พระพุทธรูปบูชานั่งสมาธิราบ สมัยทวารวดี
หน้าตัก 2 นิ้ว สูง 4 นิ้ว เนื้อโลหะสำริดสนิมเขียวหยกปกคลุมทั้งองค์ ศิลปะยุคแรกที่สร้างในบ้านเรานี้เรียกว่า
ศิลปะทวาราวดี เชื่อว่ามีอายุกว่า ๑,๓๐๐ ปี เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่สุดของประเทศไทยโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของอินเดีย พระพุทธรูปศิลปยุคสมัยทวาราวดี
มีการแยกออกเป็นสองยุคด้วยกัน คือ ศิลปะทวาราวดียุคต้น และศิลปะทวาราวดียุคปลาย
เมื่อเทียบเป็นทางการสากล เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปสมัยทวารวดีครั้งแรก ประมาณ
พ.ศ.๑๒๐๐ ซึ่งได้มีการขุดพบทั่วไปในแถบภาคกลาง ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า เมืองแหล่งต้นกำเนิดน่าจะอยู่ที่เมืองนครปฐม
พระที่พบส่วนใหญ่จะสร้างมาจากเนื้อสัมฤทธิ์
และเนื้อหินแกะพระพุทธศิลปะทวาราวดีนั้นมีช่วงระยะเวลาสร้างกันยาวนานหลายร้อยปี สมัยทวารวดี
(พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖)ลักษณะพระพุทธรูปได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียคือ
ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ ศิลปะหลังคุปตะ และศิลปะปาละ ที่
มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ศิลปะคุปตะ เช่น การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้ว
การ ยืนเอียงตนแบบตริภังค์ คือ การยืนเอียงตน ทั้ง ๓ ส่วน ได้แก่ พระอังสา (ไหล่)
พระโสณี (สะโพก) และพระชงฆ์ (ขา) ต่อมาได้พัฒนารูปแบบให้เป็นแบบพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น
เช่น พระพักตร์กลมแป้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาแบะ พระพุทธรูปประทับยืนตรง
ไม่ทำตริภังค์ (ตริภังค์คือเอียงสะโพก) และนิยมแสดงปางวิตรรกะ (ทรงแสดงธรรม) ทั้ง
๒ พระหัตถ์ อันเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดีโดยเฉพาะ นอกจากนั้น ยังได้พบพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ
ที่นิยมขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ (พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย
เห็นฝ่าพระบาทเพียงด้านเดียว) อันมีที่มาจากอิทธิพลของศิลปะอมราวดี
ต่อมามีอิทธิพลของศิลปะปาละเข้ามา เช่น การทำพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร
(การนั่งขัดสมาธิที่เห็นฝ่าพระบาททั้ง ๒ ข้าง)
ในช่วงสุดท้ายของศิลปะทวารวดีมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนอยู่ด้วย
ก่อนที่ศิลปะทวารวดีจะค่อยๆ เสื่อมไป และมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาแทนที่
|