ดาบญี่ปุ่นอย่างไทย ถักเชือกลายตะกรุดลงยางรักใสเก่าเดิม
ในฝักกริซโบราณก็จะมีการลงยางรักใสแบบนี้เคลือบฝักไว้เช่นกัน ดาบเล่มนี้เป็นดาบนคร
หรือ ทางใต้เรียกว่าดาบเฉง เป็นศิลปะนครฯ ขนาดเป็นดาบวากิซาชิ กระบังแบบดาบตาชิ
แต่เดิมคงเป็นดาบ Han tachi มาก่อนเป็นดาบที่ตกค้างจะพบมากทางภาคใต้ของเราโดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทำให้นึกถึงท่านยามาดะ ออกญาเสนาภิมุข เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ที่ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้เอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงท่าน
เรามาพูดถึงดาบที่ตกค้างเป็นที่มาของดาบญี่ปุ่นอย่างไทย คือการไม่เข้าใจขนบของญี่ปุ่นในการซ่อมแซมดาบก็บูรณะแบบความเข้าใจของวิถีของคนไทย
เหลี่ยมคมก็ไม่จัดตามขนบของญี่ปุ่นลับมีดกับหินลับมีดธรรมดา
อายุดาบประเภทนี้ขั้นต่ำก็ยุคเอโดะ หลายร้อยปีตรงกับอยุธยา
ส่วนใหญ่พบเป็นดาบไซส์กลางประเภทวากิซาชิดาบยาวคาทานะพบน้อยมาก นี่คือการกล่าวถึงดาบที่ตกค้างภายในประเทศที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายร้อยปี
พอถัดมาก็จะเป็นดาบไทยเอาอย่างญี่ปุ่น พบเจอน้อยมากทั้ง 2 แบบ
|