ปลัดตัวครูหลวงพ่อกี๋
วัดหูช้าง จ.นนทบุรี ขนาดเท่าแขน
ขอเล่าถึงที่มาของปลัดดอกนี้ได้จากลูกศิษย์รุ่นใหญ่แถบตลิ่งชัน
ท่านก็ได้เล่าให้ฟัง หลวงปู่กี๋ท่านดูภายนอกดูดุน่าเกรงขามแต่จริงแล้วท่านมีความเมตตาต่อลูกศิษย์เป็นอันมากไม่ยึดติดในลาภ แล้วในกุฎิท่านก็ไม่มีสิ่งของอำนวยความสะดวกอะไร พัดลม ตู้เย็นไม่มี ข้างฝากุฎิท่านที่เป็นไม้จะเว้นช่องเพื่อให้มีอากาศได้ถ่ายเทลมได้เข้าจะได้ไม่ร้อนประตูหน้าต่างไม่เคยปิดแล้วกุฎิท่านอยู่ใกล้กับที่เก็บศพในยุคนั้น หลวงปู่ท่านมีความเมตตาลูกศิษย์ท่านนี้มาก ท่านก็ให้ไปเลือกเสาโบสถ์ว่าจะเอาต้นไหนแล้วก็นำไม้นั้นมาเหลาให้เหลือแต่แก่นแล้วก็ถามอีกว่าจะให้ลงเหล็กจารหรือลงด้วยหมึกสัก ท่านก็ขอหลวงปู่ลงจารด้วยหมึกสักแล้วหลวงปู่จะปิดทองและแต้มสีแดงที่หัวปลัดตัวพ่อทุกดอก
ท่านเมตตาลูกศิษย์รุ่นใหญ่ท่านนี้มากขนาดให้คนมาตามลูกศิษย์รุ่นใหญ่ท่านนี้ให้ไปเอาปลัดไปบูชาแล้วก็บอกให้รีบมาเอาท่านจะไม่ไหวแล้วจากคำบอกเล่าของลูกศิษย์รุ่นใหญ่ท่านนี้ดังนั้นคำบอกเล่าเป็นเพียงส่วนประกอบแนวทางในการศึกษา ส่วนสำคัญอยู่ที่ความเก่า ศิลป์ของปลัด การเหลาหัวปลัดซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่างวัดหูช้างและลายมือของหลวงปู่เป็นสำคัญ จากการที่ได้เห็นปลัดของหลวงปู่กี๋ การจารบางครั้งขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกของผู้จาร ณ ขณะนั้นเวลานั้นต้องการสือเน้นทางด้านไหน จากความเข้าใจสรุปได้ว่าแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบการจาร รูปแบบที่
1 คือลงจารตามสูตรมาตรฐานสากลและเอกลักษณ์ประจำตัว รูปแบบที่ 2
คือลงกรณีพิเศษเฉพาะเจาะจงว่าให้กับใครเมตตาใครเป็นพิเศษ
การลงรูปแบบที่2 จะแตกต่างจากรูปแบบที่1 แต่ยังไม่ทิ้งเอกลักษณะเฉพาะตัวของหลวงปู่ ซึ่งในการลงในรูปแบบที่ 2
นั้นจะมีการลงจารที่ไม่ค่อยพบเห็นในรูปแบบที่1 เช่นดอกนี้ที่หัวปลัดจะลง
นะร่ำไร แล้วล้อมด้วย นะ ระ กา รัง นะ มะ พะ ทะ (การลงนะ ดอ
เป็นการลงของสายวัดประดู่ทรงธรรม) ด้านข้างปลัดก็ลงสารพัดนะ เช่น นะ รัญจวน,นะ
ปัดตลอด, นะ เข้าหา, นะ อกแตก, นะ มะ พะ ทะ จะ พะ กะ สะ และ ลง อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ
บทนี้เรียกว่าพระคาถานวหรคุณมาจากบทพระอิติปิโสรัตนมาลา 108 และด้านหลังคอ ปลัดตรงกลางลำตัว ลง นะ โม พุท ธา ยะ แล้วจารด้วยเหล็ก นะ มะ พะ ทะ ทับจารหมึกทั้ง 2 ด้าน ปลัดตัวพ่อหรือตัวครูลายมือหลวงปู่นั้นหายากขอโชว์อย่างเดียว
|