มีดหมอคณาจารย์เก่าโบราณ ด้ามจับแกะเป็นรูปแม่นางผมหอม
แนว Folk Art ส่วนใหญ่จะมีเพียงหนึ่งเดียวถ้าเห็นมีดหมอที่ดูแล้วแปลกตาล้วนมีที่มาที่ไปแฝงไว้ด้วยความเชื่อของพื้นถิ่นนั้นๆที่ฝั่งรากไว้เพราะคณาจารย์ที่ทำขึ้นมาใช้งานจะแฝงไว้ที่จุดเด่นของด้ามมีด
หรือ อักขระที่ลงไว้ที่ตัวมีด
ซึ่งเป็นวิถีของเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมในยุคสมัยนั้นๆ
เนื่องจากกาลเวลาได้กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างย่อมหนีไม่พ้น เกจิหรืออาจารย์ก็ได้ละสังขารไปก็ได้เกิดการเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ
ถ้าคนที่พบเห็นที่ไม่มีความรู้ไม่เข้าใจในวิถีก็จะปล่อยให้หลุดลอยไปโดยไม่เห็นคุณค่า
จากศิลป์มีดหมอเล่มนี้เน้นทางด้านเมตตามหาเสน่ห์ตามวัตถุประสงค์ของครูบาอาจารย์ที่ได้ทำไว้
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นในอัตลักษณ์ของมีด มาเริ่มและตามมาด้วยกัน ขอกล่าวถึงที่มาของตำนานความเชื่อแม่นางผมหอม
แบบฉบับล้านนา ตำนานได้กล่าวไว้ว่า อันช้างเผือกย่อมเกิดในป่าใหญ่สาวงามย่อมคู่กับบ้านป่าชายดง
เช่นกันเธอผู้นี้มีนามว่า มนธารา เป็นสาวงามบ้านป่าผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.รูปสมบัติ-
รูปร่างหน้าตาสะสวยอย่างนางฟ้านางสวรรค์ก็มิอาจเทียบเคียงรัศมีเธอได้
2.คุณสมบัติ- มีจิตใจดีที่งดงามดังแก้วมณีโชติที่แสนจะบริสุทธิ์
มีจิตใจเมตตาอารีย์งดงาม พูดจาไพเราะเพาะพริ้ง มีอำนาจในการบันดาลความอุดมสมบูรณ์
ความสุข ความมั่งคั้งร่ำรวย
สามารถเปลี่ยนเรื่องร้ายให้เป็นแก้วสารพัดนึกได้อย่างง่ายดาย
3.ทรัพยสมบัติ -เมื่อเธอเกิดก็บังเกิดกฤษดาปาฎิหารย์
บังเกิดทรัพย์สินต่างๆมากมาย เช่น เงินทอง ภักษาหาร ของวิเศษ ฯลฯ
โดยที่ตัวเธอนั้นมีแก้วสารพัดนึกเป็นทรัพย์สมบัติประจำตัว
เหตุที่เป็นแบบนี้เพราะบิดามารดาของเธอนั้น
ชื่อนายเทศน์กับนางจันมา เป็นสองสามีภรรยาถือธรรมะปฎิบัติศีล 5
เป็นเนื่องนิตย์และบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระลักษมีและพระพิรุณอยู่ประจำ
จึงทำให้พระลักษมีประทานแก้วมณีสารพัดนึกและพระพิรุณประทานน้ำอมฤตศักดิ์สิทธิ์เข้าท้องนางจันมาจึงบังเกิดเป็นนางมนธาราขึ้น
นอกจากนี้แล้ว มนธารา
ยังคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งนั้นคือ มีกลิ่นกายและผมที่มีกลิ่นหอมดังโอสถทิพย์จากแดนสวรรค์
สร้างความผ่อนคลายแด่ชาวบ้านยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ มนธารา
จึงเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านยิ่งนักปานว่าผู้ใดคิดพรากเธอไป คนในหมู่บ้านหายอมไม่
แต่ก็เป็นที่น่าแปลกไม่มีชายใดในหมู่บ้านตบแต่งเธอเป็นภริยาได้เลย แม้ใจจะคิดเพียงเหตุผลเพราะว่า
"อันพวกเรากับน้องนางมีบารมีถึงเพียงนี้พวก พี่คงยากจะเอื้อมถึง"
แต่แล้วจนแล้วจนเล่าก็ไม่พ้นสัจธรรมเมืองเรื่องรู้ถึงหู กษัตริย์นามว่า
ท้าวฟ้าฉัตรแห่งนคร คำจัน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มักมากในกามคุณขั้นสูง
จึงได้บัญชาราชสาสน์ให้ชาวบ้านแถบนั้นได้รับรู้ว่าตนต้องการนาง มนธารา
มาเป็นบาตรจาริกาของพระองค์และด้วยคุณสมบัติของนางดังกล่าวจึงทำให้ ท้าวฟ้าฉัตร
ยิ่งมีไฟแห่งความปรารถนาเร้าร้อนยิ่งขึ้น
จนถึงขั้นบัญชาว่าผู้ใดขัดขวางมีโทษอาญาถึงตายหากว่าหากนำนางมาถวายให้ข้าทันที่จะตบรางวัลโดย
ให้ส่วยร้อยครอบครัว ทองพันชั่ง ตบเป็นรางวัลเมื่อกล่าวเช่นนั้น ทหารม้าจึงนำเอาพระราชสาสน์ไปป่าวประกาศให้ชาวชายป่าได้รับรู้
เมื่อชาวบ้านได้ฟังเช่นก็ต่างพากันกลุ่มอกกลุ่มใจกระวนกระวาย
ไปทั่วเรื่อนว่าจะทำกัน เช่นไรดีชาวบ้านจึงพากันมาชุนนุม ณ
ลานกว้างในหมู่บ้านชาวบ้านต่างพูดจาหารือกันอย่างเร่งด่วนกับเรื่องตรงนี้ฝ่ายผู้เฒ่าอาวุโสจึงกล่าวว่า
"เย็นไว้ลูกหลานเอย พรุ่งนี้เราจะเอาหลาน
มนธาราไปซ่อนในป่าพร้อมกับทรัพยสมบัติของเธอพร้อมบิดามารดา"
เมื่อชาวบ้านฟังความเห็น เช่น
นั้นก็ตกลงปลงใจนำเอามนธาราไปซ่อนไว้ในป่าพร้อมบิดามารดา แต่นางมนธารา ก็กล่าวว่า
"ตัวฉันไม่อยากทำอย่างนี้เลยเพราะพี่น้องชาวบ้านมาเดือดร้อนเพราะฉัน
ปล่อยฉันไปหาท้าวฟ้าฉัตรเถอะจ๊ะเพื่อความสงบสุขของพี่น้องในหมู่บ้านจะดีแล
มิเดือดร้อน" แต่ชาวบ้านปฎิเสธนางจึงได้แต่ทำตามที่ชาวบ้านแนะนำ
ในที่สุดชาวได้นำ มนธารา และครอบครัวพร้อมทรัพย์สินไปซ่อน ณ ถ้ำแห่งหนึ่งโดยที่นางมนธาราได้กล่าวจิตอธิฐานว่า
"ข้าแต่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์สิ่งศักดิสิทธิ์ทั้งหลาย
คุณพระแม่ลักษมี คุณพระพิรุณเทพ โปรดคุ้มครองคนในหมู่บ้านของข้าพเจ้าด้วย เถิด" ขณะที่ฝั่งหมู่บ้านท้าวฟ้าฉัตรทรงเสด็จมาด้วยตนเองและเอยวาจาว่า
"เหวยๆๆๆๆ นางมนธาราอยู่ไหนน้องนางจ๋าพี่มารับเจ้าแล้วมาเป็นของพี่ซะดีๆ
แต่ที่ได้ยินกลับคือความว่างเปล่าของสิ่งที่ตนปรารถณา ท้าวคำฉัตรทรงพิโรธมาก
สั่งทหารให้นำเอาตัวชาวบ้านทุกคนออกมาแต่ล่ะเรือนแล้วไตร่ถามว่า "เหวยๆ
พวกสูเอาน้องนางมนธาราไปซ่อนไว้ที่ใด หากไม่บอกข้าจะปิตุฆาตพวกเจ้าให้หมดทั้งหมู่บ้านนี้แหละชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า
"นางได้หนีไปขณะที่พวกข้าพระพุทธเจ้าได้พากันหลับไหล พระพุทธเจ้าข้า"
ท้าวฟ้าฉัตรฟังเช่น
นั้นแทนที่จะหายกริ้วแต่กับโกธายิ่งนักสั่งให้ทหารนำชาวคนนั้นมาประหารแต่ อนิจา
บังเกิดปาฎิหารย์ ดาบทหารทำอะไรชาวบ้านคนนั้นไม่ได้แม้จะใช้ศาสตร์ตราวุธใดก็มิทำอันตรายใดได้
ต่อมานางมนธารา ก็ปรากฏกายขึ้นต่อหน้าทหารและท้าวฟ้าฉัตร
"พอเถอะมหาราชการที่พระองค์กระทำการ เช่น หาถูกควรไม่ จงหยุดเถิด "
เมื่อท้าวฟ้าฉัตร ได้ความงามและน้ำเสียงที่ไพเราะนั้นของนาง มนธารา ก็หลงไหลในน้ำเสียงแล้วเอยว่า
"ถ้าน้องนางมากลับพี่และยอมเป็นของพี่รับรองพี่จะไว้ชีวิตพวกมันพวกนี้"
พอมนธารา ได้ยินเช่นนั้นก็ยินยอม ฝ่ายท้าวฟ้าฉัตรก็ลี้ตรงไปหวังลูบไหลตัวนางแต่อนิจา
เกิดเหตุ อัสนีบาตผ่าลงตัวท้าวฉัตรฟ้าสิ้นชีวีแต่นาง มนธาราหาเป็นไรไม่
นับแต่บัดนั้นมาชาวบ้านก็สุขสงบบัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมานางมนธาราได้อภิเสกสมรสกับเจ้านครพิงค์
(เชียงใหม่)และได้มาเป็นผู้กำเนิดเมืองเชียงใหม่นี้ ตามตำนานฉบับล้านนาได้กล่าวไว้
|