พระเครื่องทั้งหมด 967 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (132) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (44) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 967 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 684 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อเผือก ปัญญธโร วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

เกิด                      วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2412 ตรงกับขค้น 5 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง  เป็นบุตรของ นายทองสุข  นางไข่  ขุมสุกทอง

อุปสมบท               อายุ 21 ปี ณ วัดกิ่งแก้ว

มรณภาพ               มีนาคม 2501

รวมสิริอายุ             89 ปี 7 เดือน 17 วัน 69 พรรษา

ประวัติหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว (พระครูกรุณาวิหารี ปัญญาธโร)

          หลวงปู่เผือก ท่านเกิดที่บ้านคลองสำโรง ตำบลบางพลี สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2412 โยมบิดาชื่อนายทองสุข โยมมารดาชื่อ นางไข่ เมื่ออายุได้ 13 ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับท่านอาจารย์อิ่ม อินทสโร ที่วัดกิ่งแก้ว จนอายุครบ 15 ปี ก็ได้กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ และพออายุได้ 18 ปี ก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารเรือ รับราชการอยู่ 2 ปี ต่อมาพอปลดประจำการแล้ว ในปี พ.ศ.2433 จึงได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "ปัญญาธโร"

          เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่เผือก ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย อักขระขอมและวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีพระอาจารย์อิ่ม เป็นผู้อบรมสั่งสอน จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน ครั้นต่อมาในปีพ.ศ. 2442 พระอาจารย์อิ่ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้มรณภาพลง ที่ประชุมสงฆ์และชาวบ้านถิ่นนั้นมีความเห็นพ้องต้องกัน อาราธนาหลวงปู่เผือก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส วัดกิ่งแก้วสืบไป จึงได้ทำหนังสือขอไปทางกรมการศาสนาและได้รับตราตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่ง แก้ว

          หลังจากที่หลวงปู่เผือก ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็เริ่มทำการบูรณะวัดเป็นการใหญ่ ตอนระยะแรกๆ ก็มีคนช่วยไม่กี่คน ต่อมาท่านเอ่ยปากขอร้องใครเขาก็เต็มใจช่วย ไม่ว่าจะเป็นกิจการใดๆ หลวงปู่เผือกเอ่ยปากจะสร้างโน่นสร้างนี่ พอทราบถึงชาวบ้านต่างๆ ก็มาช่วยแรงช่วยทุนทรัพย์ นำวัสดุสิ่งของมาให้ เนื่องจากชาวบ้านล้วนศรัทธาในตัวหลวงปู่เผือกเป็นอย่างมากนั่นเอง

          หลวงปู่เผือกท่านได้สร้างพระอุโบสถ พระพุทธชินราชจำลองขนาดหน้าตัก 5 ศอกเศษ เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ มณฑป โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาลสำหรับการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตร-ธิดาแถบนั้น หลวงปู่เผือกท่านได้ลงมือสอนพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาอีกด้วย หลวงปู่เผือกท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล ในปี พ.ศ. 2443 ปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ ในปี พ.ศ. 2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น "พระครูกรุณาวิหารี" พอปี พ.ศ. 2487 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์ ในอำเภอบางพลี ต่อมาในปีพ.ศ. 2496 หลวงปู่เผือกท่านก็เริ่มอาพาธ จนถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2501 ก็มรณภาพลง ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69 เป็นที่โศกเศร้าเสียใจของชาวบางพลีเป็นอย่างมาก

          ในสมัยที่หลวงปู่เผือก ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระเนื้อผง พระเนื้อผงผสมว่าน พระสมเด็จ พระนางพญา พระปิดตา ส่วนเหรียญท่านก็สร้างเหรียญฝาบาตร และพระพุทธชินราช พระรูปเหมือน รูปถ่าย ตระกรุด แหวน ลูกอม ผ้ายันต์ ฯลฯ ในวัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกนั้น ที่รู้จักกันแพร่หลายกันมากๆ ก็คือ พระผงรุ่นขุดสระ ซึ่งมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มูลเหตุในการสร้างก็คือ พื้นที่ของวัดส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม และหลวงปู่เผือกท่านก็ดำริจะสร้างโบสถ์จึงได้ขอแรงชาวบ้านในละแวกนั้นให้มาช่วย กันขุดดินนำไปถมในที่ลุ่มและปรับพื้นที่ที่จะสร้างโบสถ์ พื้นที่ที่ถูกขุดดินไปเป็นบ่อเป็นสระใหญ่ สำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเพื่อเป็นอนุสรณ์สินน้ำใจที่บรรดาศิษย์และชาวบ้าน ได้มาช่วยกันขุดและขนดินปรับพื้นที่ให้ทางวัด หลวงปู่ท่านจึงได้สร้างพระเนื้อผงขึ้นมาจำนวนหนึ่ง แจกเป็นของที่ระลึก ชาวบ้านจึงเรียกพระรุ่นนี้ว่า "พระรุ่นขุดสระ" และเรียกกันมาจนทุกวันนี้

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          หลวงปู่เผือก  เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งของชาวสมุทรปราการ  วัตถุมงคลของท่านมีอยู่เยอะมาก เช่น เหรียญ  รูปหล่อ  พระกริ่ง  พระเนื้อผง  และเครื่องรางของขลังอีกมากมาย  และที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พระผงรุ่นขุดสระ  สร้างปี 2460-2465  มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่  พิมพ์เล็ก  และพิมพ์สามเหลี่ยม              

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม


 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด