รูปถ่ายพ่อท่านมหาลอย วัดแหลมจาก จ.สงขลา ขนาด 3.5*5.5 นิ้วพระมหาลอย
จนฺทสโร มีนามเดิมว่า ลอย รตินัย เกิดเมื่อ วันอังคาร เดือน ๑ (เดือนอ้าย) ปีวอก
พ.ศ. ๒๔๑๕ ณ บ้านแหลมจาก ตำบลปากรอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พระมหาลอย ได้ศึกษาพระธรรม
จนจบนักธรรมชั้นเอก และจำพรรษา ณ วัดบ่อหว้า
และจาริกหาความรู้จากสำนักต่างๆในจังหวัดสงขลาเป็นเวลา ๕ ปีเศษ ต่อมาประมาณ พ.ศ.
๒๔๔๒ ได้เดินทางเข้าเมืองหลวง กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปริยัติธรรมต่อ
ซึ่งเดินทางโดยเรือสำเภา ใช้เวลาเดินทางหลายวัน ครั้นถึงกรุงเทพฯ
ได้เข้าเป็นศิษย์สำนักเรียนบาลีวัดสุทัศน์เทพวราราม สมัยนั้นวัดสุทัศน์ฯ มี
สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน ป.ธ.๘) เป็นเจ้าอาวาส
และเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้ แต่อยู่ในวัยชรามากแล้ว
และพระลอยท่านได้เป็นศิษย์บาลีในหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย ผลพันธิน)
จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นพระมหาเปรียญ
ได้รับพระราชทานพัดเปรียญ และย่ามจารึก พระปรมาภิไธย จ.ป.ร.
จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติอย่างสูงแก่ตัวท่าน และเป็นปีที่ สมเด็จพระวันรัต (แดง
สีลวฑฺฒโน ป.ธ.๘) มรณภาพ (๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๔) สิริอายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๙
และได้เป็นศิษย์ใน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (แพ
ติสฺสเทโว) ด้วย ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพโมลี (๒๔๔๑) และ พระธรรมโกศาจารย์
(๒๔๔๓)
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้เดินทางกลับสงขลาบ้านเกิด โดยตอนแรกท่านมาจำพรรษา
ณ วัดแจ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ทำหน้าที่เป็นครูสอนปริยัติธรรม
และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมาชาวบ้านได้ร้องขอนิมนต์ท่านให้ไปอยู่ที่ปากรอบ้านเกิด ท่านก็รับนิมนต์
และได้ไปพัฒนาถากถางป่าต้นไม้จากบริเวณริมน้ำ แล้วจัดการสร้างเป็นเสนาสนะชั่วคราว
ด้วยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่มีความศรัทธาในตัวท่าน
ไม่ช้าป่าที่รกร้างแห่งนั้นก็กลายสภาพเป็นที่เจริญขึ้นมา
หลังจากที่เป็นวัดร้างอยู่หลายปี และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยท่านมหาลอยเป็นผู้ลงมือก่อสร้างด้วยตนเอง
พระมหาลอยเริ่มอาพาธ ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านช่วยกันพยาบาลรักษาสังขารท่านกันอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้อย่างเต็มความสามารถ
เป็นเวลา ๑ ปีเศษจวบจนถึงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ
ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของศิษยานุศิษย์ สิริอายุ ๖๗ ปี พรรษา ๔๖
ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้ระยะหนึ่ง ต่อมาได้ทำการฌาปนกิจศพในหน้าแล้ง พ.ศ. ๒๔๘๓ รูปถ่ายพ่อท่านมหาลอย ที่ทันท่านหายากมาก
|