พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (135) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (34) เครื่องราง (188) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (36) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (60) พระบูชา (103) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (45) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 982 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 694 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ วัดช้างเผือก  เพชรบูรณ์

เกิด                     วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2424  ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง  เป็นบุตรของ นายเผือก  นางอินทร์  ม่วงดี

บรรพชา                 อายุ 16 ปี ณ วัดช้างเผือก

อุปสมบท               อายุ 21 ปี ณ วัดเกาะแก้ว

มรณภาพ               วันที่ 14 มีนาคม 2519  ตรงกับขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4

รวมสิริอายุ             95 ปี 73 พรรษา

          หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ ความจริงท่านเป็นพระเถระรุ่นเก่า แต่เป็นด้วยเหตุว่าท่านมีอายุ และพรรษาที่ยาวนาน ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2519 สิริรวมอายุได้ 95 ปี จึงทำให้ท่านเป็นพระเถระที่ไม่เก่าเท่าไรนัก  อาจจะเรียกว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยก็ได้ คือท่านเป็นพระเถระทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่รวมกัน   ถึงแม้ว่าหลวงพ่อทบจะได้ละสังขารไปจากพวกเราแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ได้สร้างสมคุณงามความดีเอาไว้ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นอเนกอนันต์คุณให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีของท่านไปอีกนานแสนนาน

          ชาติกำเนิด   ณ ที่หมู่บ้านยางหัวลม ตำบลนายม(ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบลวังชมภู) จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อ 114 ปีก่อนโน้น ยังมีครอบครัวของชาวไร่ที่มีฐานะมั่นคงอยู่ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งก็เป็นครอบครัวของ คุณพ่อเผือก และคุณแม่อินทร์ นามสกุล ม่วงดี ซึ่งทั้งคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์ได้แต่งงานอยู่กินกันมาเป็นเวลานาน โดยมีบุตรคนหัวปีชื่อ เด็กชายหว่าง และบุตรีคนที่สองชื่อ ใบ แล้วก็ไม่ปรากฏว่าจะได้ลูกอีกเลย ตราบจนเวลาล่วงเลยผ่านไปถึงเจ็ดปี คุณแม่อินทร์จึงได้ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สาม   เป็นธรรมดาสำหรับผู้มีบุญญาธิการ จะได้มาจุติยังโลกมนุษย์ คุณแม่อินทร์ก็เช่นกัน ขณะที่ท่านจะตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สามนั้น ท่านฝันไปว่าได้มีผู้นำช้างเผือกมามอบให้จำนวน 1 เชือก ในฝันท่านก็ได้รับเอาไว้โดยให้เจ้าของเดิมนำไปผูกไว้กับต้นมะขามหน้าบ้าน ช้างเผือกเชือกนี้งดงามมากจริงๆ   พอตื่นจากความฝันแล้ว คุณแม่อินทร์จึงปลุกคุณพ่อเผือก แล้วเล่าความฝันให้ฟัง เมื่อคุณพ่อเผือกฟังจนจบแล้ว จึงได้บอกกับคุณแม่อินทร์ว่าเป็นความฝันที่ดี และเป็นนิมิตหมายว่าจะมีผู้มีบุญญาธิการลงมาเกิด และคุณพ่อเผือกยังบอกคุณแม่อินทร์ต่อไปอีกว่าถ้าหากไม่เชื่อแล้วละก็ขอให้คอยดูกันต่อไป   หลังจากนั้นอีกไม่นานคุณแม่อินทร์ก็เริ่มตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ครั้งนี้ก็มีความแตกต่างจากการตั้งครรภ์ทั้งสองครั้งแรกนั้นมาก กล่าวคือ เมื่อคุณแม่อินทร์ตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ นั้นท่านแพ้ท้องอยากจะรับประทานของแปลกๆ เช่น อยากจะรับประทานแกงนก ผัดเผ็ดปลาไหล หรือลาบเลือดเป็นต้น   แต่สำหรับครั้งที่สามนี้ ปรากฎว่าคุณแม่อินทร์ท่านรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไม่ได้เลย ถ้าหากว่าวันไหนท่านรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ หรือเพียงได้กลิ่นเนื้อสัตว์ วันนั้นท่านจะรู้สึกไม่สบายไปตลอดทั้งวันเริ่มต้นด้วยเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนเป็นอย่างนี้ตลอดมาเป็นประจำ ทั้งๆ ที่ก่อนจะตั้งครรภ์คุณแม่อินทร์ก็รับประทานอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ได้ และไม่เคยเป็นอะไรมาก่อน พอตั้งครรภ์บุตรคนที่สามก็เริ่มเป็นอย่างนี้ นับว่าแปลกมาก   พอคุณแม่อินทร์ตั้งครรภ์ได้ครบกำหนด 9 เดือน ท่านก็ได้ปวดท้องอย่างแรง และได้คลอดบุตรชายที่น่ารัก น่าเอ็นดูออกมาลืมตาดูโลก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ2424 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง    ในขณะที่ทารกน้อยกำลังคลอดออกมานั้น กลับมีกิริยาอาการแปลกประหลาดกว่าทารกแรกเกิดโดยทั่วๆ ไป หรืออาจะเป็นนิมิตหมายของผู้มีบุญญาธิการลงมาจุติก้ได้ กล่าวคือโดยปกติทารกแรกเกิดเวลาที่คลอดออกมาจะต้องส่วนหัวหรือส่วนเท้าโผล่ออกมาก่อน แต่ทารกน้อยบุตรชายของคุณแม่อินทร์ เวลาที่คลอดออกมากลับเอาศรีษะและเท้าโผล่ออกมาพร้อมๆ กัน เมื่อคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์เห็นบุตรชายคลอดออกมาแตกต่างจากทารกโดยทั่วไปเช่นนั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรชายคนใหม่ของท่านว่า “ ทบ”

          วัยเด็ก   ในชีวิตวัยเด็กก่อนที่จะบวชเรียนนั้น เด็กชายทบเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี จึงไม่ค่อยเดือดร้อนและลำบากเท่าไหร่ เด็กชายทบเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เป็นเด็กที่ฉลาดอยู่ในโอวาทของบิดามารดา ในสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนประชาบาล ถึงมีก็ต้องมีในเมืองใหญ่ๆ พ่อแม่ผู้ปกครองท่านใดต้องการที่จะให้ลูกหลานเรียนหนังสือก็ต้องนำเอาลูกหลานไปฝากไว้ที่วัด เพื่อให้พระผู้ที่มีวิชาความรู้ได้ฝึกสอนการเขียน การอ่านตัวหนังสือไทย อักขระขอม และคณิตศาสตร์ เท่าที่จำเป็นต้องใช้ในสมัยนั้น   เด็กชายทบก็เช่นกัน พออายุได้ 10 ขวบ คุณพ่อเผือกก็ได้นำไปฝากไว้ที่วัดช้างเผือก เพื่อให้เรียนหนังสือไทย หนังสือขอม พร้อมกับคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กชายทบ ก็ไม่ทำให้คุณพ่อเผือกเสียชื่อ ทั้งเขียน ทั้งอ่านได้คล่องแคล่วกว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน จนได้รับคำชมเชยจาก หลวงตากี ซึ่งเป็นครูสอนเด็กชาวบ้านในขณะนั้นว่า เป็นเด็กฉลาดว่านอนสอนง่าย เติบใหญ่ไปภายหน้าจะได้ดีกว่าคนอื่นๆ  อุปนิสัยของหลวงพ่อทบ ท่านเป็นคนมีเมตตา เยือกเย็น สุขุม ปรานีต่อสัตว์ทั้งปวง ดังจะเห็นได้จากเรื่องนี้ ก่อนที่หลวงพ่อทบจะออกบวชนั้น แถวนายมเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมายังเรียกว่าเป็นป่าดงดิบ มีแต่ป่าไม้ สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ชุกชุมมาก  ในสมัยนั้นชาวนาชนบทต้องดำรงชีวิตด้วยอาหารจากป่าเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ หัวเผือก หัวมัน ผลไม้ชนิดต่างๆ ป่าไม้ไม่ถูกทำลาย มนุษย์ก็ยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ไปหมด ถ้าหากว่าออกไปหาอาหารเพียงชั่วครู่ก็จะได้อาหารติดมือมาทำกับข้าวทันที คนในสมัยก่อนโน้นฝากปากฝากท้องไว้กับธรรมชาติ คือป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งผิดกับคนในสมัยนี้อย่างลิบลับ ที่ฝากปากฝากท้องไว้กับร้านอาหาร ดูมันง่ายและสะดวกดี  ภายในครอบครัวของหลวงพ่อทบก็เช่นกัน บิดามารดากับคนงานที่จ้างมาทำไร่ ก็มักจะออกหาอาหารในป่าเป็นประจำ และที่ชอบหากันบ่อยก็ได้แก่ ไก่ป่า นกเขา นกคุ่ม เป็นต้น บางทีก็ลงหาตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งที่ได้เป็นประจำคือปลา หอย กบ เขียด เป็นต้น เมื่อหามาได้เป็นจำนวนมาก ก็จะแบ่งให้ญาติพี่น้องเอาไปกินบ้าง ที่เหลือก็จะขังเอาไว้ทำอาหารมื้อต่อไป  เด็กชายทบเมื่ออยู่บ้านเห็นพ่อกักขังสัตว์เหล่านี้ไว้ ก็เกิดความสงสารจึงนำสัตว์เหล่านั้น แอบไปปล่อยเข้าป่า แต่ถ้าเป็นปลา กบ เขียด ก็จะนำไปปล่อยตามแม่น้ำ หนอง บึง ต่อไป  เมื่อบิดากลับมาจากงานไร่และรู้ว่าท่าปล่อยปลา ปล่อยกบ ไปเสียแล้ว ทำให้บิดาท่านเกิดความโมโหและภาคทัณฑ์ไว้ว่า ถ้าปล่อยอีกจะถูกลงโทษ  ต่อมาไม่นานบิดาของท่านไปดักไก่ป่ามาได้และขังเอาไว้ ท่านเข้าก็เกิดความสงสารจึงปล่อยไก่เข้าป่าไป ทำให้บิดาท่านโมโหมาก จึงลงมือทุบตีท่านหลายที แต่แปลกท่านกับยืนรับโทษทัณฑ์อย่างนิ่งเฉย ไม่ร้องไห้ ท่านยืนยอมรับความเจ็บปวดนั้นแต่ผู้เดียว ท่านถูกบิดาทำโทษหลายๆ ครั้งในระยะหลังนี้ก็เพราะท่านเมตตาสงสารสัตว์เหล่านั้น  คุณพ่อเผือกเมื่อทำโทษลูกชายบ่อยๆ ลูกชายของท่านก็ไม่ยอมหลาบจำสักที ท่านจึงต้องยอมแพ้ เพราะถ้าตีต่อไปอาจจะเป็นอันตรายเปล่าๆ และท่านก็รู้นิสัยของลูกช่ายท่านดีว่าเป็นคนเด็ดเดี่ยว มีใจเมตตาปรานีต่อสัตว์ ยอมเจ็บตัวเพื่อแลกกับอิสรภาพของสัตว์ต่างๆ อีกทั้งคุณพ่อเผือกก็เกิดความสงสาร เมื่อท่านคิดได้ดังนั้น ท่านจึงเลิกทำโทษลูกชายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  หลวงพ่อทบในวัยรุ่นๆ นั้น ท่านมีเพื่อนมากมายทั้งในหมู่บ้านยางหัวลม และหมู่บ้านใกล้เคียง บางครั้งก็มักจะพากันมาเยี่ยมเยียนถามข่าวอยู่เสมอ บางคนก็มาชวนท่านให้ไปล่าสัตว์บ้าง ตกปลาหรือหว่านแหบ้าง บางคนก็มาชวนท่านไปเที่ยวสาวๆ บ้านใกล้เคียงบ้าง ซึ่งท่านในขณะนั้นกลับไม่ยินดียินร้ายแต่ประการใด คงได้แต่ปฏิเสธไป ท่านกลับชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ วันๆ ท่านก็เอาแต่เลี้ยงหมู หมา กา ไก่ ไปตามปกติ พอถึงวันพระท่านก็จะไปทำบุญตักบาตรที่วัดช้างเผือกเป็นประจำ เป็นที่ตื่นตาแก่เด็กวัยรุ่นโดยทั่วไป เพราะวัยรุ่นสมัยนั้นมีหลวงพ่อทบคนเดียวที่ชอบไปทำบุญเมื่อยังไม่แก่เฒ่า

          บรรพชาและอุปสมบท    ลุถึงปี พ.ศ.2440 นายทบ  ม่วงดี อายุขณะนั้นได้ 16 ปี ก็บังเกิดความเบื่อหน่ายชีวิตในการครองเรือนที่เห็นว่าไม่มีสาะแก่นสารอันใด หวังเอาพระนิพพานเป็นที่พึ่ง จึงขออนุญาตจากคุณพ่อเผือก และคุณแม่อินทร์ ซึ่งท่านทั้งสองก็มองเห็นความตั้งใจอันดีของลูกชายจึงออกปากอนุญาต และได้นำนายทบ ม่วงดี ลูกชายไปบรรพชาที่ วัดช้างเผือก โดยมี พระอาจารย์สี เจ้าอาวาสวัดช้างเผือกในขณะนั้น เป็นผู้บรรพชาให้  เมื่อเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาหาความรู้ต่างๆ ในสำนักของพระอาจารย์สี ไม่ว่าจะเป็นพระธรรม พระวินัย สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ตลอดจนหัดเทศน์ เรียกได้ว่าท่านไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์อย่างแท้จริง                จนถึงปี พ.ศ.2445 สามเณรทบ มีอายุครบ 21 ปี ทางคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์ ก็ได้นำสามเณรทบไปทำการอุปสมบทที่ วัดศิลาโมง บ้านนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี ท่านพระครูเมือง เป็นพระอุปัชณาย์  พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า “ธัมมปัญโญภิกขุ”  หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือก 2 พรรษา ในระหว่างนี้หลวงพ่อทบก็ได้ใช้เวลาทั้งหมดศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจาก พระอาจารย์สี ซึ่งในขณะนั้นพระอาจารย์สี เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทางวิปัสสนากรรมฐาน เวทมนตร์คาถา หลวงพ่อทบได้ศึกษาและฝึกฝนจนแก่กล้าเป็นที่ยอมรับของพระอาจารย์สี   ต่อมาท่านก็ได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมจาก พระอาจารย์ปาน เจ้าอาวาสวัดศิลาโมง ตำบลนายมในสมัยนั้น ซึ่งหลวงพ่อทบก็ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์ปานจนสำเร็จสมกับความตั้งใจ   พระอาจารย์สีและพระอาจารย์ปาน แท้จริงแล้วทั้งสองท่านนี้เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อทรัพย์ตาพรรณ ในครั้งแต่ก่อนโน้นเป็นที่เลื่องลือว่าหลวงพ่อทรัพย์ตาพรรณเป็นผู้วิเศษ มีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อกล่าวอะไรออกมาย่อมเป็นดังคำพูด

          ออกแสวงหาความรู้    เมื่อหลวงพ่อทบได้ศึกษาวิชาความรู้จากพระอาจารย์สีและพระอาจารย์ปานจนเจนจบครบถ้วนหมดแล้ว ท่านจึงเข้าไปกราบลาพระอาจารย์สี เพื่อที่จะไปแสวงหาความรู้ต่อไปอีก พระอาจารย์สีเห็นความเด็ดเดี่ยวและตั้งใจจริงของท่าน จึงกล่าวอนุญาตให้ไป พร้อมกันนี้พระอาจารย์สียังได้กล่าวฝากวัดช้างเผือกกับท่านอีกว่า “หากจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว ก็ให้กลับมาพัฒนาวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้างนะ” ซึ่งท่านก็รับคำ  จากนั้นท่านก็ได้ออกเดินทางไปจำพรรษาที่ วัดวังโป่ง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเวลาอีก 2 พรรษา พอออกพรรษาจึงคิดที่จะออกจาริกแสวงหาวิชาความรู้ไปในที่ต่างๆ ต่อไปอีก  หลังจากที่หลวงพ่อทบได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะออกท่องเที่ยว เพื่อเสาะแสวงหาความรู้อย่างแน่นอนแล้ว หลวงพ่อทบซึ่งในระยะนั้นกิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่านยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ก็ได้ออกเดินทางจากวัดวังโป่งทันที โดยออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรแต่เพียงรูปเดียว  ในช่วงที่ท่านได้ออกเดินธุดงค์นี้ ท่านได้บำเพ็ญศีลและเจริญภาวนาพร้อมกับแสวงหาวิชา ศึกษาเวทมนตร์คาถาตามถ้า หน้าผา ผนังหินใหญ่ ที่มีผู้จาริกได้เขียนไว้ในสมัยก่อน บางครั้งท่านได้เดินไปตกหุบเขาที่ไม่มีบ้านเรือนคนอาศัยอยู่เลย ซึ่งต้องอาศัยดำรงชีพด้วยผลไม้หรือใบไม้เท่านั้นในการประทังความหิวโหย แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อคงพากเพียรที่จะได้ศึกษาวิชาอาคมอย่างไม่หยุดยั้ง   เคยมีคนกราบนมัสการถามท่านว่า หลวงพ่อเดินธุดงค์ฉันของป่าไม่กลัวอันตรายหรือ ท่านตอบว่าก็ดูพวกสัตว์ต่างๆ มันกิน ก็ไม่เห็นมันเป็นอันตรายเลยนี่  นอกจากนี้หลวงพ่อทบยังเคยผจญกับโขลงช้างป่า ซึ่งกำลังมุ่งหน้ามายังทิศที่ท่านปักกลดภาวนาอยู่หลายครั้ง พอพวกมันเดินเข้ามาใกล้กลดของท่าน ก็จะมีจ่าโขลงออกมายืนบังกลดของท่านเอาไว้ ไม่ให้ช้างเชือกอื่นๆ เข้ามาใกล้กลดของท่านได้เลย

          อุปนิสัยของหลวงพ่อทบ   หลวงพ่อทบ ท่านมีรูปร่างเล็กแกร่ง นิ้วมือของท่านเรียวงาม ฝ่ามืออ่อนนุ่ม ยามเมื่อท่านลูบหัวศิษย์จะรู้สึกว่า นุ่มประดุจฝ่ามือของบิดามารดาถนอมบุตรกระนั้น  หลวงพ่อทบเป็นพระเถระที่พูดน้อยไม่ค่อยจะช่างคุย ถามคำท่านก็ตอบคำมิได้เสแสร้ง แต่ท่านได้สำรวมมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นัตย์ตาของท่านมีประกายแวววาวแสดงถึงความมีอำนาจทุกคนที่เคยไปกราบนมัสการท่านจะบอกเป็นเสียงด้วยกันว่า นัตน์ตาของท่านมีมหาอำนาจและไม่กล้าสบตากับท่านตรงๆ แต่ว่าในความมีอำนาจนั้นจะแฝงแววแห่งความเมตตาเอาไว้ด้วย   ในการต้อนรับแขกที่เดินทางไปกราบนมัสการท่านในแต่ละวันนั้น ท่านจะตอนรับอย่างเสมอภาคกัน ไม่เคยเลือกฐานะหรือความคุ้นเคยเป็นหลักแม้แต่น้อย ใครมาก่อนพบก่อน ใครมาทีหลังพบทีหลัง คนรวยคนจนในสายตาของท่านก็คือคนเหมือนกัน ถ้าท่านสงเคราะห์ได้ท่านก็จะรีบสงเคราะห์ให้ด้วยความเต็มใจ ไม่เคยเห่อเหิมในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านถือว่าลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นโลกธรรม แม้สมณศักดิ์ที่ได้รับมาท่านก็คงวางเฉยไม่ยินดียินร้าย ท่านยังคงเป็นหลวงพ่อทบ หรือพระอธิการทบธรรมดาๆ ท่านเคยอยู่อย่างไร ท่านก็อยู่อย่างนั้น ทรัพย์สินเงินทองที่เขาถวายท่านมา ท่านก็นำไปลงทุนไว้ในพระพุทธศาสนาจนหมดสิ้น เมื่อท่านถึงกาลมรณภาพก็ไม่มีทรัพย์สินอะไรที่มีค่าพอจะเอามาประกอบพิธีศพของท่านได้ เป็นที่ซาบซึ้งของบรรดาศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ในความมักน้อยสมถะของท่าน  อีกประการหนึ่งที่ท่านได้สั่งสอนอบรมอยู่เสมอนั่นก็คือ ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เพราะท่านเองนั้นได้ทำเป็นตัวอย่างแกศิษยานุศิษย์ ก็คือ ท่านได้มีความกตัญญูต่อบรรดาพระอาจารย์ของท่านที่ล่วงลับไปแล้ว โดยท่านทำบุญกุศลถวายอยู่เป็นประจำทุกปี ในเวลาว่างถ้าหากท่านได้สนทนากับลูกศิษย์เป็นที่ถูกคอแล้ว ท่านมักจะเอ่ยถึงนามพระอาจารย์ของท่านให้ศิษย์ฟังอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ศุข เก่งอย่างนั้น หลวงพ่อเง่าท่านเก่งอย่างนี้ พระอาจารย์สีกับพระอาจารย์ปานเก่งไปอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งนามของพระอาจารย์ของท่านที่ท่านเอ่ยออกมาเป็นการยกย่องไว้เหนือเกล้า ไม่มีการลบหลู่ดูหมิ่นเป็นอันขาด  ปากของท่านก็มีประกาศิตเหมือนปากของพระร่วงเลยทีเดียว พูดคำไหนเป็นคำนั้น ให้พรใครคนนั้นก็เจริญก้าวหน้า ถ้าเผลอสาปแช่งหรือดุด่าก็จะเป็นไปตามปากของท่านทุกประการ นับว่าน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นที่เลื่องลือและกล่าวขานกันมาก ในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่จึงมีคนเดินทางไปขอพรท่านอย่างเนืองแน่นทุกวันมิได้ขาด

          ปฏิปทาของหลวงพ่อ    หลวงพ่อทบ ท่านเป็นพระที่มีเมตตา เยือกเย็นสุขุม ปรานีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พูดน้อย ชอบการก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว ได้ทำการก่อสร้างบูรณะวัดวาอาราม ไปตามสถานที่ต่างๆ ท่านได้เป็นผู้นำทำการก่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยไปแล้วถึง 16 หลัง ทั้งยังได้วางศิลาฤกษ์หลังที่ 17 ไว้แล้วที่วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็พอดีท่านมรณภาพเสียก่อน ทั้งนี้ไม่นับผลงานของท่านอีกมากมาย เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ บ่อน้ำ สระน้ำ และอื่นๆ อีก  คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นพระภิกษุที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ ตลอดชีวิตของท่านให้การต้อนรับแกบุคคลทั้งหลายเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตเพียงใด มั่งมีหรือยากจน ผู้ใดเดินทางไปกราบท่านก็จะได้รับการต้อนรับเท่าเทียมกันหมด ไม่มียินดียินร้ายหรือทะเยอทะยานในลาภ ยศ สรรเสริญ  ตรงกันข้าม เมื่อผู้ใดมีความทุกข์ไปหาท่าน ก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ไม่นิยมการสะสมเงินทองหรือทรัพย์สมบัติใดๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วจึงไม่มีทรัพทย์สินใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางโลกอันเป็นส่วนตัวของท่านเลยแม้แต่น้อย   นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ ตั้งอยู่ในโอวาทคำสั่งสอน ท่านเคยพูดว่าที่ต้องกลับมาอยู่วัดช้างเผือกอีก ก็เพราะว่าพระอาจารย์สี พระอาจารย์ของท่านได้สั่งเอาไว้ว่า วาระสุดท้ายให้มาอยู่ประจำวัดนี้อย่าให้ร้าง ทั้งท่านยังได้กล่าวอีก(พ.ศ. 2518) ว่าตัวของท่านขณะนี้ตายแล้ว เพียงแต่ไม่เน่าเท่านั้นเอง

          ปัจฉิมวัย   เมื่อปี พ.ศ.2507 หลวงพ่อทบท่านมีอายุได้ 83 ปี ความไม่เที่ยงแห่งสังขารก็เริ่มรุกรานท่านให้เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ในระยะนี้นัยน์ตาของท่านก็เริ่มฝ้าฟางลง จนในที่สุดก็บอดมืดสนิททีเดียว ซึ่งนายแพทย์ผู้รักษากล่าวว่า นัยน์ตาของหลวงพ่อได้หมดอายุแล้ว  ถึงแม้ว่าดวงตาของท่านจะมืดบอดไม่เห็น แต่ท่านก็ยังสร้างและบูรณะวัดวาอารามอีกหลายแห่ง และภายหลังจากที่ท่านได้ระลึกว่า การที่ท่านจะอยู่ในตำแหน่งโดยที่นัยน์ตาของท่านมองอะไรไม่เห็นเช่นนี้ น่าจะไม่ก่อประโยชน์อะไรขึ้นมา  ฉะนั้นท่านจึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งพระครูวิชิตพัชราจารย์ เจ้าคณะอำเภอชนแดน แต่ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านเกินกว่าจะกล่าวได้ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยฐานะกรมการศาสนา ก็มีมติให้ท่านคงดำรงตำแหน่งพระครูวิชิตพัชราจารย์กิตติมศักดิ์ต่อไปจนตลอดอายุ  เมื่อหลวงพ่อทบท่านได้ลาออกจากสมณศักดิ์แล้ว ท่านยังคงคิดถึงวัดที่ท่านได้เคยอาศัยอยู่กับพระอาจารย์สีมาก่อน นั่นคือ วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้างไม่มีผู้ใดจะคิดบูรณะ ร้างมาประมาณกว่า 30-40 ปี แล้ว อนึ่งท่านก็ยังคงจดจำคำของพระอาจารย์สีที่เคยบอกกับท่านไว้เมื่อ 68 ปีที่แล้ว่า หากถึงวาระสุดท้ายก็ให้กลับไปวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้างนั้นได้อย่างแม่นยำ  ดังนั้นท่านจึงได้ออกจากวัดพระพุทธบาทชนแดนทันทีที่ได้รับนิมนต์ให้มาช่วยบูรณะวัดศิลาโมง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดช้างเผือกนัก เพราะเห็นว่าสะดวกดีที่จะได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือกต่อไป  หลวงพ่อทบท่านได้บูรณะวัดศิลาโมง จนเห็นว่าสมควรจะได้ไปทำการบูรณะวัดช้างเผือกแล้ว ท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดช้างเผือกซึ่งร้างรอท่านให้ช่วยปลูกฟื้นฟูอยู่ หลังจากนั้นวัดช้างเผือกก็เปลี่ยนสภาพจากวัดร้างที่ไม่มีใครสัญจรไปมา นอกเสียจากพวกเด็กเลี้ยงควายจะได้ไปอาศัยพักร่มเงาบนกุฏิที่เก่าคร่ำคร่าจะพังมิพังแหล่ ซึ่งมีอยู่หลังเดียวกับศาลาการเปรียญที่ทรุดโทรมอย่างถึงที่สุดแล้ว พระอุโบสถแลเห็นเพียงแต่ฐาน เพราะส่วนบนปรักหักพังลงมาจนหมดสิ้น กลับกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดของตำบลวังชมพูในปัจจุบัน

