รูปถ่ายซีเปียครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน ปี 2480 ขนาด 6*8
ไม่รวมการด์ การด์รองเดิม ถ่ายที่หน้าวิหารวัดบ้านปางหลังเดิมก่อนที่จะรื้อสร้างใหม่เป็นรูปที่จัดองค์ประกอบสวยงามมีระบายสีที่จีวร
ย่าม และลงสีที่ดอกไม้อย่างสวยงาม เป็นรูปที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้งทั้งหนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ web ของครูบาฯ ขอย้อนหลังเหตุการณ์ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะกลับมาวัดบ้านปาง
จากบันทึกของหลวงศรีประกาศที่ได้บันทึกไว้ว่า
ระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยพำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ นั้น คุณหลวงได้ไปกราบนมัสการหลายครั้งครูบาปรารภกับคุณหลวงว่า
ที่ถูกมากักเช่นนี้ อาจเป็นเพราะผิดประเพณีก็ได้ การทำถนนไม่ใช่กิจของพระ
ส่วนการสร้างเจดีย์วิหารอันเกี่ยวกับวัดมามากมาย ก็ไม่เคยมีเรื่อง ถ้าได้กลับไป
จะไม่เข้าไปในเขตเชียงใหม่อีกต่อไป จนกว่าน้ำในแม่น้ำปิงจะไหลกลับขึ้นเหนือ
ประโยคนี้กลายเป็นสัจวาจาที่ท่านยึดถือมาจนตลอดอายุขัยในอันที่จะไม่ทำการก่อสร้างสิ่งใดหรือเดินทางเข้าเขตเชียงใหม่อีก
บางคนอธิบายว่าเป็นเพราะความน้อยใจที่ทั้งนักการเมืองและผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายเชียงใหม่ไม่มีใครช่วยเหลือท่านได้เลยในคราวที่ต้องคดีอยู่เป็นครึ่งค่อนปี
แต่ขณะเดียวกันหลักฐานในหอจดหมายเหตุแห่งชาติปรากฎชัดเจนว่าทางเจ้าคณะมณฑลพายัพได้ขอให้พระศรีวิชัยพำนักอยู่แต่ที่วัดบ้านปาง
อ.ลี้ จ.ลำพูน เท่านั้นหรือหากจะเดินทางไปจังหวัดอื่น
ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าคณะจังหวัดนั้นๆ เป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน
พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลพายัพ ภายหลังคือ สมเด็จพระสังฆราช(ปลด กิตติโสภโณมหาเถระ)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในหนังสืออนุสรณ์งานเมรุของเจ้าประคุณสมเด็จผู้ใกล้ชิดบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า สมเด็จพระสังฆราชเคยรับสั่งว่าครูบาศรีวิชัยเป็นภิกษุที่ดีมาก
และได้รักษาสัญญาเป็นอันดีตลอดชนม์ชีพของท่าน
เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับมาพำนักที่ลำพูนแล้ว
ท่านจึงหวนคืนสู่กิจกรรมการบูรณะปฎิสังขรณ์พุทธสถานเช่นที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อกลับจากกรุงเทพฯ
ครั้งแรกช่วงปี 2463 ตลอดชีวิตครูบาศรีวิชัยบูรณะปฎิสังขรณ์ปูชนียสถานต่างๆทั่วทั้งเขตภาคเหนือ
ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ และแม่ฮองสอน รวมร้อยกว่าแห่ง
โดยไม่ได้ช่วยเหลือเงินทองใดๆ หากแต่ใช้วิธีที่เรียกว่านั่งหนัก
นั่นคือถึงเวลากำหนดนัดหมายท่านจะเดินทางพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ซึ่งหลายคนเป็นช่างด้วย
แล้วไปนั่งเป็นประธานให้แก่การบูรณะปฎิสังขรณ์ที่นั้นๆ ต๋นบุญ (ตนบุญ/นักบุญ)และการได้สักการระต๋นบุญกับ ต๋นบุญก็จะยิ่งเพิ่มพูนบารมียิ่งๆขึ้นไป นี่คือนักบุญแห่งล้านนาไทย
|