คนศรีสะเกษซาบซึ้งตรึงใจมากที่สุด...

          ในส่วนของการมรณภาพของหลวงพ่อมุมนั้น....มีรายละเอียดทางแพทย์บันทึกไว้ว่า...ท่านสิ้นลมเมื่อเวลา 05.20 น. ของเช้าวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2522 ณ โรงพยาบาลศรีสะเกษ ศพของท่านตั้งบำเพ็ญกุศล 100 วัน จึงพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 28 - 29 มีนาคม 2524 คือเสร็จจาก 100 วันแล้ว...ได้เก็บศพของท่านต่อมาอีกนับปี........

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด