พระนายแหยม กรุวัดท่าตำหนัก จ.ปทุมธานี เนื้อดิน อยุธยามีพระเจ้าสิบชาติ
กรุวัดกระชายหรือ?วัดกระซ้าย ปทุมฯก็มีพระกรุนายแหยม เด่นทั้งคงกระพันชาตรี ทั้ง 2 ที่
ตามความเชื่อที่บอกเล่ามาแต่โบราณ แต่ของพระกรุนายแหยมจะมีความเชื่อเรื่องพนันขันต่อพ่วงมาด้วย
หนังฮองกง คนตัดคน มีเกาจิ้ง ไทยก็มี นายแหยม โคตรเซียนพนัน
ประวัติความเป็นมา
เล่ากันว่านายแหยมนั้นเป็นคหบดีที่มั่งคั่งคนหนึ่งในยุคนั้นแต่ไม่มีผู้สืบสกุลช่วงท้ายปลายชีวิตจึงอุทิศทรัพย์สินทั้งหมดให้กับวัดพร้อมทั้งสร้างพระที่จารึกชื่อของตัวเองเอาไว้เพื่อให้คนได้จดจำ คหบดีโดยทั่วไปความร่ำรวยนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการค้าขายหรือรับราชการจนเลื่อนขั้นจนได้รับพระราชทานที่ดินทำกิน
แต่ความร่ำรวยของนายแหยมนั้นมาจากการเล่นการพนันความสามารถในการเล่นการพนันของนายแหยมนั้นเข้าขั้นเทพเพราะมีแต่ได้ไม่เคยเสียเชื่อกันว่าชะตาเกิดของนายแหยมนั้นเกิดในฤกษ์ยามที่พิเศษกว่าคนทั่วไปประกอบกับตัวนายแหยมเองก็น่าจะมีความรู้ทางโหราศาสตร์ด้วย
การเดินทางไปเล่นพนันของนายแหยมนั้นจึงไม่ได้ไปเล่นจนหามรุ่งหามค่ำเหมือนคนทั่วไป
แต่กำหนดเวลาเล่นต่อให้เล่นได้มากขนาดไหนพอครบกำหนดเวลาที่ตัวแกตั้งไว้จะเลิกทันที
บางวันก็ไม่ยอมไปเล่นเรียกได้ว่าไม่ใช่คนติดการพนันแต่เล่นเพื่อเอาเงินเท่านั้น
ถึงแม้นายแหยมจะร่ำรวยเงินทองสักเพียงใดแต่ก็ไม่มีใครยกลูกสาวให้เพราะคนสมัยโบราณนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญของคนที่เงินตราแต่ให้ความสำคัญในความขยันทำมาหากินอย่างสุจริตมากกว่า
แม้นายแหยมจะร่ำรวยขนาดไหนก็ไร้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีอยู่อย่างเดียวดายไร้ผู้สืบสกุลจนภายหลังได้หันหน้าเข้าวัดใช้เงินทั้งหมดไปกับการทำนุบำรุงวัดและสร้างพระเครื่องจารึกชื่อตนเองเอาไว้เพื่อมิให้คนลืม
นายแหยมเป็นคนฉลาดการสร้างพระธรรมดาจารึกชื่อตนไว้เพียงอย่างเดียวคนทั่วไปคงไม่จดจำและนำมากราบไหว้ ยามที่แกมีชีวิตคนไม่นับถือแกจึงตั้งใจให้คนกราบไหว้พระที่แกสร้างขึ้นในยามที่แลาจากโลกนี้ไป
พระที่สร้างขึ้นนั้นจึงได้ใช้จุดเด่นของแกที่คนร่ำลือกันในเรื่องการเสี่ยงโชคเป็นตัวกำหนดฤทธิ์ยาม โดยใช้ฤกษ์กำเนิดของตนเองเป็นช่วงเวลาที่สร้างพระ
พระที่สร้างขึ้นมาจึงมีจำนวนไม่มากนักเพราะสร้างตามฤกษ์
สมัยก่อนคนที่ชอบเล่นการพนันกำถั่วจึงมักพกพระนายแหยมใส่ในผ้าขาวม้าแล้วคาดเอวไปเล่นการพนันเพราะเชื่อกันว่าจะเล่นการพนันได้
พระนายแหยมจึงเป็นพระแห่งโชคลาภที่คนยุคเก่าอยากมีไว้ครอบครอง
เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรนั้นไม่อาจทราบได้ แต่ที่แน่ๆคนที่พกพระนายแหยมนั้นอีกประสบการณ์ที่ยากจะลืมกันก็คือเรื่องคงกระพัน ถูกดักยิง ดักฟันด้วยมีด
ไม่มีเข้าสมัยก่อนบ้านไหนมีพระของนายแหยมองค์เดียวแต่มีลูกหลายคนต้องเอาพระมาตัดแบ่งกันแล้วจับฉลากกันว่าใครจะได้ท่อนไหน
แสดงว่าพระนายแหยมต้องมีดีและต้องมีดีมากกว่าเรื่องคงกระพันแต่เพียงอย่างเดียว
เพราะพระเครื่องที่ดีทางอยู่ยงคงกระพันสมัยนั้นมีกันเกลื่อนเมือง
ไม่อย่างนั้นเรื่องตัดแบ่งแบบไม่ยอมให้กันคงไม่เกิดขึ้นแน่
อีกข้อมูลหนึ่งนั้นบอกว่าพระนายแหยมนั้นผู้สร้างคือพระยาโหราธิบดี (แหยม )
เป็นคนเชื้อสายมอญ ปากเกร็ด ท่านเป็นโหรหลวงชื่อดังในสมัยรัชกาลที่ ๕
ได้สร้างพระขึ้นมาติดไว้ในผนังโบสถ์
โดยดูฤกษ์ยามในการสร้างเพื่อให้พระที่สร้างนั้นดีทางโภคทรัพย์เมื่อนำไว้ที่วัดไหนวัดนั้นก็จะไม่ร้างผู้คนมีคนมาทำบุญมิได้ขาด
ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงพระที่สร้างน่าจะเป็นพระยุคหลังไม่น่าจะใช่พระยุคแรก
เพราะเมื่อพิจารณาจากศิลปขององค์พระแล้วพระนายแหยมยุคแรกนั้นน่าจะสร้างสมัยต้นรัตนโกสินทร์เสียมากกว่า
อย่างที่เห็นกันพระนายแหยมนั้นมี ๒ ยุค
คือยุคแรกให้สังเกตุที่ด้านล่างของพระอักขระสาวกทั้งซ้าย ขวา จะมีชื่อ
นายแหยมเขียนไว้ชัดเจน
เท่าที่พบเห็นจะเป็นเนื้อดินทั้งหมด มี ๒
พิมพ์แกะพิมพ์โดยช่างคนละคนกันเนื้อหาก็แตกต่างกัน ขึ้นจากคนละที่
พระที่ขึ้นจากวัดตำหนักมีเนื้อละเอียดกับหยาบ
เนื้อดินละเอียดสมัยก่อนนักสะสมมักจะเรียกว่าเนื้อดินผสมผง ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่ได้ผสมผงแต่อย่างใดแต่เป็นดินกรอง
คำว่าดินกรองก็คือกรรมวิธีที่นำดินเหนียวไปละลายน้ำแล้วกรองเพื่อแยกเอาเศษกรวดเล็กๆที่ปนอยู่ในดินเหนียวออกมา ดินเหนียวที่กรองออกมานั้นมาทิ้งให้ดินค่อยๆตกตะกอนแยกตัวจากน้ำ ก่อนที่จะรินเอาน้ำที่อยู่ด้านบนออกเหลือแต่ตะกอนดิน ทิ้งให้น้ำค่อยๆระเหยออกมา ก่อนนำดินมาหมักให้ได้ที่
ดินแบบนี้เสียเวลาในการจัดเตรียมนานแต่พระที่ได้เนื้อจะละเอียดดูสวยงาม
นอกจากเนื้อดินแล้วยังมีเนื้อใบลานสีออกดำด้วยซึ่งจริงๆแล้วก็คือเนื้อดินแต่มีสีดำเพราะเผานานจนดินไหม้ ส่วนเนื้อดินที่ดูหยาบกว่านั้นเพราะไม่ได้กรองดิน ทั้ง ๒ เนื้อนี้ใช้แม่พิมพ์เดียวกัน
ส่วนที่พบในอุโบสถวัดหงษานั้นเนื้อจะหยาบกว่าของวัดตำหนักและ
เป็นคนละพิมพ์กันองค์พระจะดูล่ำสันกว่า
พระนายแหยมยุคแรกทั้ง ๒ วัดนั้นจะมีการเจาะรูเอาไว้เข้าใจว่าน่าจะทำเอาไว้เพื่อให้ตะปูสอดเขาไปเพื่อตรึงกับผนังอุโบสถแต่ไม่ได้ตอกติดที่ผนังแต่อย่างใด
น่าจะนำไปบรรจุในแผ่นไม้ที่เจาะเป็นช่องพอดีองค์พระเสียมากกว่าแล้วนำไปวางหรือยึดไว้กับผนังโบสถ์
ต่อมาพระนายแหยมบางส่วนที่ติดอยู่ภายในผนังโบสถ์ทั้ง ๒
วัดนี้ถูกคนนำออกมา แต่จะนำออกมาด้วยวิธีการใดนั้นก็มิอาจทราบได้
รู้แต่เพียงว่าพระนายแหยมนั้นคนนิยมและแย่งชิงกันมากเพราะมีจำนวนไม่มากเท่าไหร่
ต่อมาจึงมีการสร้างพระนายแหยมยุคหลังขึ้นมาโดยถอดจากพิมพ์เดิมพระจึงดูตื้นกว่า
และที่สำคัญใต้ฐานพระอัครสาวกนั้นจะเรียบไม่มีชื่อนายแหยมปรากฎ
สาเหตุที่มีการสร้างเสริมเพิ่มขึ้นมานั้นน่าจะเป็นการสร้างเพื่อเสริมเข้าไปติดที่ผนังเนื่องจากพระที่มีอยู่เดิมนั้นสูญหายไปจำนวนหนึ่ง มีทั้งเนื้อดิน เนื้อผง และเนื้อชินตะกั่ว
เนื้อดินนั้นไม่ค่อยจะได้รับความนิยมสักเท่าไหร่เนื่องจากถอดพิมพ์จากของเดิมสวยเทียบชั้นกันกับยุคแรกไม่ได้
แต่ถ้าเป็นเนื้อผงกับเนื้อชินแล้วจะได้รับความนิยมมากเพราะพบเห็นน้อย จัดเป็นพระในตำนานของ จังหวัดปทุมธานื
ที่หายากและต่างต้องการมีไว้ครอบครอง
Cr. ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก พี่ มนตรี โทณะวณิก
พระเมืองปทุม
|