รูปถ่ายซีเปียครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดศรีดอนไชย ปี พ.ศ. 2463 ณ
ศาลาบาตรของวัดศรีดอนไชย ขนาด 4*6 นิ้ว แนวนอน กรอบ การด์ กระจกเดิมแบบแก้วเป่า
เดิมเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว แชมป์งานตามรอยจอบแรกครั้งที่ 10 รูป Act.นี้เป็นรูปอันดับหนึ่งของล้านนา
ทำไมถึงจัดเป็นรูปอันดับหนึ่งของล้านนา
เพราะเป็นรูปที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยถ่ายครั้งแรก ตอนอายุครูบาเจ้าฯ 42 ปี
และถ่ายโดยช่างถ่ายอันดับหนึ่งของล้านนา โดย นาย เอ็ม.ทานากะ และ Act. นี้ เป็นรูปที่สร้างชื่อเสียงให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นอันมาก
โดยได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษ โดยหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์
ในยุคสมัยนั้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้และการศึกษาได้รู้จักครูบาเจ้าฯพระบ้านป่า
ได้มากขึ้น
และโดยในเนื้อหาในหนังสือพิมพ์ก็ได้วิเคราะห์ออกมาและถ่ายทอดออกมาว่าครูบาเจ้าฯท่านถูกกั่นแกล้งใส่ร้ายและสร้างวาทกรรมใส่ร้ายท่านว่าเป็น
ผีบุญขึ้นมา ทำให้เกิดความไม่พอใจที่มีผู้คนนับถือครูบาเจ้าฯเป็นอันมาก หลังจากใต่สวนหาความจากครูบาเจ้าฯโดยคณะสงฆ์
ผลปรากฎว่าครูบาเจ้าฯมิได้ทำผิดใด คณะสงฆ์ผู้พิจารณาความก็ตัดสินครูบ้าเจ้าฯพ้นผิดทุกข้อกล่าวหา
กลับทำให้เกิดคลื่นพลังศรัทธาในตัวครูบาเจ้าฯมากขึ้นเป็นทวีคูณ
และก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของตนบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา
เพื่อบูรณะและสร้างวัดวาอารามทั่วแผ่นดินสยามล้านนา
ประวัติ ของ นาย เอ็ม.ทานากะ ถือว่าน่าสนใจมาก
นักถ่ายภาพอีกคนซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการถ่ายภาพในเชียงใหม่ก็คือ
มิสเตอร์ เอ็ม.ทานากะ (Mr. Morinosuke Tanaka) ท่านได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2443 ในสมัยรัชกาลที่ 5โดยเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่ร้านถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรุงเทพฯชื่อร้านโรเบิร์ต
เลนส์ ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง มิสเตอร์ เอ็ม.ทานากะ ทำงานอยู่ที่ร้านโรเบิร์ต
เลนส์ 3 ปี
ก็ได้เดินทางไปเปิดร้านถ่ายรูปที่เมืองลำปางตามคำชักชวนของเจ้าผู้ครองนครลำปาง
มิสเตอร์ เอ็ม.ทานากะ เปิดร้านถ่ายรูปในเมืองลำปางชื่อร้านทานากะถ่ายรูป
อยู่ย่านกลางเมือง กิจการร้านถ่ายรูปของนายทานากะดีพอสมควร แต่ลำปางเป็นเมืองเล็ก
เมื่อนายแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ ดร.คอร์ต
ซึ้งคุ้นเคยกับนายทานากะได้ชักชวนให้ไปเปิดร้านถ่ายรูปที่เชียงใหม่
โดยมาเปิดที่บ้านวัดเกตุซึ่งเป็นย่านชุมชนการค้าของเมืองเชียงใหม่สมัยนั้น
กิจการร้านถ่ายรูปของนายทานากะก็เจริญรุ่งเรืองมีฐานะขึ้น
นายทานากะจึงได้แต่งงานกับนางสาวทองดี ภิญโญ ชาวลำพูน มีลูกสาว 1 คนชื่อ คำปุ่น
ต่อมาลูกสาวได้แต่งงานกับนายฮาตาโน ผู้สืบทอดกิจการร้านถ่ายรูปต่อจากนายทานากะ
หลังจากที่นายทานากะแต่งงาน จึงได้ขยายกิจการร้านถ่ายรูปโดยไปซื้อที่ดินข้างโบสถ์คริสตจักรที่
1 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ริมฝั่งแม่น้ำปิง เปิดเป็นร้านถ่ายรูปชื่อ "ร้านเชียงใหม่ถ่ายรูป" ตั้งเป็นโรงงานที่มีกระจกถ่ายรูปสามารถใช้ถ่ายรูปตอนเช้าได้โดยไม่ต้องใช้แสงไฟฟ้า
ผลงานการถ่ายภาพของนายทานากะสมัยนั้นนิยมถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ และภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ
ในเชียงใหม่ นับได้ว่าร้านถ่ายรูปของนายทานากะ เป็นร้านถ่ายรูปแห่งที่ 2
ของเมืองเชียงใหม่ต่อจากร้านชั่วย่งเส็งของหลวงอนุสารสุนทร
มิสเตอร์ เอ็ม.ทานากะ เสียชีวิตลงด้วยโรคชราเมื่อวัย 88 ปี
นางคำปุ่นและนายฮาตาโน (Mr. Shu Hatano) ลูกเขยจึงได้สืบทอดกิจการร้านถ่ายรูปต่อจากนายเอ็ม.ทานากะ
นายฮาตาโน
เกิดที่เมืองฮิโรชิมาและเดินทางเข้ามาในประเทศไทยตามคำชักชวนของพี่ชายคือนายโซโจ
ฮาตาโน ซึ่งทำงานอยู่ที่ร้านถ่ายรูปของนาย เค.อีโซนากา
ซึ่งเปิดเป็นร้านถ่ายรูปของชาวญี่ปุ่นร้านแรกในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง
บริเวณไปรษณีย์กลาง นายฮาตาโนทำงานอยู่ที่ร้านเค.อีโซนากา ประมาณ 4 ปี
แล้วจึงกลับไปเรียนวิชาถ่ายรูปที่โรงเรียน Oriental Photo School ที่กรุงโตเกียวเป็นเวลา 1 ปีเศษ
แล้วจึงกลับเข้ามาทำงานอยู่กับนายทานากะที่เชียงใหม่
ในช่วงนี้เองที่ความนิยมในการถ่ายรูปเริ่มเป็นที่แพร่หลายในเชียงใหม่
มีร้านถ่ายรูปเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะร้านของชาวญี่ปุ่นจากกรุงเทพฯได้มาเปิดร้านถ่ายรูปที่มีชื่อได้แก่ร้าน "ยากี" ซึ่งได้เช่าที่ของห้างอนุสารสุนทร บริเวณหน้าวัดอุปคุต บนถนนท่าแพ
นอกจากนั้นยังมีร้านถ่ายรูปของชาวจีนชื่อ "เต็กหมัน" มาเปิดกิจการถ่ายรูปในเชียงใหม่
หลังจากนั้นมากิจการร้านถ่ายรูปในเมืองเชียงใหม่ก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม หลวงอนุสารสุนทร
มิสเตอร์เอ็ม.ทานากะและนายฮาตาโนถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้บุกเบิกการถ่ายภาพในเชียงใหม่
ซึ่งผลงานถาพถ่ายของทั้งสามท่านล้วนแล้วแต่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถใช้อ้างอิงถึงเหตุการณ์
สถานที่ในอดีต ซึ่งไม่อาจประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ ภาพต่าง ๆ
เหล่านี้จึงเป็นเสมือนมรดกชิ้นสำคัญที่เชื่อมรอยต่อระหว่าง "อดีต" กับ "ปัจจุบัน" ของเมืองเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี
|