พระกรุวัดตะไกร หน้ามงคล เนื้อชินเงิน จ.อยุธยา ในกรุนี้เนื้อชินขึ้นมาน้อยและมีเพียงพิมพ์หน้ามงคล
พิมพ์เดียว จากข้อมูลพระกรุวัดตะไกร
เป็นวัดร้างเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลสระบัว
อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2465
ได้มีการขุดพบพระเครื่องจากวัดร้างแห่งนี้จำนวนหนึ่ง
พระส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา มีที่เป็นพระเนื้อชินอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากนัก
พระเครื่องที่พบมีหลายพิมพ์ เช่นพระที่เรียกกันว่าพระวัดตะไกร
ซึ่งมีขนาดย่อมเป็นหลัก สามารถแยกได้เป็นพระวัดตะไกรพิมพ์หน้าครุฑ พิมพ์หน้าฤๅษี
ส่วนพิมพ์สุดท้าย พิมพ์หน้ามงคล
นอกจากนี้ยังพบที่เป็นพระพิมพ์แบบหลวงพ่อโตแต่ก็พบไม่มาก
พระวัดตะไกรที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันเท่าใดนักก็คือพระพิมพ์หน้าฤๅษี
อาจจะมีจำนวนที่ขึ้นจากกรุน้อย พระที่พบมีแต่เนื้อดินเผา
ส่วนพระวัดตะไกรพิมพ์ที่พบมากกว่าพิมพ์อื่นๆ ก็คือพระวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล
ก็คือจะพบพระที่ทำด้วยเนื้อชินและมีเพียงพิมพ์เดียวที่เป็นเนื้อชิน
นอกจากนี้ยังพบพระที่มีการลงรักปิดทองมาจากในกรุก็จะเป็นพระพิมพ์นอกจากนี้ยังพบพระที่มีการลงรักปิดทองมาจากในกรุก็จะเป็นพระพิมพ์หน้ามงคลเป็นส่วนมาก
วัดตะไกรแห่งนี้ ยังเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
โปรดที่จะเสด็จมาทรงเครื่องใหญ่ หรือปลงพระเกศา หรือตัดผม เพราะเชื่อกันว่า
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเคยอาบน้ำว่าน 108 ตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี
ทำให้พระองค์อยู่ยงคงกระพัน จึงต้องใช้กรรไกรลงอาคมจากวัดนี้ตัดพระเกศานั่นเอง
|