กริซหัวชวาป่วย 7 คต ใบกริซยาว 13 นิ้ว รวมหัว 16.5 นิ้ว รวมฝักกริซ
19 นิ้ว ด้ามกริชรูปแบบคล้ายคนนั่งกอดอก
เอียงไหล่ตะแคงหน้า
บนศีรษะมีครีบแหลมคล้ายหงอนไก่
ในภาคใต้เรียกด้ามกริชแบบนี้ว่า
ด้ามกริชหัวลูกไก่ หรือ ด้ามกริชหัวลูกไก่ตายโคม ชาวมลายูในภาคใต้ตอนล่างเรียกว่า ด้ามกริชแบบอาเนาะอาแย แปลว่าด้ามกริชหัวลูกไก่เช่นกัน ส่วนชาวมุสลิมในมาเลเซียเรียกว่า ฮูลูยาวาเดมัน แปลว่าด้ามกริชแบบชวาป่วย เพราะดูคล้ายคนป่วยนั่งจับเจ่ากอดอกคอตกตะแคง อยู่ในกลุ่มกริซคาบสมุทรตอนเหนือฝักแบบบูกิซปัตตานี
กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ
ความเชื่อเรื่องจำนวนคดของกริช
3 คด ประสบความสำเร็จ ในสิ่งคาดหวัง
5 คด เป็นที่รักของคนอื่น
7 คด เกียรติ
9 คด เกียรติ มีพรสวรรค์ และ มีภาวะผู้นำ
11 คด ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น
13 คด มีชีวิตสงบสุข และมั่นคง
กริช
อาวุธมีดสั้นและเครื่องประดับกายอันเป็นเอกลักษณ์และถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมร่วมของอาเซียนที่พบใน
บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์(เกาะโมโร) รวมถึงทางภาคใต้ของประเทศไทย
เชื่อกันว่ากริชได้เริ่มใช้ในเกาะชวาก่อนแพร่กระจายความนิยมไปยังที่อื่นๆในภูมิภาค
กริชในแต่ละที่จะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกันขึ้นอยู่กับฝีมือช่างและรสนิยม
โดยส่วนใหญ่มักทำเป็นหยักเหมือนลูกคลื่นและนิยมทำเป็นเลขคี่
หรืออาจพบเป็นลักษณะของกริชแบบตรง เช่นในภาคใต้ของไทย
และในฐานะเครื่องแสดงฐานะและเครื่องประดับ (เช่น
ในภาพราชทูตสยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เห็นได้ว่าเหล่าคณะทูตที่ไปเยือนฝรั่งเศสมีการเหน็บหรือประดับกริชด้วย)
การเหน็บกริชในแต่ละพื้นที่ยังมีความแตกต่างกัน เช่นชาวชวาเหน็บกริชไว้ด้านหลัง
ขณะที่ทางสุมาตรา คาบสมุตรมาลายู สุลาเวสี
นิยมเหน็บกริชไว้ด้านข้างซ้ายหรือด้านหน้า
นอกจากนั้นกริชยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์มากมายที่สื่อเกี่ยวกับความเป็นรัฐ
ชาติและการเมือง จึงถูกประดับและเป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ เช่น ตราแผ่นดินสยาม
ตรารัฐสลังงอร์ (Selangor) ตรารัฐตรังกานู (Terengganu) ตราจังหวัดกาลิมันตันตะวันตก (West Kalimantan) ตราพรรคUMNOในมาเลเซีย รวมถึงตราของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro
National Liberation Front) สภาพสวยสมบูรณ์
|