พระเครื่องทั้งหมด 967 ชิ้น 
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
ภาพวาดผลงานศิลปิน,รูปถ่ายเก่าซีเปีย (132) พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ (81) เหรียญพระพุทธ เหรียญเกจิ เหรียญที่ระลึก (35) เครื่องราง (182) พระปิดตาเนื้อโลหะ,ผงคลุกรักษ์ (35) พระเนื้อผง ดิน ว่าน (59) พระบูชา (104) หนังสือพระ (1) ศาสตราวุธโบราณ (44) อนุรักษ์พระกรุ (13) พระเครื่องเรื่องเล่าตำนานสายเหนียว (7)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 967 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 7 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 2 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 684 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงปู่ครีพ วัดสมถะ
หลวงพ่อโต วัดเนิน
หลวงปู่ภู่ วัดนอก
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย
หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์
หลวงปู่เจี๊ยะ วัดภูริทัตตปฏิปทาราม
หลวงปู่เผือก วัดสาลีโขภิตาราม
หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง
หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตคาม
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
อัตราแลกเปลี่ยน
ราคาน้ำมัน
ชำระผ่านธนาคาร
 ไทยพาณิชย์ 136-232797-4  กสิกร 735-2-43729-2  กรุงเทพ 009-006097-1  กรุงไทย 086-0-22285-3
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม

พระเครื่อง ศักดิ์ตลิ่งชัน


พระเครื่อง อีซี่อมูเล็ต


 
หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า

หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า จ.ระยอง

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร วัดวังหว้า จ.ระยอง

          "ท่านพ่อคร่ำ" ตามทีชาวบ้านย่านชายฝั่งทะเลตะวันออก เรียกขานกันนั้นท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากสาธุชนทั่วๆ ไปมานานเต็มทีแล้ว และยังเป็นท่านพ่อของบรรดาชาวเรือตังเกในย่านนี้ด้วยบางท่านที่เข้าถึงกระแสแห่งรสพระธรรม เชื่อกันว่าหลวงปู่เป็นผู้ที่ล่วงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง

          หลวงปู่คร่ำ หรือ พระครูสุตพลวิจิตร มีนามว่า คร่ำ อรัญวงศ์ เกิดที่บ้านตำบลวังหว้า อ.แกลง เมื่อวันพุธ แรม 10 ค่ำเดือน 11 ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2440 โยมบิดา ชื่อครวญ โยมมารดาชื่อ ต้อย ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวน พี่น้องทั้งหมด 4 คน หลวงปู่เป็นชาวเมืองแกลงโดยกำเนิด ซึ่งบรรพบุรุษได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามานานหลายชั่วอายุคน ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพในทางกสิกรรมเฉกเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ในชนบทที่ไม่ทำสวนก็ทำนาเป็นหลักคือ การทำสวนพริกไทย อันเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำกันแพร่หลายไม่แพ้ในเขตจังหวัดจันทบุรี เมื่อวัยเจริญขึ้นควรที่จะได้รับการศึกษา โยมบิดามารดา ได้พาไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือ กับท่านเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ซึ่งเวลานั้นหลวงปู่มีอายุราว 11-12 ปี เล่าเรียนและปรนนิบัติรับใช้อาจารย์อยู่ประมาณปีเศษจึงย้ายมาเรียนหนังสือที่วัดพลงช้างเผือกและพำนักอยู่ที่นั่น จนอายุได้ราว 15 ปีก็กลับมาบ้าน เพื่อช่วยเหลือเป็นกำลังของครอบครัวในการทำสวนพริกไทย แต่แล้วในปีนั้นเองได้เกิดอาเพทขึ้นบรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้น เกิดเหี่ยวเฉาตายเรียบทุกสวนสร้างความเดือดร้อนกันทั่วทุกครัวเรือนจนทำให้ทางบ้านของท่านเลิกการทำสวนพริกไทยหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นกระทั่งหลวงปู่อายุครบ 20 ปี จึงคิดที่จะบวชเพื่อทดแทนพระคุณ อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานของชายไทยทั่วๆ ไปที่นับถือพระพุทธศาสนา คนที่ยังไม่เคยบวชเรียน สังคม ชาวบ้านถือกันว่าเป็นคนดิบ ชนบทบางพื้นที่มีคำเรียกอันเป็นการแยกสถานภาพ ระหว่างผู้ที่ผ่านการบวชเรียนแล้ว กับผู้ที่ยังไม่ใด้บวช เช่นคำว่า ทิด ซึ่งมาจากคำว่า บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา หรือนักปราชญ์ คำเรียกดังกล่าวนี้แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือและอีสานก็มีเช่นกัน

          พอถึงวันจันทร์แรม 14 ค่ำเดือน 7 ปีมะเส็ง จ.ศ. 1279 ตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2460 จึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสังฆการบูรพาทิพย์ (ปั้น) วัดทะเลน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์เผือกวัดวังหว้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า ยโสธโร หลวงปู่ได้ปฏิบัติเหมือนกับพระนวกะทั่วๆ ไป และตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้ประโยคนักธรรมโท กับค้นคว้าตำรับตำราวิชาการต่างๆ จากนั้นจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระกรรมฐานและวิทยาคุณจากหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หรือวัดเขาชากโดนซึ่งเชี่ยวชาญในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมญานเป็นพระอาจารย์
บอกกรรมฐาน มีจิตตานุภาพและวิทยาคมขลัง เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น หลังจากได้ฝากตนเป็นศิษย์แล้วก็ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง จนบังเกิดความเชื่อมั่นในตนเองกับวิชาที่เรียนและเป็นที่พอใจของผู้เป็นอาจารย์

          ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ ออกจาริกธุดงค์เพื่อเป็นการทดสอบกำลังใจและฝึกฝนจิตให้เกิดสมาธิเข้าสู่วิปัสสนาญาณต่อไปได้เดินธุดงค์เพียรปฏิบัติอยู่เป็นเวลาพอสมควรจึงกลับสู่วัดวังหว้า นับตั้งแต่หลวงปู่คร่ำอุปสมบท ในเพศบรรพชิตสืบทอดหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดาถึงขณะนี้ได้ 76 ปี แล้ว ได้ใช้พระธรรมคำสอนอบรมบรรดาลัทธิหาริกและสาธุชนผู้มีใจฝักใฝ่ในธรรมให้ยึดมั่นถือมั่นในหลักคุณธรรมแห่งความดี ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ ได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ก็ปฏิบัติตนเป็นผู้สำรวมในศีลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เหล่าบรรดาศิษย์ จะได้จดจำและปฏิบัติตนตามเยี่ยงของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูบาจารย์ในส่วนที่ดี ด้านลูกศิษย์ของท่านมีมากมายหลายอาชีพ ตั้งแต่ข้าราชการระดับบริหารเศรษฐีตลอดจน กระทั่งผู้ใช้แรงงาน แต่ท่านก็ให้ความเมตตาโดยเสมอภาคกัน มิได้มีการแยกหรือแบ่งชั้นวรรณะซึ่งก็ได้สร้างปิติและศรัทธาต่อบรรดาสาธุชนเหล่านั้น ที่มีอยู่ทุกภาคของประเทศ

          เมื่อราวปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเมื่อมีกระทรวงใหม่เกิดก็ย่อมจะต้องมีเจ้ากระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการ บรรดา ส.ส.ผู้ทรงเกียรติต่างก็หมายมั่นปั้นมือเพื่อจะได้เป็นเสนาบดีกันสักครั้งหนึ่ง และก่อนหน้าที่จะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานไม่กี่วัน นายเสริมศักดิ์ การุณ ส.ส.ระยอง กับ นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร ได้พากันไปกราบหลวงปู่คร่ำให้หลวงปู่เจิมหน้าผาก รดน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้หลังจากนั้นไม่กี่วัน หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ไทยรัฐ พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเลยว่า "มนต์ หลวงปู่เฮี้ยน..." ปรากฏว่าท่าน ส.ส. ทั้งคู่ได้เป็นรัฐมนตรีเรียบร้อย

          จนกระทั่งมาอีกครั้งหนึ่งก็การแต่งตั้งอธิบดีตำรวจที่ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ กระเด้งกระดอนออกมาจากมติ กตร. 2 ระรอกแล้ว ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะมีการลงมติกันอีกครั้งวัดวังหว้าก็ปรากฏกายของท่าน พล.ต.อ. ประทินว่าที่อธิบดีตำรวจ เพื่อขอให้หลวงปู่คร่ำรอดน้ำมนต์ และเป่ากระหม่อมให้ เมื่อผลการแต่งตั้งออกมา ชื่อของ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพคือนัมเบอร์วันของกรมตำรวจจริงๆ ชื่อของลป.คร่ำ ก็ยิ่งตอกย้ำถึงบุญบารมี เพราะความศักดิ์สิทธิ์อย่างเหลือเชื่อ

          ลป.คร่ำท่านเป็นพระที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาอย่างไร้ขอบเขตจริงๆ ใครไปกราบไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเป่าหัวให้ ทำให้สารพัดผู้ที่ไปกราบท่านมีแต่ความปลื้มปิติซาบซึ้งในความเมตตาของหลวงปู่เป็นทวีคูณ ปัจจุบันนี้ด้วยวัยกว่า 97 ปีของหลวงปู่ จึงทำให้การต้อนรับหรือการเข้าไปพบท่าน ค่อนข้างจะต่างจากในอดีตเพราะสังขารท่านนั้นย่อมต้องการพักผ่อนก่อน แม้ว่าคนรอบข้างบอกว่าเดี๋ยว หลวงปู่เหนื่อยๆ แต่หลวงปู่ก็ยังเสมอภาคกับทุกคน

          ในด้านวัตถุมงคลของลป.คร่ำนั้นก็มีสร้างกันมาร่วม 30 ปีแล้ว สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนทุกท่านได้ไปกราบไหว้ลป.คร่ำ วัดวังหว้า สุดยอดมหาเมตตาบารมีแห่งยุค เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัว เทพเจ้าของชาวระยอง

          หลวงปู่คร่ำ ท่านมีอายุ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา ๘๐ นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทย

          ต่อมาเนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมา ต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมายหลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชาจนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิด มีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้งแต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลา จึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จากดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือน

          มรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพ
ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าวต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศลนับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบสินค้าในฐานข้อมูล หมวดหมู่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ศิลป์วัดกลาง จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


สิงห์หน้าโบสถ์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี  

พระโชว์ บาท


ตะกรุดโสฬสมงคลหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตะกั่วถ้ำชา จ.นนทบุรี  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พิมพ์พิเศษ(หน้าหมา) จ.สมุทรปราการ  

พระโชว์ บาท


กะลาราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 2  

พระโชว์ บาท


หนุมานหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม  

พระโชว์ บาท


เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ลูกที่ 1  

พระโชว์ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด