เบี้ยแก้หลวงปู่รอด
วัดนายโรง ขอกล่าวที่มาของเบี้ยลูกนี้ได้จากชาวบ้านริมคลองชักพระ
ที่มาน่าสนใจสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในอดีตที่สัญจรโดยทางน้ำเบี้ยแก้นี้เป็นเบี้ยที่ได้รับตกทอดต่อกันมาเป็นรุ่นที่
2
เจ้าของคนแรกปัจจุบันถ้ามีชีวิตอยู่อายุน่าจะอายุ 110 ปีบวก รุ่นที่ 2 อายุปัจจุบัน 80 ปีเศษ แต่ท่านยังจำความได้อย่างแม่นยำ แล้วได้เล่าถึงเจ้าของคนแรก
เป็นคนแจวเรือจ้างรับส่งผู้โดยสารจากท่าพระจันทร์มาส่งคนในคลองบางกอกน้อย กับ
คลองชักพระ ในอดีตหลวงปู่รอดก็มีผู้คนเคารพนับถือเป็นจำนวนมากต่างมีผู้คนแวะเวียนมารับเบี้ยแก้จากหลวงปู่อยู่มิได้ขาด
แล้วคุณตาท่านนี้ก็ได้รับว่าจ้างมาส่งที่วัดนายโรงอยู่เป็นประจำแล้วท่านก็จะจอดนอนที่ท่าน้ำวัดนายโรงเพื่อรอรับคนไปส่งที่ท่าพระจันทร์ท่านก็ได้รับเบี้ยแก้ลูกนี้มาจากหลวงปู่รอดเพื่อมาใช้ติดตัว
ดูจากเบี้ยท่านมีความใส่ใจในการเก็บรักษาท่านยังถักลวดคลุมเชือกไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาตัวเบี้ย
ย้อนหลังไป 70-80 ปี การเลี่ยมพลาสติกรักษาพระคงยังไม่มีในยุคนั้นถึงนิยมถักลวดหุ้มพระอีกชั้นหนึ่งตามปรากฎให้เห็น พระกรุ พระสมเด็จที่มีรอยลวดรัด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน จากการถ่ายทอดจากคุณตาที่ถ่ายทอดมาท่านก็บอกว่าคนถักเบี้ยให้หลวงปู่รอด มีอยู่ 3
คน แล้วชาวบ้านแถวข้างวัดเองนำเบี้ยของหลวงปู่มาถักกันเองก็มี ดังปรากฎให้เห็นการถักเบี้ยของหลวงปู่รอดมีอยู่หลายรูปแบบเบี้ยแก้ลูกนี้ผ่านการใช้มาอย่างโชกโชน
แต่ก็ดู Classic ไปอีกแบบและดูง่ายแบบไร้กังวล
ใต้ท้องเบี้ยมีหลอดเงินและเชือกเดิมคล้องอยู่แต่เดิม หลอดเงินนี้คงไว้สำหรับนำเชือกร้อยคล้องกับหูกางเกงหรือคาดเอวพกพาติดตัวบางคนเข้าใจผิดคิดเป็นตะกรุดดูจากลูกนี้เห็นได้ชัดเจนคงสภาพเดิมจากอดีตถึงปัจจุบัน
เบี้ยแก้หลวงปู่รอดเป็นเบี้ยแก้อันดับหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันหาตัวจริงที่ถึงยุคได้ยากยิ่ง
|