พระถ้ำเสือหน้าแก่ พิมพ์เล็ก กรุวัดหลวง
มีรารักให้เห็นช่วยให้การพิจารณาได้ง่ายขึ้น พระกดพิมพ์เขยื้อน
เหมือนพุทธลักษณะเป็นพระสี่กร แปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง พระถ้ำเสือมีการค้นพบครั้งแรกในถ้ำ
บริเวณเขาถ้ำเสือ ต.จระเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ทำให้เรียกกันติดปากว่า
"พระถ้ำเสือ" มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน
เป็นศิลปะอู่ทองล้อทวาราวดี พุทธลักษณะโดยพระโอษฐ์แบะ ตาโปน พบด้วยกันหลายพิมพ์
จำแนกแยกออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 4 พิมพ์คือ 1.พิมพ์ใหญ่ 2.พิมพ์กลาง 3.พิมพ์เล็ก 4.พิมพ์จิ๋ว พุทธลักษณะทั้ง 4 พิมพ์นั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัยทั้งหมด มีด้วยกัน 3 สี ได้แก่ 1.สีเหลือง 2.สีแดง 3.สีเขียว สันนิษฐานว่า
พระฝ่ายอรัญวาสี พระผู้บำเพ็ญเพียรทางวิปัสสนากรรมฐานตามป่าเขา เป็นผู้สร้าง
และบรรจุเก็บไว้ตามถ้ำต่างๆ เช่น เขาถ้ำเสือ ถ้ำเขานกจอด เขาวงพาทย์ วัดหลวง
วัดเขากุฏิ เจดีย์เขาพระ และเขาดีสลัก พระถ้ำเสือแตกกรุมาเมื่อ พ.ศ. 2470 เป็นครั้งแรก และต่อมาได้พบเรื่อยๆจนครั้งสุดท้าย
ได้พบที่เขาดีสลักเมื่อ พ.ศ.2535 ในด้านพุทธคุณแล้วพระถ้ำเสือทุกกรุมีอานุภาพเหมือนกันหมด
ดีทางมหาอุด คงกระพันชาตรีเป็นเลิศ ตามความเชื่อที่มาแต่โบราณ
|