รูปถ่ายซีเปียครูบาเจ้าศรีวิชัย ถ่าย ณ ศาลาบาตร วัดศรีดอนไชย ปี 2463 จ.เชียงใหม่รูปอันดับหนึ่งของล้านนา คราวต้องอธิกรณ์ครั้งที่ 5 ขณะอายุได้
42ปี เป็นรูปประวัติศาสตร์และสร้างชื่อให้กับครูบาฯเป็นอันมาก การ์ดเดิมมีลายเซ็นต์คนถ่ายให้กับครูบาเจ้าฯคือ M.tanaka นายเอ็ม. ทานาคา(โมริโนสุเกะ ทานาคา)หรือชาวเชียงใหม่เรียกว่า นายห้างทานาคา บุคคลที่บุคเบิกวิชาการถ่ายรูปและการตั้งโรงภาพยนต์ขึ้นในเชียงใหม่ในสมัยนั้นเป็นมือถ่ายรูปอันดับหนึ่งของล้านนา และเป็นองค์ดาราลงในหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 21 พ.ย. 51และหนังสือ spirit ฉบับที่ 55 เดือน มิ.ย.53 และหนังสือพระยอดนิยมแดนล้านนา ต้นแบบล็อกเก็ตหน้าหนุ่ม ประวัติของรูปนี้ ถ่ายที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)
จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อครั้งที่ต้องอธิกรณ์ครูบาศรีวิชัยถูกคุมตัวไว้ในศาลาบาตร
เป็นห้องเก็บของที่เก่ารกร้าง เต็มไปด้วยหยากไย่ หลังคาก็รั่ว
เสื่ออาสนะต่างๆก็ไม่มี พื้นเป็นพื้นดินดิบ ทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวอย่างแน่นหนา
กระทั่งหลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)
เป็นพ่อค้าใหญ่ในเมืองเชียงใหม่มีความเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติอันงดงามของครูบาศรีวิชัย
จึงขออนุญาตต่อทางการเป็นอุปัฏฐากครูบาศรีวิชัย และได้ชักชวนเพื่อนคือ พญาคำ
มาเป็นผู้อุปัฏฐากครูบาศรีวิชัยด้วย ทั้งสองได้ช่วยกันปรับปรุงห้องเก็บบาตรที่ควบคุมตัวครูบาศรีวิชัยให้สะอาดสะอ้านขึ้น
มีการนำม่านมาปิดบังแสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้อง นำเครื่องไทยธรรมมาถวาย
ภายหลังมีประชาชนพากันมาทำบุญกับครูบาศรีวิชัยกันอย่างเนื่องแน่นทุกวันครูบาศรีวิชัยได้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดป่ากล้วย
(วัดศรีดอนไชย) เป็นเวลาถึง 3 เดือน 8 วัน การไต่สวนยังสรุปผลไม่ได้
ด้วยทุกข้อกล่าวหาล้วนแล้วแต่ครูบาศรีวิชัยแก้ข้อกล่าวหานั้นได้ทุกข้อกล่าวหา
สุดท้ายคณะกรรมการต้องเรียกประชุมเจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วย สมุหเทศามณฑลพายัพ
พลโทหม่อมเจ้าบวรเดช อุปราชมณฑลพายัพ และพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่ประชุมได้ตกลงให้ส่งครูบาศรีวิชัยไปกรุงเทพมหานคร เพราะเกรงจะเกิดจราจลขึ้นเพราะผู้คนที่ศรัทธาในตัวครูบาศรีวิชัยมีจำนวนมาก เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชทรงไต่สวนและพิจารณาลงโทษต่อไปตรงกับสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นครั้งแรกที่ครูบาเจ้าฯได้เข้ากรุงเทพฯ ผลการไต่สวน ตามที่ถูกกล่าวหา ครูบาเจ้าฯก็พ้นผิดทุกข้อกล่าวหา เมื่อฟังคำวินิจฉัยจากสมเด็จพระสังฆราชแล้วว่าไม่มีโทษ ครูบาศรีวิชัยไม่แสดงอาการดีใจเสียใจแต่อย่างใด จึงได้นำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง และเครื่องสักการะอย่างอื่นเข้าถวายสมเด็จพระสังฆราช กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อทูลลากลับ สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงพระเมตตา พระราชทานกัปปิยภัณฑ์(ของใช้ที่จำเป็นของสงฆ์ และเงินส่วนพระองค์เป็นจำนวน 60 บาท เพื่อใช้จ่ายในการเดินทางกลับล้านนา) ย้อนหลังไป 90 กว่าปีก่อนเงินที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ทรงประทานให้นั้นเป็นเงินที่มากโขอยู่แสดงให้เห็นพระองค์ทรงพระเมตตาต่อ ครูบาศรีวิชัยเป็นอันมาก ยิ่งทำให้่ครูบาศรีวิชัยยิ่งมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นไปอีกศรัทธาประชาชนยิ่งเลื่อมใสมากขึ้น แนวปฎิบัติของครูบาศรีวิชัย ท่านครูบาปฏิบัติ
ตามแนวของพระสงฆ์นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน(เผ่าไทขึน/เขิน)ผสมกับนิกายยอง (จากเมืองยอง)ซึ่งบางอย่างต่างจากนิกายอื่นๆ
เช่น การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก(ว่อม) แขวนลูกประคำ
ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแต
โดยอ้างว่าสืบวิธีการนี้มาจากลังกา
ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคําอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า
"...ตั้งปรารถนาขอหื้อได่ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..."
และมักจะปรากฏความปรารถนาดั่งกล่าวในตอนท้ายของคัมภีรใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง
ประการหนึ่งที่ทําให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจําของชาวล้านนาผลงานชิ้นอมตะ
คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสเทพโดยพลัง ศรัทธาประชาชนเป็นจํานวนมาก
ทั้งกําลังกายและกําลังทรัพย์ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง 5
เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ รูปนี้เป็นรูปที่หายากนับรูปได้เลย
|