ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า ยอดตะกรุดในตำนานที่หายาก
ขนาดยาว 5 นิ้ว ความอ้วนของตะกรุดขนาด 1 นิ้ว
3 กษัตริย์ แกนกลางเป็นทองแดง ถัดมาเป็นฝาบาตร นอกสุดเป็นตะกั่ว
ที่ชัดเจนที่สุดดูแล้วเป็นหลวงพ่อโพธิ์ไม่ผิดวัดคือมี ผ้าจีวรหรือผ้าอังสะสีเหลืองห่อตะกรุดแล้วลงรักษ์ถักเชือกลายไอ้เข้ขบฟัน
ซึ่งถูกต้องตามตำราที่ได้กล่าวไว้อย่างไม่มีผิดเพี้ยนจึงมั่นใจเป็นของหลวงพ่อโพธิ์ไม่มีมั่วนิ่ม
กล่าวกันว่าตะกรุดของท่านทำเอาไว้น้อยมาก นานๆจะทำสักครั้ง ตามคำขอร้องของลูกศิษย์
โดยผู้ขอต้องหาวัสดุอุปกรณ์ไปให้ท่านเอง คือ แผ่นตะกั่ว และ แผ่นทองแดง ,ฝาบาตร ตะกรุดของท่านมีหลายขนาด ตั้งแต่ 4 นิ้ว ถึง 9 นิ้ว
เป็นตะกรุดดอกใหญ่ โดยมีขนาดประมาณไม่น้อยกว่าหัวแม่มือของผู้ใหญ่
บางดอกจะถักเชือกลงรักแบบดอกนี้และตะกรุดของท่านส่วนใหญ่ที่พบจะมีสภาพดี
ด้วยเป็นตะกรุดขนาดใหญ่ เจ้าของไม่ค่อยได้ใช้พกพาติดตัว นอกจากคราจำเป็น
ลักษณะของตะกรุด
ตรงกลางจะเป็นแผ่นตะกรุดเนื้อทองแดงอันเปรียบเสมือนเป็นแกนกลาง
เพื่อไม่ให้ตะกรุดชำรุดเสียหายได้ง่าย ถือเป็นต้นตำรับของการสร้างตะกรุดหลายชั้น
โดยมีแกนกลาง
การลงอักขระยันต์ ที่ลงกำกับมีหลายยันต์
เป็นอักขระภาษามอญ หลวงปู่ท่านเป็นพระมอญ ที่มาจากปทุมธานีเขียนเป็นยันต์พระเจ้า 16 พระองค์ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย
และอักขระยันต์อื่นๆ อักขระยันต์ที่ลงตะกรุด ท่านใช้ยันต์คู่ชีวิต หรือ
ยันต์อสิสัตติด้วยเช่นกัน ยันต์นี้จึงเป็นยันต์ต้นแบบ
แก่พระคณาจารย์สายเมืองพิจิตรในการทำตะกรุด กล่าวกันว่าในละแวก อ.โพทะเลนี้
ท่านมีศิษย์หลายรูป ที่ได้ไปศึกษาวิชา โดยเฉพาะวิชาการสร้างตะกรุด เช่น
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน , หลวงพ่อเทียบ เป็นต้น
ท่านเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องอักขระเลขยันต์ เฉพาะอย่างยิ่ง ยันต์คู่ชีวิต
เป็นอักขระยันต์ที่มีมาแต่โบราณ เป็นยันต์หนึ่งที่ปรากฎในตำราพิชัยสงคราม
แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้รอบรู้ของท่าน หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า
จึงกล่าวได้ว่า ท่านเป็นปรมาจารย์ต้นตำรับการสร้างตะกรุดหลายชั้น โดยมีแกนกลาง
ของเมืองพิจิตรอย่างแท้จริง และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สุดยอดของความหายาก
|