พระกริ่งจีนกลางกะไหล่ทอง เป็นต้นแบบของพระกริ่งน้ำท่วม ปี 85 วัดสุทัศน์ เทหล่อบางเปียกนากหนาสนิมหยกมีให้เห็นประปรายดูจากองค์พระคงมีเจตนาจะขูดเอาเนื้อนากออกจึงมีร่องลอยขูดแทงตะไบออกแต่ก็ทำมานานมากแล้ว ใส่กริ่งปิดก้นโดยวิธีเข้าไม้ พระกริ่งจีน เป็นรูปเคารพของ
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของชาวพุทธนิกายมหายาน
พระนามของท่านหมายถึง พระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค
เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต ต่อมาได้มีการสร้างเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก
ซึ่งเมื่อเขย่าจะมีเสียงดัง ที่เรียกกันในสมัยต่อมาว่า พระกริ่ง
โดยสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในมณฑลซัวไซ สมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีน เมื่อราวศตวรรษที่
๑๔ ด้วยเหตุนี้เองจึงเชื่อกันว่า พระกริ่ง สามารถใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งป้องกันเหตุเพทภัยต่างๆ
ได้ โดยเฉพาะจำพวกคุณไสย จนมีการสร้างสืบทอดตลอดกันมาทุกยุคทุกสมัยของจีน
และยังได้เผยแพร่เข้ามาสู่เมืองไทย โดยมีการสร้าง พระกริ่ง
ของพระเกจิอาจารย์ท่านต่างๆ มาโดยตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ได้ถอดพิมพ์ไปจาก พระกริ่งใหญ่
หรือ พระกริ่งจีน ทั้งสิ้น เพราะเป็น พระกริ่ง ที่มีพุทธลักษณะสวยงาม สมส่วน
อิ่มเอิบบนใบหน้าที่เต็มไปด้วยแววตาแห่งความเมตตามหานิยมเป็นอย่างยิ่ง พระกริ่งจีนกะไหล่ทองเป็นยุคปลายสร้างราวสมัยอยุธยา ตรงกับราชวงศ์หมิงหรือต้าหมิงปัจจุบันหาชมได้ยาก สุดยอดแห่งงานศิลป์และงานเทหล่อ
|