ภาพวาดสีฝุ่นอมตะเถระแดนใต้ไข่มุกอันดามัน หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต ความเคารพและศรัทธาที่ถ่ายทอดผ่านปลายพู่กันได้ออกมาดุจมีชีวิต ศิลปินท่านนี้ได้วาดไว้เกือบ 60 ปี ก่อน ขนาดรูป 19*25 นิ้ว ไม่รวมกรอบ กรอบแป้งเดิมๆ เกียรติประวัติที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต
หลวงพ่อแช่ม ปราบอั่งยี่ชาวภูเก็ตเรียกว่าวุ่นจีน พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี หรือชาวภูเก็ตจะเรียกท่านว่าพ่อท่านสมเด็จเจ้า
เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวภูเก็ตและชาวภาคใต้ยังกว้างขวางกิตติศัพท์หลวงปู่เป็นเลื่องลือไม่ได้มาด้วยความเชื่อถือยังงมงายล้วนมีที่มาที่ไปของข้อมูลพื้นฐานยื่นยันรองรับ
หลวงพ่อแช่มเกิดเมื่อปีกุน พ.ศ. 2370
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด
จังหวัดพังงา ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับนามของโยมบิดามารดาของท่าน หลวงปู่เป็นชาวบ้านฉลองตั้งแต่กำเนิดเป็นศิษย์วัดฉลอง
ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรและอุปสมบถศึกษาเล่าเรียนวิปัสสนาธุระคาถาอาคมตลอดจนมีความเชี่ยวชาญ
หลวงพ่อแช่มเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นลูกศิษย์ของพ่อท่านเฒ่า
เจ้าอาวาสวัดฉลองในเวลานั้น หลวงพ่อแช่มเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านมากต่อมาในปี
พ.ศ. 2393 พ่อท่านเฒ่ามรณภาพ
หลวงพ่อแช่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดฉลองสืบต่อมา ย้อนกลับไปใน ปี
พ.ศ. 2419 ข่าวกรรมกรจีนอั่งยี่
ก่อการจราจลปล้นฆ่าคนไทยปล้นสดมแพร่สะพัดออกไปชาวบ้านฉลองต่างกลัวภัยหนีขึ้นภูเขากันอย่างทั่วหน้าชาวบ้านฉลองที่เคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแช่มได้ชักชวนให้หลวงพ่อแช่มหนีภัยพวกอั้งยี่ไปซ่อนตัวอยู่ที่อื่น
แต่หลวงพ่อแช่มไม่ยอมทิ้งวัดหนีไปไหน
ลูกศิษย์ของหลวงพ่อแช่มจึงตัดสินใจรวมกลุ่มกันสู้เพื่อปกป้องหลวงพ่อแช่มและขอผ้าขาวมาลงยันต์ทำเป็นผ้าประเจียดคาดศรีษะจากท่านเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
ซึ่งท่านได้อนุโลมตามที่บรรดาลูกศิษย์ขอร้อง
ลูกศิษย์ชาวบ้านฉลองกลุ่มนี้ต่อมารบพวกอั้งยี่จนชนะ ทำให้คนที่หนีภัยอั้งยี่กลับเข้ามารวมกลุ่มกันสู้พวกจีนอั้งยี่มากขึ้นและอาศัยผ้าประเจียดที่หลวงพ่อแช่มทำขึ้นเป็นเครื่องปลุกขวัญกำลังใจเป็นสำคัญ
พวกกรรมกรจีนอั่งยี่เรียกชาวบ้านว่าพวกหัวขาวจนกระทั่งสามารถไล่่พวกจีนอั้งยี่จนไม่กล้าเข้ามาปล้นหมู่บ้านฉลองได้อีก
พวกอั่งยี่ได้แต่ตั้งค่าหัวหลวงพ่อแช่ม ถึง 1,000 เหรียญ ในปีต่อมา
(พ.ศ. 2420) เมื่อทางการปราบปรามจีนอั้งยี่ภูเก็ตจนราบคาบแล้ว
คณะกรมการเมืองภูเก็ตได้ยกความดีความชอบส่วนหนึ่งในการปราบกบฏอั้งยี่ครั้งนี้ให้แก่หลวงพ่อแช่ม
และเวลานั้นตำแหน่งพระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ตยังว่างอยู่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งให้หลวงพ่อแช่มเป็นพระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ตสูงสุดเท่าที่พึงมี
สมณศักดิ์ที่ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี"และได้พระราชทานนามวัดฉลองใหม่ว่า
"วัดไชยธาราราม"
หลวงพ่อแช่มได้รับพระราชทานตาลปัตรสมณศักดิ์พัดยศเทียบเท่าชั้นสมเด็จเจ้าบรรดาพี่น้องชาวภูเก็ตในช่วงสมัยนั้นต่างเรียกว่าหลวงพ่อแช่มว่าพ่อท่านสมเด็จเจ้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อนึ่งจากเหตุจลาจลอั้งยี่ดังกล่าว ทำให้ชาวเมืองภูเก็ตเชื่อว่า
ที่ชาวบ้านฉลองรบชนะพวกวุ่นจีน เพราะท่านพระครูวัดฉลองมีอิทธิฤทธิ์ในทางวิทยาคม
จึงนับถือกันว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์สำคัญคนหนึ่งมานับแต่นั้น
และอีกเรื่องขอปิดทองที่หน้าแข้งมีที่มาที่พิสดาร คือชาวเรือภูเก็ต
ออกเรือหาปลาเกิดพายุกลางทะเลบ้าครั่งใครนับถืออะไรก็ต่างกันบนบานต่อเทพเทวาอารักษ์ก็ไม่เป็นผล
มีคนหนึ่งในกลุ่มที่เคารพนับถือหลวงพ่อแช่มเป็นอันมากได้บนต่อหลวงพ่อวัดฉลอง
ถ้ารอดชีวิตกลับไปได้จะขอปิดทองที่องค์หลวงพ่อวัดฉลอง
พอบนได้ไม่นานพายุสงบลงอย่างปาฎิหารย์ครั้นนำเรือเข้ามาฝั่งก็ไปเล่าให้หลวงปู่ได้ฟังและขออนุญาติปิดทองแก้สินบนแต่หลวงปู่ตอนแรกก็ไม่ยอม
หลวงปู่บอกข้าไม่ได้เป็นพระพุทธรูปมาทำแบบนี้ไม่ได้คนหาปลาก็ไม่ยอม
ถ้าผมไม่ได้แก้สินบนนี้ถ้าผมเป็นอะไรไปผมเจ็บป่วยล้มตายไป หลวงปู่จะว่าอย่างไร
ท่านก็กลัวแรงสินบนจะเป็นจริงจึงยอมให้คนหาปลาปิดทองแต่ให้ปิดทองที่หน้าแข้งแทน เป็นที่เลื่องลือเป็นที่เอาอย่างจนทั่วเมืองภูเก็ตและหัวเมืองใกล้เคียงจนเป็นธรรมเนียมพอหลวงปู่ออกไปไหนก็มีคนมาคอยรอปิดทองที่หน้าแข้งหลวงปู่
เกียรติคุณของหลวงปู่ขจรไกลเมื่อครั้นเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์หลวงพ่อแช่ม
วัดฉลองเมื่อลงไปเสด็จตรวจราชการมณฑลภูเก็ตครั้งแรก ในปี พ.ศ.
2441ว่าทรงพบพระครูวัดฉลองก็พิศวงศ์ ที่น่าแข้งปิดทองคำเปลวราวกับพระพุทธรูป
ก็ได้สอบถามถึงมูลเหตุกับหลวงปู่ว่าเรื่องนี้เป็นจริงอย่างที่ร่ำลือไหม
หลวงปู่ก็ไม่ได้พูดอะไรได้แต่ยิ้มๆเป็นนัยๆ
เป็นพระภิกษุองค์แรกของประเทศไทยที่มีการแก้บนปิดทองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
ความเคารพนับถือแผ่ขยายไปไกลยันถึงเมืองปีนังเป็นอาณาเขตของอังกฤษ
ชาวพุทธที่สร้างวัดที่เมืองปีนังหลายวัดและได้นิมนต์พระสงฆ์ไปจำพรรษาที่วัดในเมืองปีนังแต่ไม่มีพระเถระผู้ใหญ่นับถือสูงสูดชาวพุทธในเมืองปีนังทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสจึงได้ยกหลวงพ่อแช่มวัดฉลอง
เป็นมหาเถระของเมืองปีนัง ถ้ามีการสร้างโบสถ์ใหม่นิมนต์ท่านไปผูกพันธะสีมา
หากบวชนาคก่อนเข้าพรรษานิมนต์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์
แม้แต่ในหมู่สงฆ์ถ้าหากเกิดอธิกร หลวงปู่ก็ไปตัดสินคำตัดสินของหลวงปู่ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม)
ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอาพาธเป็นอุจจาระธาตุพิการ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2451
ได้มีการส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพที่ภูเก็ต พร้อมเงิน 100 เฟื้อง ผ้าขาว 2
พับ เพื่อใช้ในการพระราชทานเพลิงศพตามธรรมเนียมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2452
วันเวลาล่วงเลยผ่านมาหลวงพ่อแช่มได้ละสังขารจากโลกนี้ไปแล้วแต่ศรัทธามหาชนยังมิได้เสือมคลายยังคงเป็นตำนานหลายต่อหลายเรื่องเล่ามาจนมิได้จบสิ้น
|