พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก
ข้อมูลประวัติ หลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

อัตโนประวัติ

          “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

          หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ.2443 ณ บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายปวม และนางถึง เกษแก้วสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี)

การบรรพชาและอุปสมบท

ชีวิตในวัยเด็กนั้นสุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สายมหานิกาย ณ วัดบ้านนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน

จนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์

๏ พระป่าศิษย์สาย “หลวงปู่มั่น”

          ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาใน พ.ศ.2467 เมื่อทราบข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าได้กลับจากธุดงค์และจำพรรษาที่วัดป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ จึงได้ไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน

          หลวงปู่ดูลย์ เห็นถึงความตั้งใจและความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของศิษย์ จึงแนะนำให้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดสกลนคร

          ท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลาหลายเดือน กว่าจะได้เข้านมัสการหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น 3 เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่นได้แนะนำให้หลวงปู่สาม ไปพบกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อเป็นพระผู้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนต่อไป

          ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สิงห์นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติจนต้องล้มป่วยอย่างหนักเกือบเสีย ชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูก ต้องอาศัยกำลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน

          ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท่าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ”

          ครั้นได้พบหลวงปู่มั่นและหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ทั้งสองได้รับตัวท่านไว้เป็นศิษย์ ให้การอบรมสั่งสอนแล้ว ท่านจึงกราบลาไปจำพรรษาที่จังหวัดสุรินทร์

ญัตติเป็นธรรมยุต

          หลวงปู่สาม แต่เดิมท่านบวชพระเป็นฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้นยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย ต่อมา หลวงปู่สามได้ย้อนกลับไปพบหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อญัตติเป็นสายธรรมยุต ณ วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยมีพระครูจิตวิโส เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่สิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหามึน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อกิญฺจโน”

ออกเดินธุดงค์เพื่อมุ่งปฏิบัติภาวนา

          หลวงปู่สาม เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ท่านก็จะเดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้จากภาคกลางจดภาคตะวันออก ภาคอีสานทั้งหมด ท่านเป็นพระนักธุดงค์กรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิเศษ

          ท่านถือคติที่ว่า “ท่านเป็นศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด”

          หลวงปู่สิงห์ได้ชี้แนะให้ท่านไปธุดงค์ฝึกจิตกัมมัฏฐาน เทศนาสั่งสอนญาติโยม ร่วมกับพระอาจารย์ลี ธัมมธโร ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี

          เมื่อถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สาม จะเสาะหาสถานที่วิเวกตามป่าเขา เพื่อประกอบความเพียร เมื่อเดินทางกลับทุกครั้ง หลวงปู่สามจะไปพบหลวงปู่ดูลย์ ที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เพื่อช่วยบูรณะสร้างอุโบสถ และได้ไปธุดงค์ในภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง เป็นต้น

          ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มจนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโชกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า “บัดนี้กำลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์

          นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหมดเผยแผ่แก่บรรดาสาธุชน ต่อไปอีกด้วย” หลวงปู่สาม จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่บัดนั้น

          ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อนนั้นว่า “สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีความเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน !”

          ผลแห่งความเพียรปฏิบัติธรรม ท่านได้ฝึกจิตให้แกร่งกล้า ถึงขั้นฌานสมาบัติ อันเป็นรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4

          ต่อมา พระอาจารย์ลี ธัมมธโร แจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร จึงพากันเดินทางไปขอคำปรึกษาข้อปฏิบัติธรรมที่ติดขัด หลวงปู่มั่นแนะให้ไปฝึกกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

          เมื่อทราบว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถึงแก่มรณภาพลงที่จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่สาม, พระอาจารย์ลี, พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์วัน และพระอาจารย์จวน ไปร่วมจัดงานบุญให้หลวงปู่มั่น

เผยแผ่แนวทางกัมมัฏฐานในภาคใต้

          วันหนึ่ง หลวงปู่สามได้รับจดหมายจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ส่งจากมาจากจังหวัดภูเก็ต ให้ไปช่วยเผยแผ่แนวทางกัมมัฏฐานให้พระภิกษุ-สามเณร ในภาคใต้

          หลวงปู่สาม ท่านจึงเป็นกำลังใน “กองทัพธรรม” ที่สำคัญองค์หนึ่ง กล่าวคือ ท่านเดินทางร่วมไปปูพื้นฐานทางธรรมกับหลวงปู่เทสก์ และคณาจารย์อีกหลายสิบองค์ทางภาคใต้ การเผยแผ่ในครั้งนั้น แม้จะมีอุปสรรคอย่างมากมาย แต่ด้วยกำลังใจอันแน่วแน่มั่นคงของพระธุดงค์กรรมฐาน จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนั้นๆ ได้สำเร็จผลอย่างงดงาม เป็นที่ยอมรับในหมู่ชนชาวภาคใต้เป็นอันมาก

          คติธรรมที่หลวงปู่เทสก์ปรารภแก่คณะผู้ออกเผยแผ่ธรรมยึดมั่นในจิตใจ คือ “เปียกได้…ไหม้เสีย” หลวงปู่สาม ได้นำมาสอนอบรมบรรดาศิษย์ในกาลต่อมา เป็นกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ควรน้อมเข้ามาพิจารณาคำนี้ให้จงหนัก หลวงปู่สามท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำธรรมะออกเผยแผ่สู่ ประชาชนด้วยเมตตาธรรม

          หลวงปู่สาม เผยแผ่ธรรมที่ภาคใต้ เป็นเวลา 5 ปี จึงเดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์

          ก่อนย้อนกลับไปที่จังหวัดภูเก็ต และที่ภาคตะวันออก รวมระยะเวลา 20 ปี ในการแสวงบุญธุดงค์ทำให้หลวงปู่สาม บังเกิดความเพียร ลดละกิเลส คือ ความอยาก ความรัก และความชัง หากปล่อยวางได้จนหมดสิ้นแล้ว

          ภายหลังได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ได้มรณภาพลง ณ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา จึงไปช่วยงานบุญพระราชทานเพลิงศพ

          ก่อนเดินทางไปธุดงค์ที่จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2510 ได้มีญาติโยมนิมนต์หลวงปู่สาม ไปพำนักจำพรรษาที่บ้านขนาดปริ่ง ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ แต่ได้มีหน่วยงานราชการ ชี้แจงว่า บริเวณสำนักสงฆ์เป็นพื้นที่ป่าทำเลเลี้ยงสัตว์

          พ.ศ.2512 หลวงปู่สาม ได้ย้ายไปอยู่ในป่าละเมาะ บ้านตระงอน กิโลเมตรที่ 11 ถนนสุรินทร์-ปราสาท ต.นาบัว ไม่วายโดนร้องอีก

แต่ถึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ยังถูกลอบทำร้ายจากมนุษย์ใจบาป ในเรื่องนี้ท่านกล่าวว่า “ลูกเอ๋ย..มันเป็นกรรมนะต้องใช้กรรมเวร ยุติธรรมดีแล้ว แม้พระพุทธเจ้าของเราลูกเห็นไหม ? พระองค์ยังต้องประสบในเรื่องเช่นนี้นะ ฉะนั้น จงปล่อยไปตามกรรมที่ทำไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ก็พอแล้ว ทำอย่างไรหนอ จึงจะพ้นทุกข์นี้ไปได้เท่านั้น”

สร้างวัดป่าไตรวิเวก

          เวลาไม่นาน ได้มีคณะญาติโยมมีจิตศรัทธาถวายที่ดิน กิโลเมตรที่ 12 สร้างเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เพื่อพำนักปฏิบัติธรรม กลายเป็นที่มาของการจัดตั้งวัดป่าไตรวิเวก

การสร้างวัตถุมงคล

          ด้านวัตถุมงคล พ.ศ.2512 อนุญาตให้ศิษยานุศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญรูปเหมือน รุ่น 1 และอีกหลายรุ่นในปีถัดมา เช่น กริ่งรูปเหมือน พระผงสมเด็จ พระผงรูปเหมือน เป็นต้น วัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยมสูง ทำให้พัฒนาถาวรวัตถุภายในวัดเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

การมรณภาพ

          หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุรวม 91 พรรษา 71 ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด