พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อเฮง วัดบ้านขอม
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อเฮง วัดบ้านขอม (วัดโสภณาราม) สมุทรสาคร

          นามท่านเป็นมงคล "หลวงพ่อเฮง" วัดบ้านขอม จ.สมุทรสาคร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาอย่างมาก โดยเฉพาะคนในพื้นที่ถ้ามีพระเครื่องของท่านติดตัวจะมั่นใจพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัย

          "วัดโสภณาราม" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "วัดบ้านขอม" ตั้งอยู่ที่ ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร การคมนาคมสะดวก ใช้ถนนเอกชัยมุ่งหน้าไปทางมหาชัยเมืองใหม่ผ่านหมู่บ้านเคหะชุมชนประมาณ 300 เมตร ให้เลี้ยวขวามีป้ายบอกทาง ตรงไปประมาณ 2 กิโลเมตร ข้ามทางรถไฟก็จะถึงวัดหาไม่ยาก

          วัดนี้สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นมากว่า 200 ปีแล้ว แต่ประวัติผู้ก่อตั้งไม่ชัดเจนโดยเล่าสืบต่อกันมาว่า "พระอธิการสะ" เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกและมีเจ้าอาวาสสืบต่ออีกหลายองค์ จนถึงยุคหลวงตาแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น วัดบ้านขอมมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก

          หลวงพ่อเฮงซึ่งเป็นชาวเขมรได้เดินธุดงค์รุกขมูลมาจากพระตะบองมาที่ดินแดนเมืองชายทะเลเล็กๆ ที่เรียกว่า "มหาชัย" ที่ในสมัยนั้น (ย้อนหลังไปประมาณ 80 ปี) ถือว่าเห็นเมืองปิด การคมนาคมด้วยถนนใหญ่ยังเข้ามาไม่ถึง

          "หลวงพ่อเฮง" ขณะเดินธุดงค์รุกขมูลมาจากพระตะบองตอนนั้นท่านมีอายุประมาณ 30 ปี โดยได้มาขอพักที่วัดและอยู่จำพรรษาซึ่งทางหลวงตาแฉ่ง เจ้าอาวาสวัดบ้านขอมก็ไม่ขัดข้องและชาวบ้านในละแวกวัดให้ความเคารพเป็นอย่างดี หลวงพ่อเฮงได้หัดพูดภาษาไทยกับเด็กวัดบ้าง หลวงตาแฉ่งบ้าง จนพูดภาษาไทยได้เป็นอย่างดี และท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ฉันอาหารมื้อเดียว

          ตามประวัติที่ได้สืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อเฮงบวชตั้งแต่เป็นเณรที่พระตะบอง เล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ และมีความเพียรเป็นเลิศชอบแสวงหาความสงบชอบการธุดงค์แบบรุกขมูลไปตามท้องถิ่นต่างๆ ร่ำเรียนวิชาอาคมและยังเรียนบาลีอีกด้วย โดยการธุดงค์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และถ่ายทอดวิชาให้กันและกันกับพระภิกษุสหายธุดงค์ โดยเฉพาะท่านพูดภาษาฝรั่งเศสเก่งมาก เพราะว่าสมัยก่อนนั้นประเทศกัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสจึงต้องเรียนและพูดภาษาฝรั่งเศส

          หลวงพ่อเฮงจำพรรษาที่วัดบ้านขอม ในฐานะพระลูกวัดอยู่หลายปีแต่ด้วยว่าท่านเป็นพระผู้แก่กล้าด้วยวิชาอาคมและเคร่งครัดในศีลปฏิบัติ เมื่อหลวงตาแฉ่งมรณภาพ ด้วยการเกลี้ยกล่อมของ พระครูมหาชัยบริรักษ์ (หลวงพ่อเชย) เจ้าอาวาสวัดเจษฎาราม และ หลวงพ่อซด วัดคอกกระบือ หลวงพ่อเฮงจึงรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านขอม สร้างความยินดีให้แก่ชาวบ้านย่านบ้านขอมเป็นอย่างยิ่ง

          สมัยที่หลวงพ่อเฮงมีชีวิตอยู่นั้นชาวบ้านขอม ชาวมหาชัยและใกล้เคียงไปเคารพกราบไหว้ท่านมิได้ขาด หลวงพ่อเฮง นับได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ลือชื่อในด้านขมังเวทรูป หนึ่งของจังหวัดในทำเนียบพระเกจิอาจารย์ชั้นแนวหน้าของจังหวัด เช่น หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม เป็นต้น โดยเฉพาะเถ้าแก่เรือประมงเวลาต่อเรือเสร็จใหม่ๆ จะต้องให้ หลวงพ่อเฮง เจิมทุกลำเพื่อความเป็นสิริมงคล

          มีความเชื่อว่ามนต์คาถาที่บริกรรม ภาวนานั้นสุดยอดของความศักดิ์สิทธิ์ เรือลำนั้นจะโชคดี ทำมาค้าขึ้น มีแต่โชคลาภและเฮงตลอดปี ใครไปให้ท่านเป่ากระหม่อมจะประสบแต่ความโชคดี ค้าง่ายขายคล่อง หากินได้ไม่ฝืดเคือง เถ้าแก่เรือประมงบางลำได้นำพระของหลวงพ่อบูชาไว้ที่เสากระโดงเรือก็มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อเฮง ผู้เขียนขอบอกว่าบูชาไว้แล้วดีสุดๆ ในด้านโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม

          อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงพ่อเฮง" วัดบ้านขอม จ.สมุทรสาคร วัตถุมงคลของท่านนั้น พุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัยก็ไม่เป็นสองรองใคร

          ท่านจัดทำวัตถุมงคลขึ้นมาครั้งแรกในช่วงสงครามอินโดจีน ช่วงนั้นทางราชการได้เกณฑ์เอาลูกชาวบ้านมหาชัย และชาวบ้านขอมไปเป็นทหารจำนวนมาก หลวงพ่อท่านเป็นห่วงจึงได้จัดทำผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลงคาถาอาคมแจกแก่ผู้ต้องไปออกรบ ผ้ายันต์และเสื้อยันต์ในครั้งนั้นพิธีการพิถีพิถันมากโดยท่านปลุกเสกเดี่ยวอยู่นานจนมั่นใจ จึงได้แจกจ่ายให้บูชาเป็นที่เล่าลือโจษจันกันมาก ในเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรี

          หลังจากนั้นประมาณ 10 ปี ท่านจึงทำวัตถุมงคลเป็นเหรียญรุ่นแรกคือ "เหรียญสี่เหลี่ยมเนื้อทองแดงผสม" ด้านหน้าเป็นรูป พระประ ธาน มีรัศมีรูปไข่ครอบประทับนั่งบนกลีบบัว 2 ชั้น เหรียญมีอักษรขอม ด้านหลังเป็นยันต์ และเหรียญพิมพ์น้ำเต้าเนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปพระประธาน ด้านหลังเป็นยันต์ปี 2497 ได้มีการจัดสร้าง "พระกลีบบัวเนื้อเมฆพัด" โดยหลวงพ่อจัดการเองทั้งหมด ไม่มีใครทราบว่าท่านไปให้ใครจัดทำ โดยในการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้สันนิษฐานว่าท่านอาจจะสร้างก่อนปี 2497 แล้วได้นำมาปลุกเสกเดี่ยว อย่างเงียบๆ จนแน่ใจว่าดีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่าย ดีทางแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม

          พระกลีบบัวเมฆพัดรุ่นนี้ สนนราคาหลักพันปลาย ถือว่าไม่แพง ถ้าเปรียบเทียบกับพุทธานุภาพ ต่อมาปี 2499 หลวงพ่อเฮงได้สร้าง "พระสมเด็จเนื้อผงรุ่นแรก" ที่โด่งดังในด้านพุทธคุณ ราคาเล่นหาแสนแพงองค์ที่สวยๆ ราคาเกือบแสน มี 2 สี คือ สีขาวยันต์ลึก และสีแดงยันต์ตื้น (ที่ราคาแพงคือสีขาว สีแดงราคาถูกกว่า)

          พระสมเด็จรุ่นแรกนี้ถือว่า เป็นรุ่นสุดท้ายของหลวงพ่อ เพราะว่าท่านได้หยุดสร้างไม่ทำอีกเลย จนท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2508 ได้สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวบ้านขอมและชาวมหาชัยเป็นอย่างยิ่ง

          หลวงพ่อเฮง ท่านจากไปเหลือไว้แต่ชื่อให้สาธุชนรุ่นแรกได้รับทราบถึงคุณงามความดีเมื่อครั้งที่มีชีวิตอยู่ และทางวัดได้จัดสร้างรูปหล่อของหลวงพ่อเพื่อกราบไหว้ขอพร โดยประดิษฐานอยู่ในศาลาซึ่งจะมีผู้นับถือหลวงพ่อมาขอพรและขอโชคลาภมิได้ขาด เมื่อหลวงพ่อสิ้นบุญทางวัดได้ พระครูสาครธรรมโสภณ (หลวงพ่อสง่า) มาเป็นเจ้าอาวาส โดยท่านได้พัฒนาวัดบ้านขอม จัดระเบียบหมู่กุฏิสงฆ์ ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และได้จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต

          ในงานได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกจ่ายและให้เช่าบูชามี พระสมเด็จเนื้อผง (ปี 2536) เหรียญย้อนยุคสี่เหลี่ยม และคอน้ำเต้า โดยได้ระบุตัวอักษรชื่อ วัดโสภณาราม (บ้านขอม) ไว้ด้านหลังเหรียญ เพื่อกันความสับสนและเหรียญใบสาเก เนื้อทองแดงด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเฮงนั่งสมาธิบนฐานด้านล่าง มีอักษรเขียนว่า หลวงพ่อเฮง ด้าน หลังเป็นยันต์มีข้อความว่า งานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต วัดโสภณาราม (บ้านขอม) จ.สมุทร สาคร และระบุวันที่ 21-29 มกราคม 2536

          สำหรับเหรียญรุ่นนี้หมดไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการทดลองยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก มีหลายคนไม่เชื่อ จึงได้ทดลองดูบ้าง ปรากฏว่ายิงไม่ออกหลายครั้งหลายครา บางคนปืนลั่นปากกระบอกปืนแตกเข้าโรงพยาบาลก็มี โดยทางวัดได้จัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นนี้ก่อนวันงาน มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกปลุกเสก 21 รูป

          ที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ที่มาวัดบ้านขอมต้องกราบไหว้สักการะ "หลวงพ่อโต" พระประธานเก่าแก่ในโบสถ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ขออะไรในสิ่งที่ต้องการแล้วไม่พลาด ชาวบ้านขอมชาวมหาชัยและจังหวัดใกล้เคียงนับถือกันมาก

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด