รูปถ่ายซีเปียครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พัดคณะราษฎร์ ปี พ.ศ. 2475 ขนาด3*4 นิ้วไม่รวมการด์ สภาพกรอบการด์เดิมๆไม่เคยย้ายการด์
พิเศษตรงเป็นรูปถ่ายที่ออกจากร้านนายห้างทานาคา ส่วนใหญ การด์ M.Tanaka จะปรากฎในรูปครูบาฯในยุคแรกที่ครูบาฯถ่ายครั้งแรกที่วัดศรีดอนไชย ปี
พ.ศ.2463 แล้วก็ไม่เคยปรากฎให้เห็นรูปครูบาฯที่อยู่การด์ Tanaka ใน Act. อื่นอีกเลย เพิ่งเห็นรูปนี้เป็นรูปแรก
รูปนี้เป็นรูปซีเปียออกโซนเหลือง อธิบายตามหลักวิชาการ สาเหตุเกิดได้ 2 กรณี 1
.เกิดจากกระดาษที่เคลือบเจลาตินไม่ได้มาตรฐาน 2.
เกิดจากคนคือเวลาล้างอัดภาพลงกระดาษรีดน้ำยาออกจากเจลาตินไม่ดีพอ พอนานวันหลายสิบปีเข้าน้ำยาก็ระเหยออกมาเกิดการยุบตัวจะปรากฎการแตกรานเหมือนชามสังคโลคที่ตัวรูป
จะพบเห็นลักษณะแบบนี้น้อยมากที่เกิดจากความผิดพลาดไม่ได้มาตรฐาน
ขออธิบายว่าทำไมถึงต้องเรียกครูบาเจ้าศรีวิชัย มีที่มาที่ไปดังนี้ ผศ.วิลักษณ์
ศรีป่าซาง อาจารย์ประจำแผนกวิชาภาษาตะวันออก คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ จ.เชียงใหม่
ผู้ศึกษาตำนานครูบาทางภาคเหนือ ได้ให้ความกระจ่างไว้ว่า คำว่า "ครูบา"
เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า "ครุปิ อาจาริโย" แปลว่าเป็นทั้งครูและอาจารย์
มาจากคำว่า "ครุปา" และเพี้ยนเป็น "ครูบา" ในที่สุด
เป็นคำที่พบว่า ใช้กันเฉพาะในวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น เป็นตำแหน่งทางสังคมของสงฆ์
หมายถึงการยกย่องเชิดชูพระสงฆ์ผู้ได้รับการยกย่องและนับถือศรัทธาจากประชาชน
หรือมีผลงานปรากฏแก่ชุมชน โดยจะใช้คำว่า ครูบานี้ เป็นสรรพนามนำหน้า
ภิกษุสงฆ์รูปนั้นๆ พระสงฆ์ทั่วๆ ไปไม่มีสิทธิ์แต่งตั้งตัวเองเป็นครูบา คำว่า
"ครูบา" ตามความหมายดั้งเดิมเป็นสรรพนามที่ใช้เรียกขานพระผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ พระผู้ครองตนเป็นอย่างดีตลอดอายุการบวช เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
รวมถึงพระผู้สร้างสิ่งดีงามกับพระศาสนาให้เป็นที่ประจักษ์
ซึ่งอาจหมายถึงการสร้างศาสนสถาน หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังต้องเป็นพระที่มีอายุพรรษาไม่น้อยกว่า ๔๐ ปีขึ้นไป
นั่นหมายความว่าครูบาจะต้องมีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป
ภาคเหนือพระที่มีอายุมากและมากพรรษา
แต่ไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนในการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หรือไม่เคยสร้างศาสนสถาน
จะไม่นิยมเรียกว่าครูบา แต่จะเรียกขานว่า ตุ๊ หรือ ธุ อาจเติมคำว่า ลุง ปู่
หรือพ่อ ตามหลัง เช่น ธุลุงคำ ธุปู่เป็ง ธุพ่อแก้ว เป็นต้น ในขณะที่
"ครูบา" ในความหมายของชาวไทเขินเชียงตุง กลับหมายถึงหนึ่งในลำ กับตำแหน่งทางสงฆ์
เปรียบได้กับ พระครู เจ้าคุณของบ้านเรา เป็นที่น่าสังเกตว่าการยกย่องให้เป็นครูบา
กลับไม่ถูกใช้กับพระภิกษุที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่มาจากต่างถิ่น
แต่จะเรียกกับพระหรือ "สังฆะ" ที่มีพื้นเพในทางภาคเหนือเท่านั้น
นอกเหนือจากครูบาทั่วไปแล้ว ยังมี "ครูบาเจ้า" ที่ถือเป็นครูบาเหนือครูบา
ครูบาเจ้า ในอดีตถูกแบ่งเป็นสองแบบ คือ ครูบาเจ้าที่มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
เช่น ครูบาเจ้าเกษม เขมโก และครูบาเจ้าที่ไม่ได้สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
แต่เป็นผู้นำหรือเจ้าทางจิตวิญญาณอย่างแท้จริง เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นครูบาเหนือครูบาคือ
ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ตามครูบาคติดั้งเดิม
ซึ่งจะแตกต่างจากครูบาคติใหม่อย่างชัดเจน
|