          ถึงกาลมรณภาพ   แต่แล้วเหมือนฟ้าผ่ามาลงท่ามกลางท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งปราศจากเมฆฝนแม้แต่น้อย เมื่อเวลาประมาณเที่ยงวันเศษของวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2519 หลวงพ่อทบเหมือนเป็นไข้ นายแฉล้ม ชีพราหมณ์ เป็นผู้สังเกตอาการของหลวงพ่อทบได้ดีกว่าผู้อื่น เริ่มมีอาการวิตกกังวลเต็มไปด้วยความกระสับกระส่าย  เขาตัดสินใจนำรถมารับหลวงพ่อทบเพื่อที่จะรีบพาท่านไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯทันที แล้วอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ในขณะที่รถกำลังพาท่านไปกรุงเทพฯ มาถึงตำบลนาเฉลียง ออกจากวัดช้างเผือกมาได้ประมาณ 15 กิโลเมตร หลวงพ่อทบก็ปิดเปลือกตาลงอย่างสนิท พร้อมกับการกำหนดลมหายใจเป็นครั้งสุดท้าย มันเป็นเวลาสี่โมงเย็นพอดี หลวงพ่อทบก็มรณภาพลงอย่างสงบบนรถนั่นเอง   ข่าวหลวงพ่อทบมรณภาพดังกึกก้องอย่างรวดเร็ว ประชาชนทั่วทุกสารทิศที่ได้ทราบข่าวต่างก็พากันมุ่งตรงมายังวัดช้างเผือกในทันที วันแล้ววันเล่าที่คณะกรรมการวัดต้องทำงานอย่างหนัก ข้าวของเครื่องบริขารของหลวงพ่อได้รับการสำรวจอย่างถี่ถ้วนโดยเฉพาะพระเครื่องรางของขลังทั้งหมดได้ถูกเก็บรวบรวมในทันที เพื่อรอการตรวจเช็คของกรรมการต่อไป  ประชาชนจำนวนเรือนหมื่นได้ไปออกันอยู่ที่วัดช้างเผือกตลอดเวลาที่มีพิธีบำเพ็ญกุศลมิได้ขาด จนกระทั่งครบ 100 วัน ศพของท่านยังคงเก็บไว้ที่วัดช้างเผือกตลอดมา มิได้ทำการณาปนกิจหรือเผาแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำตามคำสั่งของท่านที่ให้เก็บศพไว้เพื่อสร้างมณฑปและโลงแก้ว สำหรับใช้เป็นที่เก็บศพของท่านอย่างถาวร ให้ลูกหลานได้กราบไหว้ต่อไป ความมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งสำหรับพระเกจิอาจารย์อย่างหลวงพ่อทบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวันเกิดและวันมรณภาพของท่าน ซึ่งไม่น่าจะมาคล้องจองกันได้อย่างประหลาด กล่าวคือ หลวงพ่อทบเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2424  ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง แล้วมรณภาพในวันที่ 14 มีนาคม 2519 เวลาบ่าย 4 โมงเย็น ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ(4) รวมอายุได้ 95 ปี (9+5=14)
 
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          วัตถุมงคลของท่าน คือ พระกริ่ง  รูปหล่อ  เหรียญ  พระเนื้อผง  ตะกรุด  และผ้ายันต์  และที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ รูปหล่อโบราณ และตะกรุด ปี พ.ศ.2505  มีหลายพิมพ์ด้วยกัน

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง  เมตตามหานิยม
  
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด