รูปถ่ายซีเปียพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(สิริจันโท
จันทร์) ปฐมเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ขนาด 8.5
* 10.5 นิ้ว การด์เดิมรูปซีเปียโทนสีน้ำตาลเข็ม ถ่ายราวปี 2471 หน้าพระวิหารหลวงในขณะท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงถ่ายนั่งบนธรรมมาสน์ลายทองโดยมีพัดยศ
และพัดรอง ถ่ายโดย M.Tanaka ช่างภาพอันดับหนึ่งของล้านนาเป็นรูปดังของเชียงใหม่อีกรูปหนึ่ง มูลเหตุที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงโดยเริ่มจากใน
พ.ศ.2470 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์และได้ขึ้นมาที่เมืองเชียงใหม่โดยพำนักที่ดอยสุเทพ
ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีได้ไปพักร้อนที่คุ้มบริเวณพระธาตุดอยสุเทพเช่นกัน
เจ้าแก้วนวรัฐจึงได้อาราธนาท่านไปแสดงธรรมที่คุ้ม
บรรดาเจ้านายที่รับฟังพระธรรมต่างเลื่อมใสและต้องการให้พระอุบาลีคุณูปมาจารย์จำพรรษาที่เมืองเชียงใหม่
จึงพากันขออนุญาตพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น
สมเด็จพระสังฆราชทรงนำความขึ้นขอพระราชทานอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้รับพระบรมราชานุญาตให้พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ไปประกาศพระศาสนาที่เมืองเชียงใหม่
เมื่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์จำพรรษาอยู่ที่คณะหอธรรม
วัดเจดีย์หลวงตั้งแต่ พ.ศ.2471 ได้รื้อฟื้นธรรมยุติกนิกายให้เป็นที่แพร่หลายอีกครั้ง
โดยเปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี
จัดให้มีการแสดงธรรมประจำวันธรรมสวนะเช้า-บ่าย ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา
โดยท่านเป็นผู้นำในการเทศนาธรรมด้วยปฏิภาณโวหารและเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนนอกจากกิจกรรมการเผยแผ่พระธรรมแล้วท่านยังได้บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิและศาสนสถานโดยพระวิหาร
วัดเจดีย์หลวงที่ปรากฏในปัจจุบันได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยของท่านใน พ.ศ. 2472 พระองค์เจ้าธานีนิวัต
เสนาบดีกระทรวงธรรมการขึ้นไปตรวจราชการที่เมืองเชียงใหม่
รายงานว่าที่วัดเจดีย์หลวงมีราษฎรนิยมมาบวชเรียนมากขึ้น
จนเจ้าแก้วนวรัฐเสนอให้ตั้งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นเจ้าคณะมณฑลเพราะมีผู้นับถือมากและเทศน์เก่ง
แต่พระองค์เจ้าธานีนิวัตไม่สามารถแต่งตั้งได้เพราะมีเจ้าคณะมณฑลคือพระเทพมุนี (ปลด
กิตติโสภณ) อยู่แล้ว พระอุบาลีคุณูปมาจารย์จำพรรษาอยู่วัดเจดีย์หลวงเป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2471-2474 และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงองค์ต่อมาเป็น
พระครูวินัยธรต่อในปี 2475 และพระอุปัชฌาย์
ท่านได้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้หลวงตาปลัดเกตุ เพียงองค์เดียวเท่านั้น
ขณะนั้นท่านจึงจำใจรับตำแหน่ง เพราะเห็นแก่ท่านเจ้าคุณอุบาลีผู้นิมนต์ ขณะที่กำลังอาพาธแต่ต่อมาท่านจึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะเป็นเจ้าอาวาส
โดยท่านรำพึงในใจว่า"หากเรายังรับตำแหน่งอยู่ต่อไป
ลาภสักการะอาจจะฆ่าการปฏิบัติของเรา
อันเป็นเหตุแห่งการฆ่าการประพฤติปฏิบัติก็เป็นได้" ท่านจึงได้สละตำแหน่ง
หนีธุดงค์เข้าป่า อาศัยอยู่ตามดอยมูเซอ ถ้ำเชียงดาว ถ้ำพวง ฯลฯ แล้วออกไปพำนักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง
เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง11ปี เมื่อพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ท่านกลับกรุงเทพฯ
ได้มรณภาพใน พ.ศ. 2475 ที่วัดบรมนิวาส การขึ้นไปประกาศพระศาสนาของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ในครั้งนี้ทำให้
ธรรมยุติกนิกายตั้งมั่นเป็นปึกแผ่นในหัวเมืองล้านนาได้จนทุกวันนี้ ศิษยานุศิษย์
มีดังต่อไปนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน) วัดบรมนิวาส,พระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต,พระเทพวรคุณ(อ่ำ) วัดมณีชลขันธ์ ผู้เป็นน้องชาย เป็นรูปที่มีความสำคัญที่สุดและหายากที่สุดรูปหนึ่งของพระเดชพระคุณส่วนใหญ่เห็นแต่ภาพ
Copy สถานะโชว์อย่างเดียว
|