พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (130) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (43) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 964 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 681 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
ข้อมูลประวัิต หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ ชลบุรี

เกิด                      วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2408  ตรงกับขึ้น 11 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู  เป็นชาว อ.สัตหีบ ชลบุรี  เป็นบุตรของ นายขำ  นางเอียง  ทองขำ

อุปสมบท               อายุ 25 ปี  ตรงกบ พ.ศ.2433  ณ พัทธสีมาวัดอ่างศิลานอก

มรณภาพ               21 กันยายน 2489  เวลา 21.35 น.

รวมสิริอายุ             82 ปี 57 พรรษา

          ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๐๘ ณ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โยมบิดาชื่อ ขำ ทองขำ โยมมารดาชื่อ เอียง ทองขำ หลวงพ่ออี๋เป็นบุตรชายคนโต ได้รับการศึกษา และอบรมสั่งสอนให้เป็นกุลบุตรที่ดี เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง

          บิดาของท่านรับราชการ ตำแหน่งที่ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่า นายกอง

          ในปี ๒๔๓๓ ท่านมีอายุ ๒๕ ปี ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดอ่างศิลานอก โดยมี พระอาจารย์จั่น จันทสโร วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “พุทธสโร ภิกขุ” แปลว่า “ผู้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า”

          หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เรียนวิชาการและศึกษาพระธรรมกับพระอาจารย์แดง วัดอ่างศิลานอก ซึ่งเป็นพระเถระที่มีภูมิธรรมสูง ทั้งยังมีวิชาอาคม แก้อาถรรพณ์คุณไสย ตลอดถึงการสักยันต์

พระอาจารย์จั่น พระอาจารย์แดง และพระอาจารย์เหมือน ได้สอนศาสตร์วิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่ออี๋ ลูกศิษย์ของท่าน จนหมดสิ้น เป็นเวลา ๖ พรรษาเต็มๆ

          การที่หลวงพ่ออี๋ท่านมุมานะศึกษาเล่าเรียน จุดประสงค์ก็เพื่อจะนำมาสงเคราะห์ญาติโยม ชาวบ้านผู้เดือดร้อนโดยทั่วไป

          ช่วง พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๕๑ หลวงพ่ออี๋ โยมบิดา ตลอดถึงชาวบ้าน ได้ร่วมกันสร้างวัด โดยไปหาไม้สวยๆ ในบริเวณใกล้เคียงมาทำเสา ทำฝา และหาดินเหนียวที่บางปะกง เอาไปเผาทำกระเบื้องมุงหลังคา

          การสร้างวัดของท่าน ไม่ถึง ๕ ปีก็แล้วเสร็จ เว้นอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ ซึ่งได้มีการสร้างในเวลาต่อมา วัดที่สร้างขึ้นนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ใน พ.ศ.๒๔๖๓ 

          ปีที่หลวงพ่ออี๋ท่านสร้างวัดนั้น กิตติศัพท์ของท่านได้ขจรขจายอย่างกว้างไกล ในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหาร ผู้คนพากันหลั่งไหลไปกราบท่านมากมาย มีทั้งที่ต้องการฟังธรรมะ และการปฏิบัติสมาธิกับท่าน บางคนต้องการวัตถุมงคล ก็ได้สมความปรารถนาทุกประการ

          ต่อมาท่านได้ออกรุกขมูลอยู่เป็นประจำ เหมือนครูบาอาจารย์ของท่าน และนี่เองเป็นมูลเหตุในการสร้าง ปลัดขิก ของท่าน

          เท่าที่ทราบ ปลัดขิก ของ หลวงพ่ออี๋ สร้างจากวัสดุมงคลหลายชนิด อาทิ ไม้กัลปังหา ที่ขึ้นอยู่ใต้ท้องทะเล มีทั้งสีดำ สีแดง สีขาว ซึ่งปัจจุบันปลัดขิกกัลปังหาสีขาว ของท่านเป็นของหาชมได้ยากมาก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างจำนวนน้อย เพราะว่าวัสดุคงหายาก

ส่วนประเภทที่สร้างจากไม้ ท่านได้ใช้ต้นไม้ หรือชื่อต้นไม้ที่เป็นมงคลในตัว เช่น แก่นจากไม้ต้นคูณ แก่นจากไม้ต้นมะขาม แก่นจากไม้ต้นขนุน และไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา รวมทั้งชาวบ้าน แกะมาให้ท่านลงอักขระ ปลุกเสกให้ก็มีจำนวนมาก 

ปลัดขิก ของ หลวงพ่ออี๋ มีหลายขนาด ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และตัวปลัดขิกมีลักษณะเดียวกัน คือ เรียวยาว ได้สัดส่วน ปลายหัวปลัดขิกมี ๒ แบบ คือ 

          แบบแรก ปลายหัวปลัดขิกจะเรียว ออกแหลม เรียกว่า หัวปลาหลด

          แบบที่สอง ปลายหัวปลัดขิกจะมีลักษณะมน ออกบาน เรียกว่า หัวหมวกเยอรมันโดยเรียกกันตามลักษณะที่เห็น แล้วแต่ใครจะชอบเรียกกันแบบไหนแต่ที่สำคัญที่สุดของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ ต้องมีสัญลักษณ์เดียวกันทุกชิ้น คือ อักขระยันต์ที่ลงในตัวปลัดขิกด้านข้าง จะต้องเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า กันหะ เนหะส่วนหัวด้านข้างทั้งสองด้าน จะลงอักขระยันต์ขอมตัว มิ ไว้ทั้งสองข้างตรงกลางหัวปลัดขิก จะลงอักขระยันต์ขอมตัว อุณาโลม

          ด้านในด้านบน ติดกับขอบหัวปลัดขิก จะลง พินทุ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมเล็กๆ เอาไว้ทั้ง ๔ จุดนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ปัจจุบันนี้ ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ ได้รับความนิยมสูงสุด คู่มากับปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

          ด้านพุทธคุณ นอกจากเชื่อว่า ปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ มีพุทธคุณด้านเมตตา มหานิยม ให้โชค ให้ลาภ มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตครอบครัวแล้ว ปลัดขิกของท่านยังช่วย ป้องกันภูตผีปีศาจ และ ปัดป้องสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร ได้อีกด้วย

          สนนราคา สภาพพอสวย เห็นอักขระยันต์ชัดเจน ดูง่าย ราคาอยู่ในหลักหมื่นขึ้นไป
 
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม เช่น ปลักขิก  ตะกรุด  ผ้ายันต์  เสื้อยันต์สีแดง และสีขาว  รูปถ่าย  และเหรียญ เป็นต้น     

          เหรียญรุ่นแรก ปี 2473  สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสหล่อพระประธานประจำพระอุโบสถของวัดสัตหีบ มี 2 ชนิด คือ เหรียญรูปไข่  (แจกผู้ชาย) และเหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (แจกผู้หญิง) มีเนื้อเงิน และทองแดง

          เหรียญรุ่นสร้างโรงเรียน ปี 2483  มี 2 พิมพ์  คือ เหรียญรูปไข่  และเหรียญกลม

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม

 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด