พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
ประวัติหลวงพ่อแฉ่ง ศิลปัญญา วัดศรีรัตนาราม (บางพัง) นนทบุรี    

          หลวงพ่อแฉ่ง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธ.ค. 2428 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นบุตรของนายสิน นางขลิบ รัตนบุญสิน บรรพชาเมื่อ อายุ 12 ปี และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
          หลวงพ่อแฉ่ง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความสำคัญในอดีต ด้วยความที่มีอาคมขลัง มีพลังทางจิตแก่กล้ายิ่ง เป็นพระปฏิบัติเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้คงแก่เรียนจนทำให้ชื่อเสียงระบือไกล
หลวงพ่อแฉ่ง เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมขลังมาจากเกจิชื่อดังต่าง ๆ หลายรูปและได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชามาอย่างหมดใส้หมดพุง ทั้ง หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (คลองด่าน) หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน หลวงปู่ฉาย วัดพนัญเชิง คณาจารย์สาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นต้น
          อย่างไรก็ตามหลวงพ่อแฉ่งให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค จ.อยุธยา มากเป็นพิเศษ ในฐานะลูกศิษย์และสหายธรรมรุ่นน้อง จึงได้รับอิทธิพลพระพิมพ์ทรงสัตว์ต่าง ๆ มาจากหลวงพ่อปานด้วย ซึ่งท่านได้นำมาพิมพ์แจกจ่ายญาติโยม ได้รับความนิยมเช่าบูชากันมาก
สมัยหลวงพ่อแฉ่งยังมีชีวิตอยู่ วัดบางพังในอดีตคึกคักกว่าวัดอื่น ๆ ในระแวกใกล้เคียง แต่ละวันมีผู้คนมากหน้าหลายตาเดินทางมาจากถิ่นต่าง ๆ มาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงพ่อแฉ่งจนรับไม่หวาดไหว บางคนก็มาขอวัตถุมงคล บางคนก็มารักษาโรค บางคนก็มาปรึกษาขอความช่วยเหลือสารพัด เพราะทุกคนเชื่อมั่นว่าหลวงพ่อแฉ่งท่านช่วยได้ 

          ผู้ที่ไปขอเรียนคาถาอาคม หลวงพ่อแฉ่งจะให้หัดนั่งสมถวิปัสนากรรมฐานก่อน เมื่อเห็นว่าพอไปได้ จึงจะให้รับนิสัยธรรมข้อหนึ่งที่หลวงพ่อจะอบรมสั่งสอนให้จำขึ้นใจ (เข้าใจว่าเป็นคุณธรรมประจำใจหรือธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง) จากนั้นจึงจะบอกตัวคาถาและเคล็ดวิชาต่าง ๆ ให้ การเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อแฉ่ง ท่านสอนยศิษย์ทั้งเรียนผูกและเรียนแก้ เพื่อป้องกันแก้ไขและช่วยเหลือคนที่มีทุกข์ถูกคุณไสยให้พ้นภัย เรียกว่าครบเครื่องเลยทีเดียว

          หลวงพ่อแฉ่ง มรณภาพ วันที่ 26 ก.ค. 2500 รวมสิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา สังขารของท่าน สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฎกษัตริยาราม โปรดให้เคลื่อนไป พระราชทานเพลิงอย่างสมเกียรติ เมื่อ 11 พ.ค. 2501 ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ โดยในงานศพของหลวงพ่อแฉ่ง มีการปั้มเหรียญรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดแจกเป็นที่ระลึกด้วย

วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่ง 

          หลวงพ่อแฉ่ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพัง นับเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังผู้ทรงพุทธาคมรูปหนึ่งในอดีต ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลดัง ๆ เช่น พิธีที่วัดราชบพิธ พ.ศ. 2481 พิธีพุทธภิเษกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ในการพุทธาภิเษกพระกริ่งในเจ้าคุณศรีฯ วัดสุทัศน์ จะต้องนิมนต์พระหลวงพ่อแฉ่งร่วมปลุกเสกทุกครั้ง

          วัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งมีมากมาย ทั้งพระเนื้อผงพิมพ์ทรงสัตว์ต่าง ๆ มีหลายประเภททั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์สามเหรียญ เนื้อผง พระรอด ตะกรุด ผ้ายันต์ธง ทรายเสก พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระประจำวัน นางกวัก พระพุทธกวัก สามเหลี่ยม พระสิวลีชนิดบูชา-คล้องคอ เนื้อหามีทั้ง ดิน ผงน้ำมัน ผงพุทธคุณ แต่ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ คือ ชนิดผงน้ำมัน เพราะเนื้อหาดูง่าย เนื้อจัด หนึกนุ่ม ส่องแล้วสบายตา ราคาสบายใจไม่แพงมาก 

          แรงจูงใจในการจัดสร้าง บรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดที่ศรัทธาพร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อสร้างอิทธิวัตถุ เพื่อเป็นของที่ระลึกและคุ้มครองป้องกันภัย ประกอบกับในระยะนั้นสงครามมีท่าทีเกิดขึ้น ผู้คนเริ่มเสาะแสวงหาวัตถุมงคลไว้คุ้มกันตัว และเพื่อตอบแทนชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุสิ่งต่าง ๆ ภายในวัด หลวงพ่อแฉ่งได้สร้างวัตถุมงคลในปี พ.ศ.2484 แจกให้ศิษย์และชาวบ้านที่ศรัทธา

          จำนวนจัดสร้าง วัตถุมงคลสร้างขึ้นมีจำนวนเท่าไร ไม่มีใครทราบ เพราะมิได้มีการจดบันทึกไว้ เป็นการทยอยสร้างทยอยปลุกเสก พอสร้างได้จำนวนมากพอสมควรแล้วท่านก็จะทำพิธีปลุกเสกสักครั้งหนึ่ง เป็นการปลุกเสกเดี่ยว จากนั้นจึงนำมาแจกเสียคราวหนึ่ง จำนวนพระทั้งหมดสันนิษฐานกันว่าประมาณหนึ่งหมื่นองค์เศษ ๆ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างนั้น แจกฟรี ไม่มีการให้เช่าบูชา 

          ดีด้านไหน วัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างและปลุกเสก มีประสบการณ์โจษขานในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งโดดเด่นด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ ด้านเมตตามหานิยมก็ไม่เป็นรองใคร นอกจากนี้ยังใช้เป็นพระหมอแบบพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้อีกด้วย

          ลักษณะและสีเนื้อพระ พระเนื้อผงที่หลวงพ่อแฉ่งสร้างขึ้นเป็นเนื้อประเภทปูนปั้นไม่ได้เผาไฟ ส่วนผสมหลักคือปูนขาวจากเปลือกหอยและน้ำมันตังอิ๊ว นอกนั้นก็เป็นผงวิเศษ 5 ประการ คือ ผงอิธะเจ ผงปถะมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห นอกนั้นก็มีเกสรดอกไม้ที่ชื่อเป็นมงคลนาม ทรายเสก และข้าวสุก เป็นต้น กรรมวิธีใช้โขลกตำเนื้อพระและส่วนผสมตลอดจนการกรองผงมีความประณีตบรรจงมาก เนื้อละเอียดเนียนเข้ากันสนิท การผสมน้ำมันตังอิ๊วก็พอดี เนื้อพระแลดูนุ่มตาฉ่ำใส สีเหลืองเข้มกว่าสีของเนื้อพระกรุวัดคู้สลอดเล็กน้อย (กรณีไม่บรรจุกรุ) เรียกขานกันว่าเนื้อเทียนชัย เพราะสีของเนื้อพระแลดูคล้ายเทียนขี้ผึ้งสีเหลืองนั่นเอง แต่แลดูฉ่ำใส มีความซึ้งมากกว่าเทียน สามารถแลเห็นส่วนผสมภายในที่ลึกลงไปได้ด้วยแว่นขยาย

          แยกพิมพ์ทรง พระเนื้อผงที่หลวงพ่อสร้างมีกี่แบบกี่พิมพ์ไม่มีใครตอบได้ ทางวัดก็ไม่เก็บข้อมูลไว้ ส่วนใหญ่ก็รู้เท่าที่ตัวเองมีอยู่ และหนังสือลงข้อมูลกันไว้ หากจะแยกย่อยออกไปจริง ๆ น่าจะมีมากกว่า 30 พิมพ์ แม้ว่าพิมพ์หลัก ๆ จะมีอยู่ประมาณ 10 พิมพ์ แต่ในพิมพ์หลัก ๆ นั้นก็ยังแยกย่อยออกไปอีก ยกตัวอย่างเช่น พิมพ์ทรงหนุมานไม่ถือพระขรรค์ ถือพระขรรค์ข้างซ้าย ถือพระขรรค์ข้างขวา มีครอบแก้ว ไม่มีครอบแก้ว เป็นต้น แต่จะหาผู้ที่เก็บรวบรวมได้ครบจริง ๆ ยังไม่เคยเห็น ยิ่งปัจจุบันเข้าสนามว่าหาของแท้ของท่านยากแล้ว ให้แท้และสวยยิ่งยากเป็นเท่า ๆ ตัว เพราะพระของท่าน เนื้อค่อนข้างเปราะ แตกหัก ชำรุดง่าย ผู้ที่มีควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
 
พระพิมพ์ต่าง ๆ จากซ้าย ขี่ไก่-ขี่ครุฑ-ขี่สิงห์-ขี่เสือ-ขี่หนุมาน  มีทั้งผงพุทธคุณและเนื้อผงน้ำมัน

พิมพ์นางกวัก (มีทั้งผงพุทธคุณและเนื้อผงน้ำมัน)

พิมพ์นั่งฐานบัว (มีทั้งผงพุทธคุณและเนื้อผงน้ำมัน)

พิมพ์สมาธิ 2 ชั้น (มีทั้งผงพุทธคุณและเนื้อผงน้ำมัน)

พิมพ์แหวกม่าน (มีทั้งผงพุทธคุณและเนื้อผงน้ำมัน)

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด