พระพุทธรูปบูชาศิลปะพุกามยุคปลาย( PAGAN ART ) ขนาดหน้าตัก2.5 นิ้ว สูง 5.5 นิ้ว อยู่ในช่วง
ค.ศ.1044-1347 เป็นศิลปะที่พัฒนามาจาก ยุคพยู(Pyu) Pagan เป็นยุคที่ 2
ต่อจากยุคพยู บางคนก็เรียกพระพม่าที่จริงแล้วเป็นของมอญเพราะราชอาณาจักรมอญเกิดขึ้นก่อนคำว่าพม่า
คำว่าพม่านั้นเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ พระเจ้าหงสาลิ้นดำ แห่งราชวงศ์ตองอู
ท่านได้ปราบปรามอาณาจักรมอญจนสิ้นชาติแล้วสถาปนาคำว่าพม่าขึ้นมานับตั้งแต่บัดนั้นซึ่งก็ถ่ายทอดความเกลียดชังให้กับชนชาวมอญกับพม่าจนถึงทุกวันนี้
ศิลปะพุกาม เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ
ของอินเดียโดยตรงเนื่องด้วยมีพื้นที่ติดกับอาณาจักรปาละเสนะของอินเดีย
ทำให้เดินทางติดต่อกันทางบกได้สะดวก ศิลปะพุกาม จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของศิลปะปาละ
แต่กลับสร้างขึ้นภายใต้พุทธศาสนาเถรวาท แตกต่างไปจากศิลปะปาละ ที่สร้างขึ้นภายใต้พุทธศาสนามหายานตันตระและศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย
ศิลปะพุกาม เป็นพระพุทธรูปที่ผสมผสานรูปแบบท้องถิ่นที่โดดเด่นมากขึ้นด้วย
Style pala (ปาละ)จากอินเดียผ่านมาที่อาณาจักรมอญและอารากัน อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปศิลปะพุกามก็มีพัฒนาการที่แตกต่างจากศิลปะปาละเล็กน้อย
คือชายจีวรที่อังสา(บ่า,ไหล่) ซ้ายนั้น
มักยาวเลยเลยพระถัน(นม) ลงมาเล็กน้อย แตกต่างจากศิลปะปาละที่อยู่เหนือพระถัน รูปแบบนี้รวมองค์ประกอบสำคัญมากมายไว้ในภาพของชาวพุทธ
เช่น เกศเป็นรูปดอกบัว ใบหน้ารูปไข่เป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กน้อย คางแหลม
ดวงตาเบิกกว้าง ริมฝีปากล่างหนากว่าบนเล็กน้อย มีอุณาโลมเป็นรูปวงกลมที่หน้าผาก
เป็น ลักษณะของ ยุคต้นของพุกาม ส่วนยุคปลายของพุกาม ใบหน้าเริ่มกลมมากขึ้น และองค์พระก็มีกล้ามเนื้อมากขึ้นเช่นกัน
มีทั้งมี อุณาโลม และ ไม่มี ประทับนั่งปางมารวิชัย สมาธิเพชร
เช่นองค์นี้ผมว่าเป็นพุกามยุคปลาย ก่อนเปลี่ยนผ่าน เป็นยุค ตองอู(TOUNGOO
PERIOD)
|