พระพุทธรูปคันธารราฐ(หน้าอินเดีย)ปางขอฝน เนื้อทองผสม ปี 2476 จ.นครปฐม สูง 16 นิ้ว เนื่องจากพระธรรมวโรดม(เจ้าคุณโชติ)
มีความสนใจเป็นพิเศษในการสร้างพระพุทธรูปบูชาและพระเครื่อง
จะเห็นได้จากเกิดสภาวะฝนแล้งทั่วอาณาเขต จ.นครปฐม
และมณฑลนครชัยศรีขณะนั้นท่านยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพสุธี
จึงได้จัดพิธีสร้างพระคันธารราฐ(พระปางขอฝน) เพื่อขจัดฝนแล้งให้ผ่านไป
และเพื่อการกสิกรรมอันเป็นอาชีพหลักของพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ
ท่านได้ทำพิธีหล่อพระคันธารราฐขึ้นแล้วแจกจ่ายไปยังวัดต่างๆในเขต
จ.นครปฐมวัดละ 1 องค์ รวม 150 วัด เมื่อตำบลใดเกิดข้าวยากหมากแพงหรือฝนแล้ง
ชาวบ้านก็จะพากันอาราธนาพระคันธารราฐนั้นออกมาทำพิธีขอฝน
ซึ่งก็มีอภินิหารเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่จะเกิดฝนตกทุกครั้ง และ ชาวบ้านทั่วไปกันอย่างมาก
การสร้างพระคันธารราฐเมื่อครั้งนั้น
พระธรรมวโรดม(โชติ)ได้มีการสร้างขึ้นหลายขนาดและหลายพิมพ์ด้วยกัน
และพิถีพิถันการสร้างอย่างถูกต้องด้วยตำราการสร้างวัตถุมงคลแต่โบราณทุกขึ้นตอน
โดยเฉพาะเนื้อโลหะที่นำมาสร้างนั้นประกอบด้วย 1.ชิ้นส่วนของพระพุทธรูปบูชาสมัยทวาราวดี
2.โลหะขันลงหินของเก่าที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเป็นจำนวนมาก
3.แผ่นยันต์ของพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศในสมัยนั้นที่พระธรรมวโรดม(โชติ)ส่งไปขอให้ช่วยลงอักขระแล้วส่งกลับมาเพื่อเป็นชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ของเนื้อพระ
4.แผ่นทองคำลงจารดวงประสูติ
และแผ่นนาคลงจารดวงตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯลฯ ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสกครั้งนั้นก็ล้วนแต่มีชื่อเสียงทั้งนั้นเช่น 1.หลวงปู่บุญ
วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
2.หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
3.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม
4.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี
5.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี
6.หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
7.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก ธนบุรี
8.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา
9.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.อยุธยา
10.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
11.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
12.หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสาคร ฯลฯ
เป็นพระบูชาที่สร้างจำนวนน้อยและหายาก
|