รูปถ่ายหลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน กรุงเทพฯ เจ้าสำนักเก้ายอดอันลือลั่นในอดีต การ์ดเดิมในการ์ดระบุที่ระลึกพระนันทพิริยะ เป็นฉายาของเจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา ท่านเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อหรุ่น ได้มาพร้อมตะกรุดกระดูกแร้งที่ โชว์อยู่ เหรียญของท่านหายากแล้วแต่รูปถ่ายท่านหายากยิ่งกว่า เป็นภาพที่ถ่ายที่สวนสัตว์ดุสิต(เขาดิน)บริเวณน้ำตกเก่าปัจจุบันได้ถูกรื้อไปหมดแล้ว ขอกล่าวถึงประวัติหลวงพ่อหรุ่น ก่อนจะเข้าสู่ลมกาสาวพัสตร์ ในบรรดานักเลงหรือไอ้เสือสมัยก่อนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เห็นจะไม่มีใครเกินเสือหรุ่น ใจภาราแห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง ต่างถูกเสือหรุ่น ใจภารา ปล้นและฆ่ามากต่อมาก ทั้งตำรวจและเจ้าหน้าที่บ้านต่างใช้ความพยายามเป็นอย่างยิ่งในการจับเป็นเสือหรุ่นให้ได้ จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถจับได้ แม้ว่าบางครั้งได้ล้อมไว้อย่างเข้มแข็งก็ตามเมื่อตำรวจเห็นว่าไอ้เสือหรุ่นไม่อาจจับเป็นได้ จึงสั่งให้จับตายทันที แต่ก็ปรากฎว่าลูกกระสุนปืนนับเป็นสิบเป็นร้อยนัดไม่เคยระคายผิวหนังเสือหรุ่นได้เลย และเสือหรุ่นก็สามารถแหวกวงล้อมตำรวจหนีไปได้ทุกครั้ง ทั้งนี้เพราะว่าเสือหรุ่นสำเร็จวิชาผูกหุ่นลวงตาได้นั้นเอง ในที่สุดเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรประกาศไม่เอาโทษเสือหรุ่น ใจภารา เพราะทางการยังต้องการเสือหรุ่นไว้ใช้ในราชการในฐานะที่มีความสามารถพิเศษในทางเวทย์มนต์คาถา ส่วนเสือหรุ่น ใจภาราก็เริ่มได้คิดและปลงตกถึงแก่นสาระแห่งชีวิตเกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อันเป็นวัฐจักรแห่งชีวิตที่ไม่เที่ยงแท้ ประกอบกับเล็งเห็นวิถีชีวิตของตนเองที่ก่อกรรมทำเข็ญไว้มาก จึงกลับตัวเลิกเป็นไอ้เสือ ตั้งใจทำคุณงามความดีและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันในตำบลเชียงรากในเวลาต่อมา ด้วยความตั้งใจทำคุณงามความดีนั่นเอง กำนันหรุ่น ใจภาราจึงได้รับพระราชทานยศเป็นขุนกาวิจล ใจภารา ท่านขุนกาวิจล ใจภาราพยายามปราบผู้เป็นภ้ยแก่่ประชาชนในท้องที่ที่ตนปกครองอยู่ แต่ถึงกระนั้นก็ตามเมื่อมีการปล้นที่บ้านใดก็ตามมักฆ่าเจ้าทรัพย์พร้อมกับบอกว่าเป็นสมุนของขุนกาวิจล ทำให้ทางราชการหันมาติดตามการเคลื่อนไหวของขุนกาวิจล ใจภารา แต่ก็ไม่ได้ความอะไรนักขุนกาวิจล เริ่มเห็นว่าชีวิตของการเป็นกำนัน เมื่อทำคุณงามความดี ยังมีผู้อื่นเอาชื่อของตนไปแอบอ้างในการปล้นอยู่ทุกครั้ง จึงเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตของเพศฆราวาส ทั้งที่มีภรรยาถึง 4 คนก็ตามจึงหันมาดำเนินรอยตามพระพุทธองค์ หนีเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ และบวชจำพรรษาอยู่ ณ ที่วัดอัมพวัน ต.นครไชยศรี อ.ดุสิต กรุงเทพฯ นั่นเอง เมื่อลูกศิษย์ที่เคารพนับถือต่างทราบข่าว ก็พากันมาของเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อหรุ่น ในสมัยนั้นของขลังที่มีชื่อเสียงโด่งดังของหลวงพ่อหรุ่นก็คือ การสักที่หลัง มีพุทธคุณเป็นมหาอุตม์ทางคงกระพันชาตรี และเป็นนิยมชมชอบของพวกนักเลงจนได้สมญานามว่าเก้ายอด ซึ่งเป็นก๊กนักเลงที่มีการสักที่แผ่นหลังเป็นสัญลักษณ์ทุกๆ คน หลวงพ่อหรุ่นอยู่ในบวรพุทธศาสนาได้ประมาณ 35 พรรษาก็ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2471 ณ วัดอัมพวัน รวมอายุได้ประมาณ 81 ปี
|