รูปครูบาศรีวิชัยนั่งบริกรรมลูกประคำ ถ่าย
ณ.วัดพระสิงห์ ปี ๒๔๗๕ จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 3 * 4 นิ้ว
ไม่รวมการด์รองบ้างก็เรียกรูปคณะราษฎร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพระสิงห์
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ ถ้าสังเกตุพัดรองจะมีคำว่าคณะราษฎรเป็นรูปที่บันทึกความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของทางล้านนาภาคเหนือหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใน
ปี ๒๔๗๕ ในปีนั้นจากบันทึก ทางคณะราษฎรได้ส่งรัฐมนตรีผู้เป็นเพื่อนเก่าของเจ้าหลวง
คือพระยาสุริยา-นุวัตร (เกิด บุนนาค) เป็นผู้แทนขึ้นไปเยี่ยมเยียนเมืองเชียงใหม่
วัตถุประสงค์สำคัญคือดูท่าทีของเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีต่อรัฐบาลระบอบใหม่ พระยาสุริยานุวัตรมีรายงานมายังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ประธานคณะกรรมการราษฎร (คือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามศัพท์สมัยหลังการอภิวัฒน์ใหม่ ๆ) เล่าความที่ได้ทราบมาระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่ว่า
คนสำคัญที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าเจ้านายทั้งสิ้นในเมืองเชียงใหม่นั้น
มีเถรรูปหนึ่งชื่อตุ๊เจ้าศรีวิไชย เป็นเจ้าคณะวัดสิงห์ เชื้อกะเหรี่ยง ตำบลบ้านปาง
แขวงเมืองนครลำปาง ซึ่งคนนับถือทั้งเมือง ตลอดจนถึงเชียงตุง จะว่าอะไรหรือจะปรารถนาอะไรคงสำเร็จทั้งสิ้น เถรองค์นี้ถือพุทธศาสนาเคร่งครัดมาก
มีฉันอาหารวันละมื้อ และไม่ฉันอาหารเนื้อสัตว์ เป็นต้น มีศรัทธาในทางปฏิสังขรวัดยิ่งกว่าทางอื่น
ได้ซ่อมแซมวิหารและพระเจดีย์ที่สลักหักพังมามากแห่งแล้ว ถึงตัวจะไม่มีเงินทองเลย เมื่อตกลงทำการบุญที่ไหนแห่งใด
ราษฎรไทย ลาว เงี้ยว พม่า คงจะนำเงินมาถวายเข้าด้วย ส่งเสบียงอาหารและช่วยออกแรง
ออกเครื่องใช้ก่อสร้างให้โดยไม่คิดค่าจ้าง แม้แต่ฝรั่งในเมืองเชียงใหม่ที่เป็นมิจฉาธิถิก็ยังพลอยเลื่อมใสช่วยเหลือด้วย
เมื่อเป็นดังนั้นพระยาสุริยานุวัตรจึงแวะไปนมัสการ ตุ๊เจ้าศรีวิชัย
ที่กำลังบูรณะวัดสวนดอก เชียงใหม่ และได้พบเห็นบรรยากาศการทำงานของท่านเวลานี้ตุ๊เจ้าศรีวิชัยกำลังปฏิสังขรวัดสวนดอกอยู่
ข้าพเจ้าได้ไปดูก็เว้นที่จะชมอภินิหารของเธอไม่ได้
สร้างวิหารยาวใหญ่เพียงที่ได้ทำมาถึงเพียงนี้ ยังไม่ทันถึง ๑๐
เดือนก็เกือบจะสำเร็จแล้ว ยังแต่จะปิดทอง ประดับกระจกที่ลวดลายตามเสาและผนัง ตุ๊เจ้าศรีวิชัยบอกว่า
ชาวบ้านเรี่ยไรเงินไปให้ไม่ถึงหกหมื่นบาทเศษ แต่วิหารขนาดใหญ่เพียงที่ทำมาได้นี้
ถ้าเป็นในกรุงเทพฯ คงจะสิ้นเงินกว่าสองแสนบาท แล้วชาวบ้านหญิงชายอุตส่าห์ขนอิฐไปส่งคนละเก้าแผ่นสิบแผ่น
ยังมีหญิงสาวแก่ ขนทราย หาบหรือกระเดียดกระจาดไปส่งต่อเนื่องกันเสมอ
ยังมีพวกขนเข้าและเสบียงอาหารไปช่วยเลี้ยงคนทำงานอีกเป็นอันมาก ดูไปก็น่าเลื่อมไสได้จริง ภายหลังจากครูบาศรีวิชัย
มรณะภาพ
ได้จัดทำล็อกเก็ตที่มีรูปครูบาฯลักษณะเดียวกับรูปนี้ที่เป็นทรงไข่ฝาเหล็กมีกลัดออกมาในปี
๒๔๘๒ ซึ่งไม่ทันครูบาฯ ถ้าเป็นล็อกเก็ตทรงไข่ที่รูปครูบาศรีวิชัยอยู่ในนั้นจะออกปี
๒๔๘๒ หลังท่านได้มรณะภาพไปแล้ว จัดเป็นรูปที่หาตัวจริงยากมากรูปหนึ่ง รูปนี้ได้รับการตีพิมพ์อยู่ในหนังสือชีวะประวัติ
"ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา"ปีพ.ศ.2539
เป็นรูปดาราของเชียงใหม่มา 20 ปีมาแล้ว
|