ปิดตางาสะเด็นญาท่านตู๋ วัดสุขาวาส จ.อุบลราชธานี
ยุคต้นจารขอมลาวทั่วทั้งองค์แทบจะไม่เว้นช่องไฟ เอกลักษณ์ปิดตาสายนี้จะนั่งคุกเข่า
นั่งชันเข่า และจารขอมลาว หลวงปู่ญาท่านตู๋ท่านเป็นปรมาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุนแห่งวัดเวินไซ
นครจำปาสัก ผู้ที่เดินไม่เปียกฝน
ย่นระยะทาง(ย่อแผ่นดิน)คือคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่คนบ้านเวียง อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี
เทพเจ้าแห่งอำเภอตระการพืชผล ตำนานอิสีผู้คว้ำโขงรูปที่ 2
ต่อจากพระอาจารย์ใหญ่สำเร็จลุน คว้ำโขงเป็นภาษาลาวแปลเป็นไทยคือผู้ที่สามารถเดินข้ามและพิชิตแม่น้ำโขงได้
พระปิดตางาแกะเป็นพระที่หายากมาก หลวงปู่จะนำของที่แรงและอาถรรพ์และมีฤทธิ์ในตัวมาแกะเป็นพระหลวงปู่จึงนำงาสะเด็นเป็นของทนสิทธิ์เป็นงาที่ช้างใช้แทงสิ่งกีดขวางเช่นต้นไม้
ต้นกล้วยในเวลาที่ช้างตกมัน
หากว่าสิ่งที่ถูกแทงนั้นเหนียวหรือแข็งกว่าก็จะมีปลายงาช้างบางส่วนหักเสียบติดคาไว้กับสิ่งนั้นๆที่ถูกแทง
คนโบราณเชื่อกันว่างาสะเด็นเป็นสิ่งค้ำคูณ จะทำให้สิ่งชั่วร้ายห่างหาย
กระเด็นกระดอนไปจากตัวเรา จึงนำงาสะเด็นมาใช้ทำประโยชน์
เครื่องรางหลายอย่างที่เห็นลงขอมลาวมักจะตีเข้าเป็นหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทองตลอด
ขอยกตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดเช่น ไม้เท้าพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และล็อกเก็ต
ก็จารขอมลาวทั้งสิ้น การจารขอมลาวเป็นที่นิยมในเกจิอาจารย์สายอีสานและแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่ติดกับฝั่งลาว
ปิดตางาสะเด็นของหลวงปู่เป็นของสุดยอดหายากอีกชิ้นหนึ่ง
|