พระพุทธรูปคันธาราช(หลวงพ่อศิลาขาว) เป็นพระรัชกาลของหลวงปู่บุญล้อทวารวดี ด้านหลังมีจารึกพระนามว่า ขันธโชติ ปี 2462 ซึ่งเป็นพระนามของหลวงปู่บุญ แห่งวัดกลางบางแก้ว ขนาดกว้าง 5 ซ.ม. สูง 14 ซ.ม. เทดินไทย ผิวหิ้ง และป้ายผงยา เทหล่อเนื่องในโอกาศเลื่อนสมณศักดิ์จาก พระครูอุตรการบดีเจ้าคณะแขวงจังหวัดนครปฐมไปเป็น พระครูพุทธวิถีนายกเจ้าคณะรองจังหวัดนครปฐม หลายท่านอาจไม่ทราบถึงความผูกพันธ์ หลวงพ่อศิลาขาว กับ หลวงปู่บุญ ขอกล่าวถึงตามประวัติการพบนั้นได้มีบันทีกไว้ ในประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ว่า ครั้งหนึ่ง ได้มีพระภิกษุและสามเณรจากอารามหลายแห่งได้ช่วยกันทำการบูรณะ วัดพระเมรุ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครปฐม อันรกร้างไปนานแล้ว ด้วยไม่มีการรักษาให้ดีจึงมีต้นไม้ใหญ่น้อย และหญ้าขึ้นปกคลุมอยู่ท้่วไป เป็นที่น่าสังเวช ด้วยเป็นวัดที่มีมาช้านานสมัยทวารวดี พระภิกษุและสามเณรจึงช่วยกันทำความสะอาด โดยการถางหญ้าตัดต้นไม้ซึ่งรกเป็นป่าออก และในการนี้ปรากฎเป็นที่อัศจรรย์คือ พระบุญ วัดกลางบางแก้ว(อันหมายถึงหลวงปู่บุญ ขณะที่ยังบวชได้ 2-3 พรรษา) ได้ถางดินกระเทาะออก ดินตรงนั้นมีปลายเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา จึงได้ช่วยกันขุดลงไปดูปรากฎว่าเป็นพระพุทธศิลาพุทธลักษณะงดงามมากเป็นพระสมัยทวารวดี หลังจากทำความสะอาดแล้วพระพุทธรูปองค์นี้มีความงดงามสมบูรณ์ ไม่มีชำรุดตรงไหน จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ จากเรื่องที่หลวงปู่บุญได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี แสดงให้เห็นว่าท่านมีบุญบารมีตั้งแต่พรรษายังน้อยและต่อมาปรากฎว่าทุกๆปีหลวงปู่จะนำผ้าห่มองค์ปฐมเจดีย์ไปถวายองค์พระทุกปีมิได้ขาด ถือเป็นประเพณีมาโดยตลอด ในโอกาสเดียวกันนี้ท่านก็มีผ้าเหลืองสำหรับห่มถวายพระพุทธรูปทวารวดีที่ท่านขุดพบไปห่มให้ที่อุโบสถพระปฐมเจดีย์ด้วยความเรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม(โชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ได้กล่าวสรรเสริญไว้ว่าหลวงปู่บุญมีศรัทธามั่นคงทำได้เป็นกิจวัตร โดยช่วยงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์อย่างแข่งขันทุกปีมิได้ขาด ซึ่งก็ตรงกับจดหมายเหตุซึ่งพิมพ์ไว้ในหนังสือของกรมศิลปากรเรื่องพระปฐมเจดีย์ ฉบับพิมพ์ปี พ.ศ. 2506 ก็ยืนยันถึง "สามเณรบุญ" เป็นผู้พบพระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี แสดงถึงบารมีของหลวงปู่บุญเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรได้เป็นอย่างดี "พระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ทวาราวดี" องค์นี้ น่าจะเป็นพระคู่บารมีกับหลวงปู่บุญก็อาจเป็นได้ เพราะหลวงปู่ได้ไปกราบไหว้บูชาอยู่เสมอมิได้ขาด แม้เมื่อท่านสูงอายุแล้วท่านจะต้องนำเครื่องบูชาสักการะไปบูชาเป็นประจำทุกปีใน วันเพ็ญเดือนสิบของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับที่หลวงปู่ไปพบพระองค์นี้ เมื่อครั้งยังเป็น"สามเณร" แสดงความสัมพันธ์กับหลวงปู่อย่างลึกซึ้งตลอดมา ก็เป็นความภูมิใจของทางร้านเหมือนก้นครับที่ได้ค้นพบพระบูชาของหลวงปู่บุญอีกพิมพ์หนึ่ง เข้าใจว่าคงสร้างออกมาจำนวนไม่มากของสุดยอด ของหายาก Masterpiece นั้นเป็นน่าที่ของเรา
|