ตะกรุดหน้าผากเสือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ขนาด 1.5 นิ้ว พอกผงยา Concept คล้ายคลึงกับตะกรุดโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ตัวจริงเสียงจริง ติดอยู่ในเบญจภาคีตะกรุดหนังเสือ ปฐมบทของคำว่าผงยาจินดามณี มาจากว่านยาสักเข้ามาประเทศไทยได้อย่างไรพออนุมานได้เข้ามาในสม้ยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกิดจากสมเด็จพระพนรัตน์ สถิต ณ วัดป่าแก้ว หรือ มหาเถรคันฉ่องท่านเป็นพระมอญได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นของวิเศษในการออกรบกับพม่า ปัจจุบันว่านยาสักนี้คุ้นหูคือยาจินดามณี ตะกรุดหน้าผากเสือ ของหลวงปู่บุญจัดว่าเป็นตะกรุดชิ้นสุดยอดของหลวงปู่ก็ว่าได้เพราะท่านสร้างไว้ไม่มาก
ขบวนการสร้างของท่านก็ลำบากยากยิ่งเพราะกว่าท่านจะลงได้จะต้องดูฤกษ์ดูยาม
และต้องทำพิธีบายศรี มีหัวหมู
ผู้ที่จะทำจะต้องจัดหาเครื่องพิธีมาครบและเอาหนังหน้าผากเสือมาให้ท่าน ตัวเดียวใช้ได้อันเดียว
ตะกรุดหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญ
ท่านกำหนดเอาหนังส่วนเฉพาะช่วงเหนือของตาเสือขึ้นไประหว่างตาทั้งสองเฉพาะช่วงนั้นเท่านั้น
การแสวงหาตะกรุดหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญนั้นนับว่าเป็นเรื่องยากมาก
เพราะท่านสร้างให้เฉพาะบุคคลที่นำหนังและเครื่องพิธีสร้างมาเท่านั้น
หลวงปู่เพิ่มท่านกล่าวว่าตบะและพลังอำนาจเหล่านั้น
หลวงปู่บุญท่านสามารถกำหนดได้รวดเร็วและฉับพลันมากท่านจึงลงได้ขลัง
เฉพาะเวลาท่านชำระอธิกรณ์ ระหว่างพระในฐานะท่านเป็นประธานสงฆ์มณฑลฯ นั้น
ท่านกำหนดตบะอำนาจได้ทุกขณะวารจิต พระเมื่อมองหน้าท่านไม่มีใครสบตาและไม่มีใครกล้าพูดความเท็จ
บางองค์ตัวสั่นงันงกด้วยความกลัว
หลวงปู่เพิ่มเล่าว่าท่านเคยถามหลวงปู่บุญหลวงปู่บุญบอกว่าให้
พิจารณาการใช้ตบะอำนาจวางจิตดิ่งสู่ณานแล้วกำหนดพลังออกมาตามที่ต้องการจะให้น่ากลัวเหมือนเสือหรือให้เขาเมตตาปรานีย่อมกระทำได้ด้วยกระแสแห่งจิตซึ่งดิ่งเข้าสู่สมาธิและฌานเป็นสำคัญ
การกำหนดจิตวาระเช่นนั้นหลวงปู่เพิ่มท่านกล่าวไว้ว่าหลวงปู่บุญท่านทำได้เร็วฉับไวจิต
ข้อมูลนี้ได้มาจากหนังสือพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว
|