พระร่วงนั่งกรุคอกควาย อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ เนื้อตะกั่วสนิมแดง ศิลปะลพบุรียุคต้น
ขึ้นจากกรุ 2 ครั้ง จำนวนพระไม่เกิน 80 องค์ เป็นศิลปะในพุทธศตวรรษที่ 16-18 พระร่วงนั่งกรุคอกควายพบที่บ้านโศกพริก
เมื่อปีพ.ศ. 2505 มีชาวบ้านผู้หนึ่งได้ขุดหลุมเพื่อปักเสาทำคอกควาย
เผอิญได้พบพระเครื่องเป็นพระเนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งปางสมาธิ
ทรงเทริด มีกรองพระศอ และกำไลแขน ตัดขอบชิดองค์พระ ศิลปะแบบขอม จึงเรียกชื่อกันว่าพระร่วงนั่ง ส่วนคำว่าคอกควายก็มาจากสถานที่พบพระ
จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า พระร่วงนั่งกรุคอกควาย การพบพระครั้งแรกก็พบพระจำนวนไม่มากนัก แต่ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2541
ก็มีผู้พบพระลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ในบริเวณที่เดิมที่เคยพบพระ ได้พระจำนวนประมาณ
40 องค์ สันนิษฐานว่าคงจะตกค้างอยู่หลังจากนำพระขึ้นไปในครั้งแรก พระที่พบทั้ง
2 ครั้งเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ มีพระเนื้อชินเงินบ้างเล็กน้อย
พระส่วนมากจะมีคราบไขขาวจับอยู่ตามผิวพระ
เมื่อล้างไขขาวออกบ้างก็จะพบสนิมแดงสีเข้ม ส่วนพระเนื้อชินเงินก็จะมีผิวสีดำ ตามโบราณได้ว่าไว้สนิมแดงแซมไข
เป็นยอดขุนพลอันดับหนึ่งของภาคอีสาน หาตัวจริงนั้นยากมาก
|