พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
เจ้าคุณผล วัดหนัง
ข้อมูลประวัติ เจ้าคุณผล (พระสุนทรศีลสมาจาร) วัดหนัง กรุงเทพฯ

เกิด                       วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2437  ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย ณ บ้านโคกขาม  เป็นบุตรของ นายแก้ว  นางยิ้ม  แก้วเพชร

อุปสมบท               ณ วัดหนัง

มรณภาพ               วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2513  ณ โรงพยาบาลจุฬาฯ

รวมสิริอายุ             74 ปี 6 เดือน 28 วัน 54 พรรษา

          พระสุนทรศีลสมาจาร คุตตจิตตเถร นามเดิมผล นามฉายา คุตฺตจิตฺโต (ฉายาเดิมที่พระอุปัชฌาย์ ตั้งไว้ในวันอุปสมบทเป็น “คงฺคสฺโส”) เจ้าคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตมหาเถร วัดอนงคาราม อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี ปรารภว่า ที่ประชุมในคราวพิจารณาคัดเลือก พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ คณะสังฆมนตรี พากันหัวเราะเรื่องฉายา คงฺคสฺโส มีความหมายไม่เหมาะสม ขอให้ผู้เขียนประวัติ ไปเรียน ให้พระวิเชียรกวี (ฉัตร)ทราบ และให้เปลี่ยน ฉายาเสียใหม่ ผู้เขียนกราบเรียนให้ทราบว่า หลวงพ่อ เจ้าคุณวิเชียรกวี อาพาธหนัก ขอให้พระเดชพระคุณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรีเปลี่ยนให้ ท่านจึงเขียน มาให้ หลวงพ่อเจ้าคุณสุนทรฯ คัดเลือกเอา ตามใจชอบเท่าที่ผู้เขียนจำได้มีอยู่ 3ชื่อ หลวงพ่อเลือกเอา คุตฺตจิตฺตเถร ท่านให้เหตุผลว่า ที่เลือกเอา ชื่อฉายา เห็นว่าเกี่ยวกับการรักษาจิตเพราะ หลวงพ่อสนใจ เรื่องทำสมาธิจิต เป็นประจำอยู่แล้ว 
หลวงพ่อสุนทรฯ เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2437 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย จุลศักราช 1256 ในรัชกาลที่ 5 ที่บ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง 
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรนายแก้ว นางยิ้ม แก้วเพ็ชร 
เมื่ออายุ 12 ปี ได้มาอยู่วัดหนัง ศึกษาหนังสือไทยในสำนักของพระครูสังวรยุตตินทรีย์ (คำ) เรียนภาษาบาลี กับนายมิ่ง รักชินวงศ์ อาจารย์สอนบาลีแห่งวัดหนัง พ.ศ. 2453 เลิกการศึกษากลับไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพ พ.ศ. 2455 สมัครเข้ารับราชการทหารเรือ 

          วันที่ 27 มีนาคม 2458 อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนัง ตำบลคุ้งเผาถ่าน (บางค้อ) อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี พระภาวนาโกศลเถร (อี่ยม) วัดหนังเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม แห่งวัดโคกขาม พระปลัดแจ้งแห่งวัดหนัง เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ อุปสมบทแล้วจำพรรษา ณ วัดหนัง จนถึงวันมรณภาพ ได้ศึกษา พระธรรมวินัย ในสำนักของพระอุปัชฌาย์ และมีความอุตสาหะ ศึกษาในวิปัสนาธุระ ในสำนักของอุปัชฌาย์เช่นกัน 
เมื่อ พ.ศ. 2478 หลวงพ่อเจ้าคุณได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท ได้เป็นกำลังช่วยบริหารกิจการของวัดตลอดมาเป็นการแบ่งเบาภาระเจ้าอาวาส จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 นับแต่สถาปนาเป็นพระอารามหลวง การปกครอง หลวงพ่อได้เคารพต่อพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์ ปฏิบัติงานเด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรง ของบุคคล ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง และประชาชนทั่ว ๆ ไป หลวงพ่อศึกษาในอักรสมัย (ภาษาขอม) จนเกิดความชำนาญในการอ่านและการเขียนเป็นอย่างดี และต่อมาได้ ค้นคว้าหลักวิชาการ ในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเป็นผู้ฝึกแนะนำให้กุลบุตรได้ปฏิบัติตามแนวทาง ที่ถูกที่ควร ดำเนิน เพื่อให้เกิดเป็นสุปฏิบัติ โดยควรแก่ความรู้ความสามารถของหลวงพ่อ ที่ท่านได้วิริยะอุตสาหะ สั่งสมอบรมมา นับว่าเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาที่จะช่วยกันทำนุบำรุงพระปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้สืบต่อ อายุพระพุทธศาสนา สืบต่อไป 
หลวงพ่อไม่ใช่นักพูด แต่หลวงพ่อเป็นนักทำ คือทำตนของท่านให้ศิษยานุศิษย์ และสาธุชน ได้เห็นได้ศึกษา ในการประพฤติปฏิบัติของท่าน นับว่าเป็นผลดีของการปกครองในด้านการเผยแผ่ ก็เท่ากับเป็นการเผยแผ่ตัวอย่างที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลังได้เห็นได้รู้เอาเป็นครูในการดำเนินรอยตาม งานบูรณะปฏิสังขรณ์ก่อสร้างเสนาสนะนั้น หลวงพ่อได้ทำมาก่อนที่ท่านจักได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จับงานมาแต่สมัยเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฉะนั้นงานก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระอารามจึงไม่เป็นของแปลก และหนักใจของท่าน ท่านมิได้ถือว่างานก่อสร้างเป็นเรื่องของสมภารเจ้าวัด เอกลาภเป็นของลูกวัด ท่านถือเสียว่างานก่อสร้างทุกชิ้นที่เกิดขึ้นในวัดเป็นสมบัติของพระศาสนาเป็นของส่วนรวม เป็นส่วนกลาง เป็นที่บำเพ็ญกุศลของสาธุชนทั่วไป ฉะนันในยุคสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จึงได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ปรับปรุงเพิ่มเติม กุฏิคณะไต้ ได้บอกบุญปลูกศรัทธาให้นางชิต นุชเนตรคหปตานี นางขุนเทียน สร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐาน พระบาทจำลอง ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองหน้าวัด ด้านทิศเหนือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ เปลี่ยนเครื่องบนมุมกระเบื้อง ยกช่อฟ้าใหม่ ซ่อมศาลาพุทธบาท ศาลาราย บอกบุญสร้างเมรุ ศาลาทึม และปฏิสังขรณ์เสนาสนะไว้ เป็นจำนวนมาก ทำให้พระอาราม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ของสาธุชน ผู้เข้าไปในวัดให้เกิดศรัทธาปสาทะ น้อมใจเข้าสู่แนวทางปฏิบัติ ให้เกิดปัญญาเห็นชัดตามสภาพธรรมในขั้นต่อไป 
หลวงพ่อเจ้าคุณ ฯ ได้รับสมณศักดิ์และรับพระราชทานสมณศักดิ์ ตำแหน่งที่การงานโดยลำดับ ดังนี้.-
พ.ศ. 2467 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมในท่าน เจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม)
พ.ศ. 2468 เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมในท่าน เจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม)
พ.ศ. 2470 เป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระวิเชียรกวี (ฉัตร)
พ.ศ. 2478 เป็นพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท
(ฝ่ายวิปัสสนา)
พ.ศ. 2494 เป็นพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก
พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระสุนทรศีลสมาจาร
พ.ศ. 2502 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนัง
พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดหนัง

          หลวงพ่อเป็นพระเถระที่ฝักไฝ่อยู่ในวิปัสสนาธุระเท่าที่องค์ปัญญาจะเกิดมีขึ้นแก่ท่านและได้แนะนำให้ ้พระภิกษุ ุทายกทายิกา ผู้มีศรัทธาปสาทะในแนวทางปฏิบัติ ให้ได้รับเรียนวิปัสสนาในสำนักของท่าน และต่างสำนัก กิจวัตรที่หลวงพ่อมีพลังศรัทธาอยู่มาก และสนใจอยู่มากนั้นก็คือ ธุดงควัตร เมื่อเป็นพระอันดับ อยู่ท่านถือการ ธุดงค์เป็นประจำทุก ๆ ปี มาจนตราบเท่าเจริญพรรษายุกาล มากขึ้นโดยลำดับ ได้ทราบว่า หลวงพ่อวิเชียรกวี อดีตเจ้าอาวาสวัดหนังองค์ที่ 6 ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ ได้ขอร้องให้อยู่กับวัด โดยมิให้เดินธุดงค์จาริก ไปในคามนิคมชนบท เพราะเห็นความสำคัญในหลวงพ่อ เจ้าคุณพระสุนทร ฯ เกี่ยวกับ เรื่องวัดวาอาราม ละการอนุเคราะห์ทายกทายิกา ผู้หันหน้ามาพึ่ง เพื่อบำบัดทุกข์โศกโรคภัย นานาประการ และอีกประการหนึ่ง ก็เท่ากับว่า หลวงพ่อเจ้าคุณพระสุนทร ฯ เป็นกำลังเป็นมือขวาของหลวงพ่อ เจ้าคุณพระวิเชียรกวี เมื่อท่านละ ทิ้งวัดไปนาน ๆ ก็เกิดความว้าวุ่นใจ ของพระเถระผู้ปกครองวัด ขาดผู้แบ่งเบา ภาระ ขาดที่ปรึกษากิจการงาน ด้วยความเคารพและเห็นใจ ที่หลวงพ่อทั้งสองมีต่อกัน เป็นพื้นอยู่แล้ว เมื่อท่านขอร้องเช่นนั้น ท่านจะไม่ยอมรับเหตุผล ก็เห็นจะผิดวิสัยของท่านผู้ปรารถนาดีต่อกัน จึงจำยอมปฏิบัติตาม หลวงพ่อเจ้าคุณ ฯ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มั่นคงอยู่ในเพศพรหมจรรย์ ตลอดชีวิต ความเป็นสมณะของท่าน ตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรม ให้ความคุ้นเคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับบุคคลทุกชั้นทุกวรรณะมิได้แสดงอาการ อันเป็นเหตุให้อาคันตุกะได้รับความหนักใจ เพราะความมากไปด้วยเมตตากรุณนั่นเอง ท่านจึงต้องใช้สังขาร อย่างกรากกรำ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่คนที่หันหน้ามาพึงท่าน มิได้คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย ไม่ใคร่มีเวลาพักผ่อน เวลาไม่เป็นของท่าน กิจธุระนอกวัดก็มากขึ้นตามลำดับเมื่อกลับถึงวัดก็ควรจักได้พักผ่อน ถึงวัดถึงกุฏิก็ต้องแก้ปัญหา บำบัดความทุกข์เวทนาของบุคคล ผู้มาคอยหวังความอนุเคราะห์อยู่เป็นประจำ เพราะความคุ้นเคย เป็นกันเองนั่นเอง จึงมีผู้ศรัทธาปสาทะในท่านเป็นจำนวนมาก ท่านได้บำเพ็ญตน อยู่ในลักษณะนี้ ชั่วอายุของท่าน จึงเป็นเหตุให้เราคนวัดเกือบจะไม่ได้ยินใครเรียกว่า พระสุนทรศีลสมาจารว่า เจ้าคุณ มีแต่ใช้คำเรียกท่านว่า “หลวงพ่อ”ทั้งในวัดและนอกวัดในที่ทั่ว ๆ ไป เรียกหลวงพ่อกันได้อย่างสนิทใจ เหมือนกับเป็นพ่อของคนเหล่านั้นโดยความรู้สึก โดยปกติคนเราเมื่อมีทุกข์ภัยเกิดขึ้น ก็ไม่มีคนอื่นจะดีไปกว่า บิดามารดาฉันใด หลวงพ่อก็ฉันนั้น จึงเปรียบเสมื่อนว่าเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ให้ความร่มเย็นแก่ชาวบ้านชาววัดมา เป็นเวลานานปี. 
 
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด  โดยเฉพาะพระชัยวัฒน์ ก้นอุดชันโรง  มีด้วยกัน 7 รุ่น  ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน  และยังมีเหรียญรุ่นแรก  พระปิดตาเนื้อชิน และเนื้อผง  นางสามเหลี่ยมพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก  ทั้งเนื้อชินและผง  หมากทุย  ผ้ายันต์  ตะกรุด เป็นต้น

          เหรียญรุ่นแรก ปี 2509  เนื่องในโอกาสทำบุญ 72 ปี  มีเนื้อทองคำ  เงิน  อัลปาก้า  ทองแดง  ทำจากกองกษาปณ์  และภายหลังได้สั่งปั๊มเพิ่ม แก้ พ.ศ.เป็น 2511 และสั่งเพิ่มอีก แต่ใช้ พ.ศ. เดิม คือ 2509  ทั้งเปลี่ยน พ.ศ. และใช้ พ.ศ.เดิม  ต่างนำมาปลุกเสกพร้อมกัน

          สำหรับเหรียญที่ระบุปี 2511 ได้นำออกมาแจกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด