พระบูชาบัวเข็มไม้แกะปางนาคปรกสิงห์คูขนาบซ้ายขวา ศิลปะยุคมัณฑะเลย์
อายุ 100 กว่าปี รักทองสมบูรณ์ หน้าตัก 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว ในความเชื่อของชาวพม่า
มอญ ไทใหญ่ สิงห์นั้นมีหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนา
สิงห์ที่ทำหน้าที่เฝ้านั้นจะเป็นสิงห์ตัวผู้ทั้งคู่ ถ้าแยกสิงห์ออกมา สายเครื่องรางตีเข้าหลวงปู่ยิ้ม
วัดหนองบัว เป็นแน่แท้ ความเก่าได้หมด
มาลงลึกในรายละเอียดของพระบัวเข็ม
มีผู้เคยศึกษาเรื่องพระบัวเข็มในอดีตไว้บ้างไม่มากนักดังนี้ศาสตราจารย์
ฌ็อง บัวเซอลีเยร์ (Prof. Jean Boisselier) นักโบราณคดีคนสำคัญในช่วงทศวรรษ
50-90 จากสำนักฝรั่งเศส ได้กล่าวว่าในประเทศพม่า
นับตั้งแต่ยุคศรีเกษตรหรือ Pyu เป็นต้นมา(พุทธศตวรรษที่ 10)
ชาวปยู่และชาวมอญบูชาพระพุทธปฏิมาอยู่รูปแบบหนึ่ง ซึ่งชาวพื้นถิ่นในพม่าแล้ว
เรียกกันว่า พระทักษิณสาขา เหตุที่มองว่ามีลักษณะพิสดาร
ก็เพราะผสมผสานระหว่าง รูปลักษณ์ที่ประทับนั่งในปางมารวิชัย (ปราบมาร)
คือเอามือขวาวางพาดเข่าขวาแตะธรณี และเอามือซ้ายวางบนตัก
มีข้อสังเกตคือเอาคางวางบนไหล่ คล้ายเก็บส่วนคอ และมักนั่งก้มหน้า
อาจารย์บ๊วซ (หมายถึง ศาสตราจารย์ ฌ็อง บัวเซอลีเย่) เชื่อว่า พระทักษิณสาขา
นี้คือ พระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ที่พัฒนามาจากเทพพื้นเมืองในฝ่ายอินเดียใต้และลังกา
คือการแปลงท้าวกุเวรและคณะ (ยังคงเหลือลักษณะอ้วนต้อพุงพลุ้ย และมีใบบัวปรกผม)
ด้วยการที่ชาวมอญได้นำมาผสมผสานกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยของพระพุทธเจ้า
(พระมหามัยมุนี) และตั้งชื่อเฉพาะใหม่ว่า พระทักษิณสาขา
ด้วยเหตุที่ได้นำกิ่งไม้โพธิ์จากด้านทิศใต้
ซึ่งหักลงมาเองจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ (ต้นโพธิ์นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี)
จนแห้งสนิทดีแล้ว นำมาแกะสลักทาด้วยยางรักหุ้มทองเป็นพระโพธิสัตว์ขนาดเล็ก อันเป็นที่มาของชื่อ
พระทักษิณสาขา
พระบัวเข็ม อุบัติขึ้นด้วยการนำติดตัวเข้าสู่แผ่นดินสยามครั้งแรกโดย
พระภิกษุชาวมอญ รูปหนึ่ง นำมาถวายแด่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4
ขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ฉายา พระวชิรภิกขุ
โดยไม่มีเอกสารใดระบุนามของพระภิกษุมอญรูปนั้นว่าจะใช่ พระซาย ฉายา
พุทฺธวํโส หรือไม่ ผู้สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้แก่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4
จนถึงขนาดขออุปสมบทใหม่ในวงศ์พระสงฆ์มอญ (รามัญนิกาย) เมื่อ พ.ศ.2372
นำไปสู่การตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ.2376 ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้นำพระบัวเข็มองค์นั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีขอฝนหรือ
พระพิรุณศาสตร์ ทำให้ชาวสยามเชื่อกันว่า พระบัวเข็มมีคุณในแง่เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เป็นศิลป์ที่หายากมากศิลป์หนึ่ง
|