พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชํย พิมพ์พระรอดหลวง แบบเกศาลอย เนื้อใบลานผสมผงคลุกรักษ์ มีเส้นผมครูบาให้เห็นทางด้านหลังขององค์พระ เส้นผมของท่านออกสีน้ำผึ้ง ตัวจริงเสียงจริงหายากยุคต้น ในความเชื่อบูชาเส้นพระเกศาของพระพุทธองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายาวสืบทอดกันมาจวบจนถึงพระครูบาเจ้าศรีวิชัย อันชาวบ้านล้านนา ยกย่องเคารพบูชาด้วยบารมีที่ครูบาเจ้าฯมีแต่ให้แก่พระพุทธศาสนา จวบวาระสุดท้ายได้มาถึง คุณงามความดีที่ได้สร้างถาวรวัตถุให้แก่ชาวพุทธล้านนาไว้มากเหลือคณานับ จึงบังเกิดบุญบารมีอันแก่กล้า เกิดศรัทธาของศิษย์และคณะศรัทธาชาวบ้าน อันส่วนใหญ่มักจะเป็นกรรมการของวัดต่างๆ ในจังหวัดลำพูน, เชียงใหม่ที่ได้ร่วมกันสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยขึ้น ภายหลังจากที่ท่านได้ล่วงลับดับขันไปแล้ว จากตำนานเล่าขานกันสืบมา ถึงการสร้างพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสรและดอกไม้ต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์ ในพระวิหารรวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึงพระประธานในพระวิหารของวัด ที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ เมื่อได้มวลสารผงเกสรตลอดจนวัสดุมงคลครบถ้วนตามความเชื่อของศรัทธาชาวบ้านแล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรักโดยมีผงใบลานที่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึกอักขระไว้ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนเหนียวได้ตามประสงค์เจตนา จึงนำเอามากดลงบนแม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นพระเกศาครูบาเจ้าฯ ลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง นำเอาเส้นพระเกศาผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มีจึงปรากฏในภายหลังของพระเครื่องเส้นเกศาฯ นี้ ด้วยบางองค์ก็จะเห็นเส้นพระเกศาชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย หลายท่านถึงกับลงทุนหักพระที่ได้มาเพื่อดูภายในว่ามีเส้นเกศาของครูบาเจ้าหรือไม่ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ขอส่งเสริมแนะนำ เพราะหากเป็นพระเกศาครูบาเจ้าจากคำยืนยันและศึกษาไตร่ตรองดีแล้วไม่ควรได้ทำการพิสูจน์ด้วยวิธีหักองค์พระเพื่อดู จงมีความศรัทธาเชื่อถือบูชาพระเกศาครูบาเจ้าฯ ความสุขความเจริญจะบังเกิดแก่ท่าน อย่างไม่รู้ตัวในภายหลัง
|