ปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม พิมพ์หูกระต่ายท้องแฟบ
เนื้อชินเขียว มีปานดำและมีลงยางไม้อยู่ประปรายด้านหลังยังเห็นรอยจาร นะ โม พุท ธา
ยะ ใหญ่ เป็นปิดตาที่จัดทำยุคแรกๆก่อนมาเป็นปิดตาเนื้อเมฆพัตร เดิมทีหลวงปู่อยู่วัดพระปฐมเจดีย์ตำแหน่ง
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสมีสมณศักดิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ พระวินัยธร และในสมัยพระสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 5 ได้แต่งตั้ง
พระวินัยธร(นาค) เป็นหนึ่งใน 4 จตุรทิศบริหาร ยุคแรก
เป็นพระครูปัจฉิมทิศบริหารคุมทิศตะวันตกของพระปฐมเจดีย์ อาจารย์ใหญ่สายปิดตาเนื้อเมฆพัตรอันดับหนึ่ง
จากข้อมูลนักเล่นรุ่นเก่าอาวุโสในพื้นที่
ปิดตายุคต้นๆจะจัดทำเป็นเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินเขียวเป็นบล๊อกแรกๆทางวัดได้หาวัตถุดิบมาจัดทำเนื่องจากสมัยนั้นตะกั่วดีบุกจะหาได้ง่ายมากต่อมาหลวงปู่ท่านได้ให้ลูกศิษย์จัดหาวัตถุดิบกายสิทธิ์เรียกว่าเมตพัตรมาเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างพระปิดตา
ลักษณะแบบพิมพ์เหมือนกันบางองค์มีจารและไม่มีจาร พระเกจิอาจารย์ท่านใดสามารถดำลงไปทำวัตถุมงคลใต้น้ำได้นานๆ
แบบนี้
ก็แสดงว่าพระเกจิอาจารย์ท่านนั้นสำเร็จวิชากสิณที่สามารถแปลงธาตุน้ำให้เป็นช่องว่างมีอากาศหายใจได้
การดำน้ำเพื่อลงอักขระวัตถุมงคลใต้น้ำของพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท พระครูรัตนรังษี (หลวงปู่พุ่ม)
วัดบางโคล่นอก เขตยานนาวา กทม. หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จ.นครปฐม
เหตุที่เกจิดำน้ำจารยันต์ มีคติความเชื่อว่า จะเพิ่มความเข้มขลังให้วัตถุมงคล
เพราะระหว่างดำน้ำจิตจะนิ่ง รวมเป็นหนึ่งเดียว ขณะเดียวกัน การจารต้องแม่นยำ
จึงบังเกิดเป็นอักขระเลขยันต์
เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้ ที่สำคัญ คือ
ต้องมีการลงเหล็กจารทุกองค์ในเนื้อเมฆพัตร ในการลงเหล็กจารนั้น มีเรื่องเล่ากันว่า
หลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้ว ไปลงเหล็กจารที่ท่าน้ำข้างๆ วัด
โดยท่านจะนำลงไปจารอักขระใต้น้ำจนน้ำเกิดฟองปุดๆขึ้นมา บ้างจะเรียก นะคงคาเดือด
เมื่อจารเสร็จแล้วก็จะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเอง
โดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา
แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติ
จากการจารอักขระก็ได้ อักขระที่ท่านใช้คือ "นะคงคา" เป็นตัวหลัก
เพราะหลวงปู่นาคสำเร็จ อาโปกสิน (อาโปกสิณ คือ วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอาธาตุนํ้าเป็นอารมณ์)
วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกจึงหนักไปทางพลังเย็นเข้มขลังเร้นอย่างเอกอุ
ยันต์ นะ คงคาหรือบ้างก็เรียก นะ คงคาเดือด
ถือเป็นเอกลักษณ์ของหลวงปู่นาค หรือยันต์ประจำตัวหลวงปู่นาค
หากพิจารณาพระปิดตาแต่ละองค์ จะจารยันต์ไม่เหมือนกัน
แม้หลวงปู่นาคจะจารยันต์ด้วยมือทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า พระปิดตาทุกองค์จะมียันต์เหมือนกันหมด
เพราะท่านจารด้วยมือแต่ละองค์ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า
ต้องไม่เหมือนกันเป็นเรื่องธรรมดา
การลงยันต์ตัวนี้
ต้องบริกรรมพระคาถามหาคงคาทิพย์ อันประกอบด้วยธาตุน้ำเป็นตัวประสาน เย็นไม่ร้อนเลย
โดยตัวหน้าของคาถาจะเป็นคาถาพระเจ้า 5 พระองค์
(นะ โม พุท ธา ยะ) แบ่งออกเป็น 5 บท คือ
1.นะ คัง คา ยัง พิณ ธุ ชา ตัง จงบังเกิดเป็น นะ
2. โม คัง คา ยัง พิณ ธุ ชา ตัง จงบังเกิดเป็น
โม
3. พุท คัง คา ยัง พิณ ธุ ชา ตัง จงบังเกิดเป็น
พุท
4. ธา คัง คา ยัง พิณ ธุ ชา ตัง จงบังเกิดเป็น
ธา และ
5.ยะ คัง คา ยัง พิณ ธุ ชา ตัง จงบังเกิดเป็น ยะ
พุทธคุณของคาถาบทนี้ แก้ร้อนรุ่มกลุ้มจิต
ร้อนวิชาได้วิเศษนักแล เดิมทีเป็นพระคาถาที่หลวงปู่ศุข
วัดปากคลองมะขามเฒ่าใช้ทำน้ำมนต์ประสานตัว พุทธคุณของยันต์ตัวนี้เด่นด้านมหาอุด คุ้มกันป้องกันภัย
รวมทั้งป้องกันคุณไสย สภาพสวยสมบูรณ์หายาก
|